เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
DATA FOR THE PEOPLE รู้อะไรไม่สู้ รู้ดาต้าBANLUEBOOKS
ปฐมบท : เมื่อทุกสิ่งล้วนถูกบันทึก





  • ในขณะที่ตัวข้อมูลเองได้กลายเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
    ธนาคารข้อมูลก็รู้เรื่องเกี่ยวกับบุคคลคนหนึ่งมากกว่าที่คนคนนั้น
    จะรู้เกี่ยวกับตัวเองเสียอีก ยิ่งธนาคารข้อมูลบันทึกรายละเอียดของเราไว้
    มากขึ้นเท่าไหร่ ตัวตนของเราก็ยิ่งดำรงอยู่น้อยลงเท่านั้น 1
    -มาร์แชล แม็กลูฮาน-



                 ปี1949 พ่อของผมซึ่งตอนนั้นเป็นหนุ่มวัยยี่สิบสามปีได้งานเป็นครูในแถบตะวันออกของประเทศเยอรมนี พอไปถึงเมือง ท่านจำเป็นต้องหาคนมาหารค่าห้อง พ่อได้เจอชายคนหนึ่งที่สถานีรถไฟ เขาคนนี้กำลังหาที่พักอยู่พอดี วันนั้นพ่อคิดว่าตัวเองโชคดี แต่พอย้ายเข้าไปอยู่ด้วยกันได้สองสามวัน รูมเมตคนนั้นก็หายตัวไป พ่อผมงุนงงมาก ยิ่งนานวันพ่อก็ยิ่งเป็นกังวล 

              ไม่นานหลังจากนั้น วันหนึ่งขณะพ่อกำลังทำอาหารเช้า เสียงเคาะประตูก็ดังขึ้น บางทีรูมเมตคนนั้นอาจจะกลับมาแล้วก็ได้! แต่พอเปิดประตู พ่อก็ได้พบกับชายที่ดูไม่คุ้นหน้าหลายคน พวกเขาบอกว่าพ่อได้รับรางวัลเกี่ยวกับการสอน เป็นรางวัลที่ค่อนข้างพิเศษซึ่งต้องมอบให้กับมือเท่านั้น และพวกเขาก็จะพาพ่อไปที่หอประชุมเพื่อทำการมอบรางวัลดังกล่าว พ่อรู้สึกแคลงใจเพราะชายกลุ่มนั้นมีน้ำเสียงที่แข็ง แถมยังสวมเสื้อโค้ตยาวแบบเดียวกันหมดอีกด้วยแต่พ่อก็ไม่มีทางเลือก พวกเขารุนท่านไปที่รถทันที พ่อยิ่งตกใจอย่างถึงที่สุดเมื่อพบว่ารถคันนั้นไม่สามารถเปิดประตูจากภายในได้พ่อถูกจับกุมโดยกองกำลังโซเวียต






  •             พ่อของผมถูกตั้งข้อหาเป็นสายลับจากอเมริกาโดยดูจากเหตุปัจจัยที่ว่าท่านพูดภาษาอังกฤษได้ ไม่มีญาติหรือเพื่อนคนไหนรู้ว่าพ่ออยู่ที่ไหน พ่อหายไปจากโลกเฉยๆ เลย พ่อถูกจับใส่ห้องขังเดี่ยวในเรือนจำที่บริหารโดยทางการโซเวียต ถูกทิ้งไว้ให้อิดโรยอยู่หกปี โดยไม่เคยรู้เลยว่าอะไรที่ทำให้พ่อถูกจับ และอะไรที่ทำให้ท่านได้รับการปล่อยตัว 

                ความเสี่ยงในระดับที่เป็นอันตรายต่อชีวิตซึ่งตามมาจากการแชร์ข้อมูลส่วนตัวนั้นมีอยู่จริง เพราะผู้อื่นสามารถนำข้อมูลมาใช้เล่นงานเราได้ การประเมินความเสี่ยงข้อนี้ถือเป็นเรื่องซีเรียสและน่ากลัวสำหรับผม ด้วยความที่ผมเคยเห็นมาก่อนว่าข้อมูลถูกเก็บรวบรวมและถูกนำมาใช้เล่นงานพ่อได้อย่างไร
     
             หนึ่งทศวรรษหลังการล่มสลายของเยอรมนีตะวันออก ผมได้ยื่นคำขอไปยังกระทรวงความมั่นคงแห่งรัฐ (หรือที่เรียกกันว่า สตาซี) เพื่อขอดูว่าพวกเขาเก็บข้อมูลอะไรเกี่ยวกับพ่อผมไปบ้าง ทั้งในระหว่างการคุมขังและหลังจากนั้น ผมไม่ใช่คนเดียวที่อยากรู้ว่าสตาซีรู้อะไรเกี่ยวกับครอบครัวของพวกเขา หลังการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน มีคนเกือบ 3 ล้านคนยื่นเรื่องขอดูไฟล์ของพวกเขา หรือของญาติพวกเขาโชคร้ายที่ผมได้รับแจ้งทางจดหมายจากคณะกรรมการว่าข้อมูลเกี่ยวกับพ่อของผมดูเหมือนถูกทำลายไปหมดแล้ว

              อย่างไรก็ดี ในซองจดหมายเดียวกันมีรูปถ่ายของแฟ้มเอกสารสตาซีอีกแฟ้มหนึ่ง ซึ่งเป็นแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับตัวผม ผมรู้สึกอึ้งไปเลย สตาซีมีแฟ้มเกี่ยวกับผมด้วยหรือ ตอนนั้นผมยังเป็นแค่เด็กที่เรียนฟิสิกส์อยู่เลย แต่ถึงอย่างนั้น เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงก็ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตัวผมไว้ตั้งแต่ปี 1979 (ตอนที่ผมยังเป็นวัยรุ่น) และอัปเดตครั้งสุดท้ายเมื่อปี 1987คือหนึ่งปีหลังจากผมย้ายไปอยู่สหรัฐอเมริกา แต่บันทึกเกี่ยวกับตัวผมไม่มีอะไรเหลืออยู่เลย เหลือแต่หน้าปก ผมไม่รู้เลยว่าสตาซีเคยเก็บข้อมูลอะไรไปบ้าง เก็บไปทำไม หรือถ้ามีการนำไปใช้ พวกเขานำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ทำอะไร 


  •           ย้อนกลับไปยุคที่สตาซียังคงรุ่งเรือง สมัยนั้นมันยากที่จะเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ “พลเมืองที่ถูกจับตา” เพราะข้อแรก การเก็บข้อมูลต้องทำโดยการสะกดรอยตามคนคนนั้น แอบถ่ายรูป แอบอ่านจดหมาย สอบถามเพื่อนฝูงของคนคนนั้น และแอบติดเครื่องดักฟังไว้ในบ้าน เสร็จแล้วข้อมูลก็จะถูกนำไปวิเคราะห์ด้วยมือทั้งหมด ปริมาณงานนั้นเยอะมากจนถึงขั้นที่ว่าในช่วงการล่มสลายของเยอรมนีตะวันออกนั้น คนที่ทำงานเต็มเวลาให้กับหน่วยงานตำรวจลับมีมากถึง1เปอร์เซ็นต์ของจำนวนคนทำงานทั้งหมดใประเทศเลยทีเดียว แต่สตาซียังต้องการทรัพยากรในการเก็บข้อมูลมากกว่านั้นอีกจากการเปิดเผยของคณะรัฐมนตรีเยอรมัน ท้ายที่สุดแล้วเยอรมนีตะวันออกมีพลเมืองถึง 200,000 คนที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลให้แก่รัฐบาล 4

              การเก็บข้อมูลในทุกวันนี้ง่ายกว่านั้นมาก ลองนึกถึงคดีใหญ่ๆ สักสองสามคดีสิ หลังการประท้วงและการต่อสู้คดีในชั้นศาลกันมานานหลายเดือน นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิส่วนบุคคลก็ได้รับชัยชนะเล็กๆ แต่จำกัดจำเขี่ยเหนือมาตรการดักฟังโทรศัพท์ของหน่วยงานความมั่นคงแห่งชาติหรือเอ็นเอสเอ (National Security Agency หรือ NSA)แต่ถึงอย่างนั้นผู้คนก็ยังเลิกใช้โทรศัพท์มือถือกันอยู่ดีทั้งในระหว่างการต่อสู้คดีและหลังจากนั้นเมื่อเป็นที่ชัดเจนว่าเอ็นเอสเอหรือหน่วยงานใดๆ ก็ตามยังสามารถวิเคราะห์เมต้าดาต้าจากการโทรเข้า-โทรออกของพวกเขาได้อยู่ ที่จริงแล้วเคยมีเซลส์แมนหญิงคนหนึ่งในรัฐแคลิฟอร์เนียอ้างว่าเธอถูกไล่ออกโทษฐานถอนการติดตั้งแอปที่ทำการติดตามและแชร์พิกัดของเธอ ไม่ว่าจะในหรือนอกเวลางานพอมีข่าวออกมาว่าเฟซบุ๊ก (Facebook) กำลังศึกษาเรื่องการส่งต่ออารมณ์จากบุคคลสู่บุคคลก็ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์ว่าบริษัทกำลัง“บงการ”ความรู้สึกของผู้ใช้อยู่หรือเปล่า7  อย่างไรก็ดี จำนวนผู้ใช้งานจริงของเฟซบุ๊กก็ยังแทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงและเฟซบุ๊กก็ยังคงปล่อยให้การทดลองนั้นดำเนินไปอย่างต่อเนื่องโดยปราศจาก 


    ภาพจำลองปกแฟ้มเอกสารเกี่ยวกับตัวผมที่รวบรวมโดยสตาซี







  •            ความยินยอมของผู้ใช้โดยอ้างเหตุผลแค่ว่าการทดลองนี้เป็นองค์ประกอบสำคัญในการออกแบบแพลตฟอร์มออนไลน์ และเมื่อปี 2015 แอนต์ไฟแนนเชียล (Ant Financial) บริษัทในเครืออาลีบาบา (Alibaba) ยักษ์ใหญ่แห่งอีคอมเมิร์ซ ได้เปิดบริการนำร่องในประเทศจีนที่เรียกว่าเซซามีเครดิต (Sesame Credit) ซึ่งเซซามีเครดิตนี้จะทำการวิเคราะห์การโอนเงินของบุคคลเพื่อประเมินออกมาเป็นยอดเครดิตอันเหมาะสมของบุคคลนั้นๆ...คล้ายๆ กับการที่มีใครนำประวัติการซื้อสินค้าผ่านเว็บแอมะซอน (Amazon) ของคุณมาตรวจสอบเพื่อกำหนดว่าคุณควรจะได้เครดิตหรือเปล่าผลคะแนนถูกนำไปใช้ในสาขาอื่นๆ อย่างรวดเร็ว อย่างเช่นในเว็บหาคู่เดตของประเทศจีนที่มีให้เลือกว่าเราจะใส่ผลคะแนนนี้หรือไม่9    ซึ่งโดยมากนิยมใส่กัน ไม่มีกระแสชักชวนให้ผู้คนเลิกใช้โทรศัพท์มือถือ อีเมล แอปนำทาง บัญชีโซเชียลมีเดีย ช่องทางขายของออนไลน์ และบริการทางดิจิทัลอื่นๆ เพราะชีวิตมันสะดวกสบายขึ้นด้วยเทคโนโลยีเหล่านี้ 

       ความช็อกจากการได้เห็นแฟ้มเอกสารสตาซีเกี่ยวกับตัวผมเองอาจเปลี่ยนผมให้กลายเป็นพวกคลั่งความเป็นส่วนตัวได้ แต่ความจริงแล้วตรงกันข้าม เพราะเอกสารสตาซีฉบับนั้นเทียบอะไรไม่ได้เลยกับสิ่งที่ผมจงใจแชร์เกี่ยวกับตัวเองในทุกวันนี้ 

          ตั้งแต่ปี 2006 เป็นต้นมา ผมได้นำเนื้อหาการบรรยายทั้งหมดของผมไปโพสต์ลงเว็บไซต์ รวมถึงเนื้อหาสุนทรพจน์ที่ผมจะกล่าวไฟลต์เครื่องบินที่ผมจะนั่งตลอดจนหมายเลขที่นั่งของผมในไฟลต์นั้นๆ10 ผมทำอย่างนี้เพราะผมเชื่อว่าคุณค่าจริงๆ ที่เราได้รับจากการแชร์ข้อมูลนั้นมีมากกว่าความเสี่ยงที่จะตามมา ข้อมูลสร้างโอกาสแห่งการค้นพบและการเพิ่มประสิทธิภาพสิ่งสำคัญคือการที่เราต้องหามาตรการรับประกันให้ได้ว่าผลประโยชน์ของผู้นำข้อมูลไปใช้นั้นจะเป็นไปในทางเดียวกันกับผลประโยชน์ของเราผู้เป็นเจ้าของข้อมูล

             แล้วเราจะบรรลุสิ่งนั้นได้อย่างไร ก็ด้วยการทำความเข้าใจว่ามีข้อมูลอะไรบ้างที่กำลังถูกแชร์ (และมีแนวโน้มจะถูกแชร์ในอนาคตอันใกล้)รวมถึงการทำความเข้าใจว่าบริษัทข้อมูลนำข้อมูลของเราไปวิเคราะห์และใช้ประโยชน์อย่างไร 

            ด้วยความเคารพอย่างสูงต่อมาร์แชล แม็กลูฮาน ยิ่งบริษัทข้อมูลมีข้อมูลเกี่ยวกับเรามากขึ้นเท่าไหร่ เราก็ยิ่งดำรงอยู่มากขึ้น ยิ่งมีความสามารถที่จะรู้เกี่ยวกับตัวเองมากขึ้นต่างหาก ประเด็นสำคัญจริงๆ อยู่ที่ว่าเราจะทำให้แน่ใจได้อย่างไรว่าบริษัทข้อมูลต่างๆจะโปร่งใสในสายตาของเราเหมือนที่พวกเราโปร่งใสในสายตาของพวกเขาและเราจะต้องมีสิทธิ์มีเสียงในการกำหนดว่าข้อมูลของเราจะถูกนำไปใช้อย่างไร หนังสือ Data for the People ได้อธิบายไว้แล้วว่าเราจะบรรลุเป้าหมายสองข้อนี้ได้อย่างไร



เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in