“ถาม-หา-เรื่อง 3: เขียนยังไงไม่ให้ตัน?“ (11 มิ.ย. 64)
คุณ Sammon งานเขียนเคยเป็นงานอดิเรก แต่ตอนนี้แทบจะตีคู่กับงานประจำไปด้วย ตื่นมาก็จะไปทำงานก่อน ช่วงว่างรอคนไข้ ช่วงพักก็จะหยิบไอแพดมาเขียนทีละเล็กละน้อย ที่จะเขียนได้ยาว ๆ คือ หลังเลิกงานที่จะเขียนได้ต่อเนื่องหลายชั่วโมง ถ้าอารมณ์มา เขียนได้ก็ยิงยาวไปเลย เรื่องที่ไฟลุกมาก ๆ คือ การุณยฆาตกับ grab a bite พอไฟติดก็จะยิงยาวเอาให้ได้เยอะที่สุด พอไฟมอดก็จะเป็น pace ปกติ
คุณมะเขือ พอมีโมเมนต์ที่มันบล็อกขึ้นมาจะรู้ตัวหรือเปล่า แล้วแก้ยังไง
Sammon เวลาเปิดหน้าจอแล้วนิ่งจะถามตัวเองก่อนว่า blank เพราะอะไร อะไรที่แก้ปัญหาได้ก็แก้ไขก่อน เช่น ไปกิน ไปหลับ แต่ถ้าไม่หายก็จะถามตัวเองว่า input น้อยไปหรือเปล่า เพราะได้ inspiration จากสิ่งรอบตัว ก็จะไปเติมให้ได้ mood ได้ feel กลับมา ถ้าไม่ได้จริง ๆ ก็เบรกไปเลย
มีเรื่องที่อยู่ในไหมากกว่าเรื่องที่เขียนจบนะคะ อย่างเรื่องที่ค้างไว้คือเรื่อง Q เนื่องจากเป็นเรื่องที่มี setting ยากเกินไปสำหรับเราตอนนั้น มันยังไม่ตกตะกอน เขียนในอนาคตอาจจะดีกว่านี้ เขียนแล้วเกิดความเครียดไป เขียนแต่ละตอนก็จะหมดแรง ไม่เหมือนเวลาเขียนเรื่องอื่น ๆ จะว่าขมวดไม่ลงก็ได้ มันเป็นจักรวาลใหม่ที่รายละเอียดเยอะเกินไป มีศัพท์เทคนิคเยอะ เลยรู้สึกว่ายากเกินตัว
คุณเคีย นิยายเราเป็นนิยายเน้น feeling เราไม่ค่อยเขียนนิยายที่ละเอียด ๆ ไม่สามารถสร้างโลกใหม่ได้ เลยไปหยิบงานมาจากสภาวะรอบตัว ความบล็อกก็เจอเกิดจากสภาวะจิตใจและสภาวะแวดล้อม เช่น การเมือง ทำร้านอาหาร เอเนอร์จี้หมดไปกับการดีลกับลูกค้า มันจะมีซีซันของการบล็อก โดยเฉพาะในช่วงของงานที่ยุ่ง
เวลาที่บล็อกก็จะชัดมาก เวลาที่เริ่มพิมพ์ เราก็จะช่วงบิลท์อารมณ์จากการเปิดเฟซบุ๊ก แล้วปิดพวก sns ให้หมดแล้วพิมพ์ เราเปิดเพลงไม่ได้เวลาเราเขียน เพลงใช้เป็น mood ตอนที่เราบิลท์ได้ แต่เวลาเขียนมันเป็นสิ่ง distract เราจะโหยหาสังคมการตอบสนองจากผู้อื่น เราเลยต้องปิดให้หมด
งานที่เอาประสบการณ์มาเขียนเป็นหลัก เวลาบล็อกจะเกิดจากปัจจัยข้างนอกมากกว่าตัวเอง สภาพโดยรอบไม่เอื้อให้เขียน
พอบล็อกขึ้นมาแล้วทำยังไง มีแบบฝึกหักช่วยเขียนเวลาที่เรามี writer’s block เราเปลี่ยนมาเป็นเสพงานแทน เราจะมีสมุดเล่มหนึ่งไว้บันทึกวลีจากนิยายที่เราอ่าน ล่าสุดที่อ่านซาร์ราซีนกับเรือนแรมสีแดง ก็เขียนไปเหอะ ไม่ต้องไปอายที่จะจดสำนวนที่เราชอบเก็บไว้เป็นคลังคำ เราก็เปิด ๆ ดูว่ามีคำนี้อยู่นะ เราเคยใช้คำว่ากระอักกระอ่วนเยอะมาก หลังจากนี้ เราก็จะจดคำที่เป็น word choice ไป เช่น พิพักพิพ่วน ตะครั่นตะครอ อึดอัดใจ ให้มันมาเป็นคลังของเรา ไม่ต้องเสียดายเวลาในช่วงที่เราเขียนไม่ได้
ถ้าเรา make something ไม่ได้ ก็เปลี่ยนเป็น describe something แทน เช่น ท้องฟ้าเป็นสีอะไร สภาพเป็นยังไง คนนั้นเป็นใครกำลังทำอะไรอยู่ จดลงไปโดยไม่จำเป็นต้องเพอร์เฟคท์ แค่เขียนลงไปเฉย ๆ
คุณมะเขือ จะฝึกบรรยายสองอย่าง โดยใช้คำที่แสดงผัสสะที่มันตรงข้ามกัน เช่น รสชาติมีเปรี้ยว หวาน เผ็ด เค็ม ปกติเราใช้คำพวกนี้ แล้วเราก็ใช้คำอื่นในการบรรยายแทน เช่น ใช้อุณหภูมิแทน ว่าจะทำอะไรได้หรือเปล่า
คุณเคีย เวลาที่มันบล็อก ก็สามารถใช้เวลาทำแบบฝึกหัดได้
คุณ Sammon ส่วนใหญ่จะปล่อยไปเลย ไม่เขียน ออกกำลัง ดูซีรี่ส์อะไรไป แต่พยายามทำให้จบภายในเดดไลน์ที่กำหนด พวกคำศัพท์นี่ก็เป็นปัญหาที่ทำให้บล็อกได้ คือ คำศัพท์ในหัวน้อย รู้ศัพท์แล้วใช้ไม่ค่อยถูก เรียบเรียงออกมาไม่ค่อยสวย เวลาบรรยายอะไรที่ลึกซึ้งไม่ค่อยได้ วิธีแก้คือพยายามเสพอะไรที่ดราม่ามากขึ้น โดยไปดูซีรี่ส์ดราม่าเกาหลี จนซึมซับรูปประโยค อารมณ์ความรู้สึก แล้วก็มีการหางานคนอื่นอ่าน มักจะเลือกอะไรที่ใกล้ ๆ กับสิ่งที่เขียน เพื่อที่จะได้ไอเดียใหม่ที่ทำให้ไปต่อได้มาด้วย
โมเมนต์ที่หลุดจากบล็อกบางทีก็มาแบบไม่ทันตั้งตัว มักจะมาแบบโจมตีรุนแรง เช่น ขับรถอยู่ ตรวจคนไข้อยู่ แต่ตอนนั้นเขียนเลยไม่ได้ พอว่างแล้วก็จะจัดมาสักสี่ห้าหน้าได้
การที่ใครสักคนจะได้แรงบันดาลใจในการทำอะไรสักอย่างหนึ่งไม่ใช่เรื่องผิด
สมองของเราแบ่งออกมาเป็นสองฝั่งคือฝั่งเขียนกับฝั่งแก้ ตอนช่วงเช้าสมองส่วนสร้างสรรค์จะทำงาน ก็จะมี morning pages ให้ใช้ปากกากับกระดาษเขียน ไม่ต้องแก้ ไม่ต้องลบ อะไรที่ออกมาอาจจะได้ที่เกินคาดกว่าอะไรที่มาจากตรรกะ อาจจะไม่ได้มาในรูปของการเขียน แต่เป็นรูปของการพูด แล้วมาคิดทีหลังว่าอะไรจะกรองใช้ทีหลัง
คุณมะเขือ เวลาอยากขุดงานเก่าขึ้นมา เราเคยเขียนงานทิ้งไว้สักพัก พอกลับมาต่ออีกที แม้ว่าพล็อตจะวางแล้ว แต่ก็จะเจอว่าต่อไม่ได้
มีเรื่องที่เคยเขียนเพราะอยากเขียน หรือเขียนเพราะอยากขายไหม
คุณเคีย เราตั้งใจที่จะเขียนขายทุกเล่มเลย นักอ่านชอบพูดว่าจะรวมเล่มเมื่อไหร่ มา อยากได้ก็จัด
คุณมะเขือ มีเรื่องที่เราทรีตต่างกันบ้างไหม
คุณเคีย อะไรที่กาวเล่น ๆ มันมักจะไม่จบที่กาวเล่น ๆ อย่างใครสักคนในเราทั้งคู่ก็กลายมาเป็นนิยายที่ค่าปกแพงกว่าเรื่องหลักอีก
Q คุณบิว: ความกลัวเวลาเขียนที่ทำให้เขียนไม่ออก เพราะสำหรับเราเป็นส่วนหนึ่งแล้วฟีดแบ็คมันโอเค แต่เราไม่กล้าเริ่มใหม่ กลัวว่าจะโดนฉอด หรือไม่พัฒนาขึ้น
คุณเคีย นักเขียนพึงรู้อยู่เสมอว่า เราไม่มีทางที่จะเอาชนะตัวเองตอนที่เขียนเรื่องแรกได้ พอเป็นเรื่องถัดมา คุณก็ต้องสร้างขึ้นมาใหม่ มันไม่ใช่สิ่งที่คุณสั่งสมมาทั้งชีวิต ตอนที่เขียนแชร์เฮาส์มันสูบทุกอย่างจากเราไป เราก็ปล่อยมันไป นักอ่านเขาอยากได้สิ่งที่เหมือนกับเล่มแรกที่เราเขียน
คุณมะเขือ เราเขียนอะไรที่เรามั่นใจ เราก็จะตอบได้ว่าทำไมเราถึงเขียนขึ้นมา มีหลายเรื่องที่เราอยากเขียนแต่เขียนไม่ได้ เพราะเรานึกไม่ออก มันไม่สนุกที่จะเขียน
งานเขียนไม่ใช่บันได แต่เป็นดาวบนฟ้า เราอยู่ข้างล่างเป็นคนส่งดาวแต่ละดวงขึ้นไป
คุณเคีย การพัฒนาให้ดีขึ้นเอาอะไรมาวัด การเขียนไม่จำเป็นว่าจะต้องเขียนให้มันดีขึ้นเรื่อง ๆ การที่เอาคำพูดของคนอื่นมามีอิทธิพลกับใจเราเองมันไม่ใช่เรื่อง
คุณมะเขือ การเขียนเป็นงานที่โดดเดี่ยว เป็นการเดินทางของเราคนเดียว คอมเม้นท์ประเภทนี้มันไม่ได้สำคัญอะไรเลย คนในวงการมีทั้งเขียนได้ดี บางคนก็ไม่ได้มีความรู้ด้านวรรณกรรมสูงส่งกว่าคนอื่นหรือคนอ่านทั่วไป เพียงแต่เขาอาจจะมีชุดคำที่ convince คนที่ทำให้รู้สึกว่ามันเข้าท่ากว่าคนอื่น
การได้สังเกตคนเยอะ ๆ จะทำให้เรามีข้อมูลเก็บไว้ในหัว
คุณเคีย นอกจากได้ไปอยู่ท่ามกลางผู้คน เข้าใจว่าคนไม่ได้มีอยู่ประเภทเดียว การเข้าไปอยู่กับคนที่อยากเขียนในชีวิตจริงมันไม่เหมือนกันที่คิดก็ได้ คำพูดบางอย่างอาจจะไม่เคยอยู่ในมโนสำนึกของเรา แต่การที่มีคนหนึ่งมาพูดประโยคแบบนั้นมันก็มาอยู่ในนิยายเรา เราไม่สามารถผลิตด้วยตัวเองได้ มันก็ได้มาจากการพูดคุย
Q คุณ Sareena วิธีในการปรับมู้ดเวลาหมดไฟในการเขียนหรือโรล แล้วรู้สึกว่าคนอื่นดีกว่าเรา
คุณเคีย ส่วนใหญ่ เราเป็นงานที่เราเขียน แฟนแก้ ต้องยอมรับการแก้ไขของแฟนให้ได้ อย่าไปอายเขียนไปก่อน การแก้สิ่งที่ออกมาแล้วมันง่ายกว่าการแก้ไขความว่างเปล่า การค่อย ๆ เรียบเรียงออกมา แม้ไม่เพอร์เฟคท์ก็แก้ได้ การที่เราเขียน มันเกิดมาจากการที่มีมนุษย์หลายคนหลายระดับ การที่มันเหมือน ๆ กันไปหมด ฉลาดไปหมด แล้วเราไม่สามารถเอื้อมไปแตะต้องมันได้ มิติของตัวละครไม่จำเป็นต้องฉลาดหรือทำได้ดี หรือต้องใช้ภาษาสละสลวยอะไร ที่มันดีเพราะมันผ่านการปรับปรุงมาแล้วหลายชั้น
[โรลเพลย์ คือ การสร้างตัวละครแล้วสวมบทบาทเป็นตัวละครตัวนั้น]
Q คุณเอิร์น นักเขียนมักจะมี genre ของตัวเองก็มักจะมีสิ่งที่นำมาใช้ซ้ำ ไม่ต่างกันมากในหลาย ๆ เรื่อง ก็จะกลัวว่าเราใช้ทุกอย่างไปหมดแล้ว คิดเห็นอย่างไรกับประเด็นนี้ ทำอย่างไรที่จะทำให้เราเขียนไปได้จนกว่าจะหมดอายุ
คุณเคีย เรารู้เหรอว่า เมื่อไหร่มันจะหมด อ่านหนังสือเยอะ ๆ แบบเยอะ ๆ อ่านหลาย ๆ แนว เพราะเราอาจจะยังไม่รู้ว่าเราชอบแนวนี้ ถ้าเราอ่านแต่เฉพาะแนวเดียว เรามีหลายโซนที่เรายังไม่ได้ไปสำรวจ เรายังไม่รู้เลยว่ายังมีอีกหลาย genre ที่เรายังไม่ได้ลอง
คุณมะเขือ คนที่เขียนไม่นึกหรอกว่า เรื่องเราจะซ้ำกับเรื่องอื่น แค่ตัวละครไม่ซ้ำเดิม มันก็เปลี่ยนแปลงแล้ว การสร้างงานโดยที่ไม่มองจากสายตาคนนอกมันก็ทำให้เราเขียนได้ การที่เอา trope เอา genre มาจับ คนที่เรียนอักษรหรือศิลปะศาสตร์มา ไม่ได้เรียนมาเป็นนักเขียน เขาเรียนมาด้านภาษา กลวิธี โดยเชื่อว่าวรรณกรรมบ่งบอกอะไรเกี่ยวกับมนุษย์ได้
คุณเคีย ซึ่งบางทีมันเป็นกรงขังของจินตนาการ ไม่ คนเขียนเขียนไปก่อน แล้วค่อยมาใส่คำจำกัดความทีหลัง ประเด็นสังคมจะเอามาแทรกในบรรทัด ไม่เอามาเป็นพอยต์โต้ง ๆ การเขียนมันไม่ได้เริ่มมาจากประเด็นพวกนั้นแน่นอน
คุณมะเขือ ของพวกนี้มันเป็นเหมือน software ที่ run อยู่ในสมองของเรา อยู่ด้านหลัง นักเขียนก็เป็นแบบนั้น จะนำเสนอไม่เสนอ เขาอยู่ในภาวะไหน กำลังเล่าเรื่องอะไรอยู่ ไม่งั้นมันจะกลายเป็นตำรา
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in