เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Miscellaneapiyarak_s
จดมาจากคลับเฮาส์: “ถาม-หา-เรื่อง 5:’ภาพในภาพ’ จากดราม่าสู่ประวัติศาสตร์ศิลป์”
  • คุณมะเขือ มีประโยคหนึ่งจากดราม่าภาพตัวละครหนึ่งหันหลังให้คนดูและมองภาพวาดที่แขวนผนังซึ่งเป็นภาพของตัวละครอีกตัวหนึ่งคือ คอมโพสแบบนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่สิ่งหนึ่งที่สะกิดใจคือ ลักษณะการวาดภาพที่มีภาพวาดภาพอื่นในภาพจริงที่เรากำลังมองหรือเป็นซีนที่มีภาพอื่นอยู่ในเฟรมด้วย เลยมาถามเม่ยที่เรียนด้านประวัติศาสตร์ศิลปะฝั่งยุโรปว่า มันเป็น ‘ของใหม่’ หรือ modern หรือไม่ แล้วทำไมจิตรกรถึงลุกขึ้นมาวาดภาพซ้อนภาพ ก่อนหน้านี้เคยมีอยู่หรือเปล่า ซึ่งการซ้อนในซ้อนมีอยู่ในศาสตร์อื่น ๆ ด้วย เช่น วรรณกรรมที่ตัวละครกำลังอ่านหนังสืออีกเรื่องหนึ่งและเราก็ได้อ่านสาระบางอย่างที่ตัวละครอ่านอยู่ด้วย


    มะเม่ย มันจะมีศิลปะที่เรียกว่า ‘ศิลปะนอก canon’ เช่น ดัตช์ อังกฤษ ที่เม่ยศึกษาคืองานของดัตช์ ชาวดัตช์สมัยนั้นเป็นคนในประเทศ law country งานที่อยู่ในโซนคาธอลิกก็จะเป็นงานเพื่อศาสนา อย่างงานอิตาลียุคเรอเรสซองส์ก็จะมี 3 แบบหลัก คือ ไบเบิล ภาพประวัติศาสตร์ และภาพเหมือน ซึ่งวาดให้แก่ผู้อุปถัมภ์ของศิลปิน ดัตช์เป็นประเทศเกิดใหม่ที่มีการตั้งขึ้นใน ศ. 16 และเมื่อดัตช์เป็นโปรเตสแตนต์ก็จะปฏิเสธงานในแนวทางของคาธอลิก และใน ศ. 17 ก็จะถือเป็นยุคทองของศิลปะ มีการจ้างวาด still life วาดภาพเหมือน มีงาน art dealer เกิดขึ้น เมื่อไม่มีอิทธิพลศาสนาก็จะเกิดงานที่หลากหลายมากขึ้น มีการสร้างงานในรูปแบบของตัวเองขึ้นมา เช่น ภาพกิจกรรมในชีวิตประจำวัน อย่าง Milkmaid ของ Vermeer และในงานวาดภาพ interior ก็จะมีการวาดภาพภายในบ้าน ซึ่งก็จะเห็นว่ามีภาพวาดติดผนังที่ซ้อนอยู่ในภาพ





    พ่อของ Gerard ter Borch เขียนจดหมายคุยกับลูกชายที่เป็นศิลปินด้วยว่า ให้ไปวาดงานพวก still life และ everyday painting เพราะมันทำเงินได้ และการทำประติมากรรมมันเป็นสิ่งสิ้นเปลือง การวาดภาพเหมือน การวาดภาพประกอบชีวิตประวันเป็น modern composition สามารถวาดใหม่ได้และนำเอาของที่บ่งบอกฐานะ หรือของ exotic ต่าง ๆ ใส่เพิ่มเข้าไปได้


      

    ภาพ Woman Holding a Balance ของ Vermeer ภาพที่อยู่ด้านหลังของผู้หญิงในรูปคือ ภาพ the Last Judgment ภาพตาชั่งที่สมดุลและว่างเปล่า เป็นการเตือนสติให้สร้างความสมดุลระหว่างโลกวัตถุและโลกทางจิตวิญญาณ และปกติแล้ว สีน้ำเงินจะเป็นสีที่สงวนไว้สำหรับคนสำคัญ ก็มีการตีความว่าอาจจะหมายถึง Virgin Mary แต่ภาพวันพิพากษาที่อยู่ด้านหลังมันเสริมความหมายให้ตีความไปในทิศทางของศาสนาได้



    คุณมะเขือ สำหรับในด้านวรรณกรรม งานแบบที่มีเรื่องซ้อนเรื่องมีมานานแล้ว เช่น เรื่องที่มีตัวละครเล่านิทานอีกเรื่องหนึ่งให้ตัวละครอีกเรื่องหนึ่งฟัง โดยสามารถเปลี่ยนองค์ประกอบในเรื่องมาเป็นสิ่งที่เราต้องการโฟกัสได้ เช่น นิทานเรื่องกระต่ายกับเต่า มุมหนึ่งอาจสอนว่าอย่าชะล่าใจ แต่ในอีกด้านก็บอกว่า ถึงจะช้าก็อย่าละความพยายาม โดยขึ้นอยู่กับว่าจะเอาไปเล่าให้ใครฟัง และมันทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น

    ลองคิดถึงเรื่องพวกชาดก ถ้าเคยอ่าน บางเรื่องไม่ใช่นิทานสอนใจด้วยซ้ำ แต่พอจับใส่ปากพระพุทธเจ้า ก็กลายเป็นคำสอนด้วยซ้ำไป ซึ่งในงานศิลปะมีอะไรทำนองนี้ไหม


    มะเม่ย จริง ๆ มันแล้วแต่การตีความได้ เพราะศิลปะดัตช์มันไม่เหมือนกับศิลปะ canon เพราะไม่ใช่งานแนวคาธอลิก การตีความสัญลักษณ์ทางศาสนาบางอย่างมันจึงไม่สามารถทำได้ทั้งหมด

    อย่างรูป The Love Letter หรือ Woman Writing a Letter, with her Maid ของ Vermeer ถ้าดูเผิน ๆ จะไม่รู้ว่าจดหมายนั้นเป็นจดหมายอะไร แต่ที่มีการตีความว่าเป็นจดหมายรัก เพราะในรูปจะมีภาพที่ซ้อนอยู่ 2 รูปคือ ผู้ชายที่เดินอยู่บนถนนกับรูปเรือที่ลอยอยู่ในทะเล ถ้าไม่ตีความแบบความรักชายหญิง ทะเลก็อาจจะตีความว่าสถานการณ์ปกติหรือไม่ปกติ ในภาพมีรูปเครื่องดนตรี Lute เป็นสัญลักษณ์ของความรัก การถอดรองเท้าคือกำลังจะเตรียมไปขึ้นเตียงแล้ว แต่สีหน้าของผู้หญิงสองคนบวกกันรูปทะเลกับเรือด้านหลังว่า จดหมายนั้นก็น่าจะเป็นจดหมายรักและคนรักนั้นอาจจะอยู่ไกล ภาพตรงนี้มันจะเป็นตัวบอกบรรยากาศและเรื่องราวเสริมกับเรื่องในภาพ ปกติแล้ว ทะเลจะหมายถึงสถานะของความรัก แต่ก็อาจจะตีความไปในรูปแบบอื่นได้





    รูปที่น่าสนใจคืองานของ David Bailley ซึ่งเป็นภาพที่วาดที่จะมองเป็นภาพ Vanitas ที่มาจากภาษาลาตินว่า Vanitas vanitatum มีรากฐานจากงาน Memento Mori หรือภาพมรณานุสติที่เกิดขึ้นในช่วงโรคระบาดที่มีภาพแนวที่บอกว่าความตายไม่เลือกหน้า เป็นภาพที่แสดงถึงความไม่แน่นอน ความว่างเปล่า ความสิ้นสูญของชีวิต เป็นเรื่องเชิงธรรมกลาย ๆ ว่าอย่าหยิ่งผยอง จงถ่อมตัว เพราะไม่มีสิ่งใดแน่นอน ไม่มีอะไรที่ยั่งยืน ชีวิตไม่ใช่สิ่งเที่ยงแท้ ความโดดเด่นของรูปนี้ คือ ไบลีย์เขียนภาพนี้ตอนแก่ แต่วาดภาพรูปของตนเองตอนหนุ่ม ถือภาพตนเองตอนแก่และในช่วงวัยต่าง ๆ และมีองค์ประกอบต่าง ๆ ที่แสดงถึงความไม่แน่นอน เช่น ฟองสบู่ ดอกไม้เหี่ยวเฉา และมีรูป reproduction จากงาน Jester with the Lute ของ Frans Hals ติดอยู่บนเสา





    คุณมะเขือ กลับมาในทางวรรณกรรม ในการเล่านิทานซ้อนนิทานไม่ได้มีแค่เรื่องการสอนอย่างเดียว เช่น นิทานเวตาล (เวตาลปัญจวีสติ) ที่มีพระราชาพระองค์หนึ่งต้องไปจับปีศาจชื่อเวตาลที่เกาะอยู่ที่ต้นโศก เวตาลบอกว่าถ้าจับกลับไปแล้วก็ห้ามพูดอะไร เวตาลก็เล่าเรื่องไป แล้วสุดท้ายก็ตั้งคำถามถามพระราชา เช่น มีพ่อกับลูกชายคู่หนึ่ง แม่กับลูกสาวอีกคู่ ถ้าพ่อแต่งกับลูกสาวและแม่แต่งกับลูกชาย พระราชาก็เผลอตอบไป มีนิทานทั้งหมดยี่สิบกว่าเรื่อง ทั้งหมดนี้ สอนว่าต่อให้ฉลาดแค่ไหน แต่ถ้าขาดความอดทนหรือสติก็จะแพ้อยู่ดี สิ่งที่คนฉลาดทนไม่ได้คือคนโง่ แต่คนฉลาดที่ขาดความอดทนก็อาจนับว่าโง่ได้


    มะเม่ย the five senses ของ Jan Brueghel the Elder ที่วาดร่วมกับ Peter Paul Rubens ถ้าดูในรายละเอียดจะเห็นภาพวาดเต็มไปหมดและมีนัยทางการเมืองหลายอย่าง ตามปกติแล้ว ภาพเกี่ยวกับประสาทสัมผัสต่าง ๆ มักจะวาดเป็นภาพผู้หญิงกระทำสิ่งต่าง ๆ เช่น ส่องกระจกดูตัวเอง แต่ภาพนี้เป็นภาพผู้หญิงมองภาพพระเยซูกำลังรักษาคนตาบอดอยู่ นักประวัติศาสตร์ศิลป์คิดว่าน่าจะเป็นภาพวีนัสกับคิวปิด ซึ่งเป็นเทพนอกศาสนาคริสต์ ท่านั่งของวีนัสแสดงให้เห็นถึงความทุกข์ของผู้หญิง ทำนองเดียวกับนาฏยศัพท์ในนาฏศิลป์ไทย แสดงให้เห็นว่าความรักนอกศาสนาคริสต์นำไปสู่ความทุกข์แต่ความรักแบบคริสเตียนนำไปสู่ความสุข องค์ประกอบต่าง ๆ ในรูปเป็นสัญลักษณ์ของการมองเห็น เช่น นกอินทรี กล้องส่องทางไกล



    รูปที่อยู่ข้างขาของคิวปิด ที่เป็นรูปทะเล ในนัยของอริสโตเติลให้ธาตุน้ำสื่อถึงการมองเห็น ดังนั้น ภาพทะเลในที่นี้จึงต่างจากภาพที่สื่อถึงความรัก ในทางยุโรปมีความคิดว่าศิลปะต่ำกว่าวิทยาศาสตร์ รูปที่บรูเกลที่มีภาพซ้อนภาพจึงเป็นภาพบูชาครูและส่งเมสเสจศิลปะก็เท่าเทียมกับวิทยาศาสตร์ และมีรูปทางการเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ในภาพด้วย

    การตีความภาพของประวัติศาสตร์ศิลปะจะดูทั้งจากบริบทภาพรวมของยุคและบริบทแวดล้อมของศิลปิน บรูเกลกับรูเบนส์เป็นนักวาดที่ทำงานร่วมกันและมีชื่อเสียงทำให้มีเอกสารหลงเหลือ และการทำงานในลักษณะกิลด์ที่มีเอกสารการเบิกจ่ายอย่างละเอียด นักประวัติศาสตร์ศิลป์ก็จะไปเอาข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์

    คุณ สกบร องค์ความรู้ทางศิลปะของตะวันตกมันมีการตกทอดมาแบบรุ่นสู่รุ่น ยุคสู่ยุค กว่าที่จะมาถึงยุคเฟลมิช อย่างรูป Lady and the Unicorn นี่ก็เป็น Allegory of senses หนึ่งเหมือนกัน มันเป็นแพทเทิร์นมา แล้วยิ่งเอาคริสตศาสนามาเล่า ก็จะเป็น theme ที่เห็นได้ชัดมาก 




    คุณมะเขือ ถ้าลองกลับมาพิจารณารูปที่อยู่ในงานแมสบ้าง อย่างภาพจากหนัง Skyfall ที่คิวกับบอนด์คุยกันหน้ารูป Fighting Temeraire ของ J W M Turner ภาพจากมิวสิควิดีโอของบิยอนเซ ภาพจากมิวสิควิดีโอของ Super M ที่มีรูป a woman with parasol ของ Monet [ป.ล. จริงๆ มันคือรูป woman with parasol ของ Renoir] และรูป Las Meninas ของ Velasquez







    เม่ย Fighting Temeraire ของ JWM Turner เป็นภาพที่คิวพูดแซะบอนด์ว่าทั้งบอนด์ ทั้ง MI6 อยู่ในภาพย่ำแย่จนน่าจะปลดระวางไปได้แล้ว

    ถ้าดูรายละเอียด จะเห็นภาพของเรือที่ใช้เครื่องจักรกำลังลากเรือเดินสมุทรแบบโบราณที่แล่นโดยใช้ใบที่กำลังปลดระวาง ก็อาจจะตีความได้ว่ามันเป็นการเสื่อมสลายของจักรวรรดิอังกฤษในแบบเดิม

      





    คุณ สกบร ขอเสริม ใน skyfall เล่นกับปมของบอนด์ด้วย โดย M บอกกันคณะกรรมการโดยปิดท้ายด้วยกลอนของ Tennyson ว่า “We are not now that strength which in old days” เราอาจจะยังดูใหญ่ ดูแกรนด์ แต่ข้างในมันแหลกสลาย ไม่ได้ยิ่งใหญ่อย่างในสมัยก่อนอีกต่อไปแล้ว และใน Skyfall มันเล่นกันเรื่องนี้เยอะมาก


    Tho’ much is taken, much abides; and though
    We are not now that strength which in old days
    Moved earth and heaven; that which we are, we are;
    One equal temper of heroic hearts,
    Made weak by time and fate, but strong in will
    To strive, to seek, to find, and not to yield.

    (Ulysses – Alfred Tennyson)


    คุณมะเขือ ใน ApeShit ของบียอนเซ เป็นมิวสิควิดีโอที่ถ่ายใน Louvre ทั้งหมด โดยตอนจบของ MV ไปจบอยู่ที่หน้ารูปของโมนาลิซ่า การที่สองคนนี้มายืนอยู่หน้ารูปนี้ก็อาจจะเป็นการยกย่องความยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติก็ได้ 




    สำหรับ Las Meninas ของ Diego Velázquez (1656) มิเชล ฟูโกต์ได้ใช้รูปนี้เป็นปกหนังสือ อยากให้ลองสังเกตว่าใครกำลังมองใครในรูป




    เม่ย มันมีความเป็นไปได้ว่า คนวาดวาดจากภาพที่สะท้อนกระจก ซึ่งสะท้อนกันไปกันมาอีกทีหนึ่ง ถ้าเปลี่ยนมุมมอง สายตาของคนในภาพที่กำลังมองมาก็จะเปลี่ยนไป และแต่ละคนในภาพจะมองย้อนกลับมาที่เรา เป็นไปได้ว่าเวลาซเควซใช้กระจกสองบนเวลาวาดรูป แล้วทำให้เกิดการสะท้อนกันไปมา


    คุณมะเขือ ฟูโกต์เขียนว่า เวลาที่เราไปอยู่ในคุกและคนที่อยู่บนหอคอยจะเห็นคนในคุกทั้งหมด คนในคุกก็จะรู้สึกว่าตนเองถูกจับจ้องอยู่ การใช้ภาพนี้เป็นปก ก็จะสะท้อนให้เราตั้งคำถามว่า ใครกำลังถูกใครมองอยู่ 


    เม่ย มันมีสิ่งที่เรียกว่า Appropriation Art การหยิบเอางานศิลปะในยุคเก่ามาบิดหรือตีความเป็นอย่างใหม่ โดยมีการบิดโดยรู้ว่างานนั้นมีต้นทางหรือที่มาแบบไหน 


    คุณ สกบร ถ้าเรามอง สำหรับ APESHIT มันเป็นการชิงพื้นที่กลับมาจากคนขาว ซึ่งคำว่า ape เป็นคำที่คนขาวใช้ด่าคนดำ มันก็เป็นการเอาศิลปะสู้กับศิลปะอย่างหนึ่ง

    เม่ย มันก็เป็นไปได้ว่าเป็นการโต้กลับ

    คุณ สกบร คนขาวอาจจะคิดว่ามันเป็นภาพแทนผู้หญิงที่สวยมาก แต่เอาจริง ๆ พอให้คนเลือกคนก็ไม่เลือกโมนาลิซ่า

    เม่ย อย่างสัดส่วนทองคำ มันก็จะพอดีกับเบ้าหน้าแบบคอเคซอยด์ ไม่ใช่แบบคนเอเชียหรือคนแอฟริกัน มันก็ย้อนกลับไปที่เรื่องของคนขาว

Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in