เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
มหากาพย์การค้นหาตัวตน การเกิดใหม่ที่เติบโตของ Golden Childreal_blacksoul
มหากาพย์ Without You - Golden Child การสูญเสียตัวตนกับชีวิตติดลูป

  • มาถึงพาร์ท 2 ของไตรภาคนี้ ในเพลง Without You ในมหากาพย์การค้นตาตัวตนเพื่อเกิดใหม่ในครั้งนี้ เรามาเริ่มทำความรู้จักกับ Zanybros ก่อน ซึ่งทีม Zanybros ค่อนข้างเป็นที่รู้จักในวงการ K-pop มีผลงานการถ่ายทำทั้ง MV ทั้ง VDO โฆษณามากมาย แต่ตัวเราค่อนข้างห่างไกลจาก Zanybros อาจเพราะว่าสนใจงานของโปรดักชั่นเฮาส์อื่นมากกว่า แต่หลังจากที่ได้ตัดสินใจจะเขียนบทความนี้ก็ไปศึกษางานของทีมนี้มาบางส่วน 

    และใช่ค่ะ ทีม Zanybros เป็นทีมที่สร้างสรรค์ผลงานไตรภาคนี้ให้เราดูตั้ง 3 ตัว ตั้งแต่ Wannabe, Without You และล่าสุด One (Lucid Dream)


       องค์ประกอบภาพที่เป๊ะ ปัง 

    ความสมมาตรของภาพ 
           คือ การถ่ายน้ำหนักของภาพให้เท่ากัน ผ่านเส้นสมมติที่ลากผ่าน ใน MV นี้มีการเส้นเรื่องความสสมมาตรของภาพเยอะมาก มันทำให้เรานึกถึงเรื่อง "การสะท้อนของภาพ" ให้ลองคิดว่านี่คือกระดาษหนึ่งแผ่น แล้วเราพับที่ตรงกลาง ทั้งสองข้างจะเท่ากันพอดี เป็นอีกหนึ่งเทคนิคของการใช้การสะท้อนของภาพมาเล่น
           ในความเป็นจริง การเกิดความสมมาตรของภาพ เกิดขึ้นยากมาก ๆ กว่า 80% คือการสร้างขึ้นมาเอง และนี่อาจจะเป็นฉากหลังในโลกความฝันที่เจ้าของความฝันสักคนสร้างขึ้นมาก็เป็นได้ 


    พอจะนึกภาพกันออกใช่ไหม? แล้วนึกออกหรือเปล่าว่าสัตว์อะไรที่ธรรมชาติออกแบบด้วยเทคนิคการสะท้อนภาพ 
    .
    .
    .
    .
    .
    ใช่ค่ะ... มันคือ "ผีเสื้อ" แล้วเราก็จะยกเรื่องนี้ไปพูดใน One (Lucid Dream) เหมือนเดิม  


    กฎ 3 ส่วน และเส้นนำสายตาที่โดดเด่น

        กฎ 3 ส่วน หรือที่เรารู้จักกันในชื่อของ Rule of 3 หมายถึง การสร้างเส้นสมมติผ่าน จุดตัด 4 จุดบนภาพ ในระยะและขนาดที่เท่ากัน จะได้ตาราง 9 ช่อง เราใช้จุดตัด 4 จุดนั้นเป็นจุดสำคัญสำหรับวางวัตถุ เป็นเทคนิคการส้รางองค์ประกอบภาพที่ได้รับความนิยมทั้งในเรื่องภาพวาด ภาพถ่าย ไปจนถึงงานภาพเคลื่อนไหว
        จุดตัดแต่ละจุดจะมีความสำคัญที่ "ไม่เท่ากัน" ขึ้นอยู่กับเทคนิคของเราว่าต้องการวางอะไรไว้ตรงไหน ต้องการเน้นอะไร และต้องการสื่อสารอะไรกับคนดู โดยที่จุดตัดแรก สีแดง มีน้ำหนักความสำคัญอยู่ที่ 41% ของภาพทั้งหมด 25% ที่สีเหลือง 20% ที่สีน้ำเงิน และจุดตัดสุดท้ายที่ไม่ค่อยได้รับความสนใจอยู่ที่ 14% 


    จะเห็นได้ว่า งานภาพของ MV นี้เล่นกับพื้นที่ว่างพอสมควรเลย การทิ้งสเปซบอกอะไรเราได้หลายอย่าง อาจจะหมายถึงความว่างเปล่าจริง ๆ การทิ้งพื้นที่ให้ได้คิด รวมถึงการเน้น Object ที่ตัวคนด้วยเหมือนกัน


    การใช้เส้นนำสายตากับ Perspective

         เรียกได้ว่าเป็นข้อพื้นฐานของการสร้างฉากขึ้นมาก็ได้ อาร์ตไดเรคเตอร์ส่วนมาก มักจะเลือกใช้การฉากแบบ Perspective เพื่อให้พื้นหลังของ Object มีมิติความลึก ยิ่งบวกกับการที่พื้นหลังเป็นฉากทาสีธรรมดา ไม่มีพร๊อพประกอบแล้ว การสร้าง Perspective มีความสำคัญมากเลยทีเดียว



         
    จริง ๆ มีเรื่องนึงที่ติดอยู่ในใจเรานานพอสมควร ฉากนี้ที่สร้างจาก Perspective อาศัยการใช้แสงและเงามาช่วยให้ภาพดูลึกยิ่งขึ้น ด้านบนของฉากถูกเจาะเป็นสี่เหลี่ยม แล้วจัดไฟสาดแสงลงมา มันทำให้เรานึกถึงสถาปัตยกรรมที่โด่งดังของกรุงโรมที่หนึ่ง ที่ชื่อว่า Pantheon

         ภายในวิหาร Pantheon จะมีการเจาะหลังคาด้านบน เพื่อให้แสงส่องลงมาด้านใน เรียกว่า Pantheon Oculus ซึ่ง Oculus เองก็มีความหมายว่า ดวงตา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เราเองก็ไม่แน่ใจว่าสารที่ผู้กำกับต้องการส่งมา มันมีความลึกถึงขนาดนี้มั้ย หรืออาจเป็นเราเองที่กำลังอิน Angel & Demon มากเกินไป 


       แต่ในบางฉากก็ยังมีกลิ่นอายของสถาปัตยกรรมแบบนี้ให้เห็นอยู่บ้างเหมือนกัน อาจเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างเซตติ้งขึ้นมาก็ได้ และจากรูปของดงฮยอนด้านบน แม้แต่ฉากนี้เองก็ยังใช้ Perspective อยู่เหมือนกัน เป็นการจัดคอมโพสและมุมกล้องที่ไม่ทำให้ภาพ "ดูแบน" แม้จะเป็นแค่ฉากเปล่าก็ตาม ยังมีการใช้แสงเข้ามาช่วยให้เกิดเงาที่มุมของฉาก ทำให้เกิดความลึกเข้าไป ทำให้ภาพดูมิติมากขึ้น ซึ่งเทคนิคนี้ไม่ได้ใช้ในฉากของดงฮยอนแค่คนเดียว แต่ยังใช้ในอีกหลาย ๆ ฉาก


    เราจะเห็นได้ว่านอกจากการวางองค์ประกอบแล้ว การใช้แสงและเงาของ MV นี้ก็โดดเด่นมาก ๆ จนทำให้ภาพใน MV นี้มีความลึกในแง่ของมิติอยู่พอสมควรเลยทีเดียว 










  •    ใช้สีเล่นกับความรู้สึกคนดู

        เราพูดอยู่เสมอว่า MV เพลง Without You มันมีความหลอนในตัวของมันเองอยู่แล้ว ฉากที่เราชอบมากเป็นพิเศษคือฉากที่จีบอมถือร่มติดไฟ 
     

          ฉากนี้มีการใช้คู่สีแบบ Analogous คือการใช้คู่สีที่อยู่ใกล้เคียงกัน อย่างในฉากนี้ที่เราเห็น เลือกที่จะใช้สี "เหลือง-ส้ม-เขียว" แต่ตัวของ Object หรือชุดของจีบอมมีสีแดง เด้งออกมา นั่นก็เป็นเพราะฉากนี้ถูกทำขึ้นในขั้นตอนของการย้อมสีในขั้น Post-Production ดึงความเข้มของสีแดง (Saturation) ให้สีสดขึ้น ถ้านึกภาพการไล่ระดับสีในการย้อมสีไม่ออก ให้ลองดูตามภาพนี้ 


          เราเพิ่มความเข้มของสีเพื่ออะไร? อันดับแรก ก็เพื่อที่จะทำให้ Object นั้นเด่นขึ้นมา อันดับต่อมาก็คือการสร้างความรู้สึกใหม่ ๆ ให้กับคนดู ยิ่งสีดูฉูดฉาดมากขึ้นเท่าไหร่ มันก็ยิ่งดูบิดเบี้ยวไปจากความจริงมากเท่านั้น 


                ในฉากนี้ของจูชานเองก็มีการใช้คู่สีที่แตกต่างกัน เป็นการใช้คู่สีแบบ Triadic (ซึ่งส่วนตัวเราเรียกมันว่าการใช้สีแบบสามเหลี่ยม) ซึ่งฉากนี้ เป็นการใช้สีฟ้า สีแดง และสีเหลือง
                   การใช้สีแบบนี้ทำให้ภาพดูเหนือจริง ใน MV ตัวนี้ ไม่ได้ดูเน้นโทนสีไปในทางใดทางหนึ่ง แต่เน้นโทนสีที่หลากหลาย ทำให้เรามองเห็นหลายตัวตน หลายบุคคิล และหลายความรู้สึกในแต่ละฉาก


              รวมไปถึงการใช้คู่ตรงข้ามอย่างในฉากของยองแทคด้วยเหมือนกัน ให้ความรู้สึกที่แข็งแรง สัญญาณของอันตราย พุ่งตรงมาที่เรา แต่ฉากนี้ออกมาแค่แป๊ปเดียวเท่านั้น ตัดสลับไปมากับฉากอื่น เหมือนเป็นความทรงจำที่แวบเข้ามาในหัว แล้วก็หายไป 


       งานย้อมสีที่โคตรจะยอมใจ

        ยังอยู่ในเรื่องสี แต่เป็นเรื่องของการย้อมสีในขั้นตอนตัดต่อ (Post-Production) แม้ว่าฉากนี้จะไม่ได้โดดเด่นเรื่องนี้ แต่ที่โดดเด่นจนไม่พูดไม่ได้คือ กลิตเตอร์ ที่พุ่งออกมาจาก Object 

            การแต่งหน้าฟาดเครื่องสำอางค์เยอะ ๆ หรือการใส่ชุด ใส่เครื่องประดับที่สะท้อนแสงเข้ากล้องเยอะ ๆ ก็ไม่ได้ทำให้แสดงที่สะท้อนเด่นวาบขึ้นมาขนาดนี้ ถ้าไม่ได้มีการดึงแสงและสีในการย้อมสีวีดีโอ ส่วนตัวแล้วเราพบเทคนิคนี้บ่อยใน MV ของ Girlgroup แต่พอมาเจอใน MV ของ Boygroup บ้าง ดีใจจนน้ำตาจะไหล มันคืองานศิลปะที่ไม่แบ่งแยกเพศแล้ว มันงดงามในตัวของมันเองโดยไม่มีกรอบมาตี มันทำให้เรายิ่งชอบคอสตูมของอัลบั้มนี้เข้าไปอีก 

    ขอนอกเรื่องออกจากเส้นเรื่องของ MV สักครู่นะคะ 

           ยกตัวอย่างบงแจภาพนี้ เป็นหนึ่งในภาพที่เรารักมากที่สุดภาพหนึ่ง เพราะเราชอบความหยิบจับอะไรมาใส่ให้บงแจก็มีความเข้ากันไปซะหมด ต่างหูทรงแพร์สีน้ำเงิน แถมมีเพชรล้อมรอบอีก เป็นโจทย์ยากเหมือนกันที่กล้าใส่ให้กับใครสักคน อยากขอบคุณสไตล์ลิสและบงแจมาก ๆ ที่สร้างผลงานศิลปะให้เราได้ชื่นชมอีกหนึ่งผลงาน 
          ซึ่งเสื้อผ้าตลอดการโปรโมทเพลง Without You ได้ทางแบรนด์ Blacntic_Costome มาดูแลให้


        และนอกจากรูปทีเซอร์แล้ว เครื่องประดับวิบวับอื่น ๆ ก็มีให้เห็นใน MV Without You อยู่เยอะเหมือนกัน ไม่ใช่แค่เฉพาะบงแจเท่านั้น ส่วนตัวคิดว่าเพื่อใช้ในการเล่นแสงและเงาให้เกิดการสะท้อน เป็นอีกหนึ่งลูกเล่นใน MV นี้


       การข้ามเส้นของคนตัดต่อ 

          ในเทคนิคการตัดต่อจะมีสิ่งหนึ่งที่เรียกว่า 180-Degree Rule ในที่นี้เราขอเรียกว่า เส้นสายตาของตัวละคร มันคือเส้นสมมติที่ลากขึ้นมา เพื่อกำหนดทิศทางสายตาการมองของตัวละคร บางคนค่อนข้างเคร่งครัด เพราะถ้าตัดข้ามเส้น สลับมุมมอง อาจทำให้คนดูสับสนได้ ว่าใครเป็นใคร




    แล้วการข้ามเส้น มันเกี่ยวอะไรกับ MV นี้?

         อย่างที่บอกว่าการตัดสลับฝั่งกัน หมายถึง มีตัวละครมากกว่า 1  กำลังยืนสนทนากันอยู่ พอฉากนี้ถูกตัดให้อยู่ติดกัน มีความต่อเนื่องกัน กลายเป็นว่าภาพที่เราเห็นอาจจะไม่ได้มีตัวละครเพียงตัวเดียว แต่มีตัวละคร 2 ตัวกำลังสื่อสารกันอยู่ ซึ่งถ้า 2 ฉากนี้ ไม่ได้อยู่ติดและถูกเชื่อมด้วยเอฟเฟค ภาพนี้จะไม่มีความหมายเลย  

          เราเห็นการสื่อสารของตัวละครอีกครั้งผ่านฉากของบงแจ นั่นทำให้เรารู้ว่าตัวกลางของการสื่อสารในครั้งนี้นั้นคือ "กระจกที่สะท้อนเงาของเรา" เพื่อให้เราได้โต้ตอบกับ "ตัวเราอีกคน" ในเงาสะท้อนนั่น


       ความต่อเนื่องของภาพ ที่ต้องมือกราบคนตัดต่ออีกครั้ง

         เราเองในฐานะที่เป็นคนตัดต่อเหมือนกัน รู้สึกว้าวกับการทำภาพครั้งนี้มากจริงๆ อธิบายก่อนว่าโดยภาพรวมของตัว MV เองอาจจะเป็นการคัตชน ที่หมายถึงเอาภาพเคลื่อนไหวมาต่อ ๆ กันเฉยๆ ไม่ได้ใส่เอฟเฟคอะไรทุกภาพทุกเฟรม แต่...ในความคัตชนเฉย ๆ นั่น คนตัดต่อได้เชื่อมโยงความต่อเนื่องของภาพอยู่เสมอ  (ถ้าดูใน MV เป็นภาพเคลื่อนไหวจะเห็นได้ชัดกว่า วินาทีที่ 3.23)


         ความต่อเนื่องของฉากนี้ิอยู่ที่ดอกไม้ เปิดด้วยดอกไม้ที่แดยอลถืออยู่ แล้วค่อย ๆ ร่วงจากมือซึงมิน ทั้งภาพในระยะใกล้ปานกลาง และระยะไกล ก่อนจะจบด้วยก้านดอกไม้ที่ทิ่มลงในแก้วน้ำ ทุกอย่างต่อเนื่องกันภายใต้ "การตกจากที่สูง" แม้จะไม่ได้เป็น Object เดียวกัน แต่เพราะการเคลื่อนไหวเหมือนกัน ทำให้ภาพชุดนี้ดูเชื่อมต่อกัน และสมูธมากขึ้น

         ยกตัวอย่างความต่อเนื่องของภาพ ใน Object ที่ต่างกันอีกอันหนึ่ง เป็นฉากที่ยองแทคกระโดดลงมา แล้วคัตมาที่น้ำตาของโบมินร่วงจากตา นี่ก็เป็นอีกคัตนึงที่ใช้ความต่อเนื่องของภาพมาเล่า "การตกจากที่สูง" 

           แล้วการตกจากที่สูง หมายถึงอะไร? อาจแปลความหมายถึง การปลุกให้ตื่น คิดว่าหลาย ๆ คนคงเคยเป็นในเวลาที่นอนอยู่แล้วรู้สึกเหมือนตกจากที่สูง ก็จะสะดุ้งตื่น ทฤษฎีนี้คุ้น ๆ ใช่มั้ย เราเองก็ได้แรงบันดาลใจในการแกะความหมายนี้มาจาก Inception เหมือนกัน 








  •    หรือเรื่องราวใน Without You คือภาพในหัวของโบมิน 

            การเล่าเรื่องย้อนจากภาพปัจจุบันไปอดีต ก็เป็นอีกหนึ่งเทคนิคการเล่าเรื่องที่เราได้เห็นกันบ่อย ๆ บางครั้งก็มาในรูปแบบของ Flashback บางครั้งก็มาในรูปแบบของการย้อนเวลากลับไปแก้ไขสิ่งต่าง ๆ ในการวนลูป และการเล่าเรื่องของ Without You ก็อาจจะเป็นการเล่าย้อนกลับเช่นกัน 

            MV ถูกเปิดด้วยภาพที่โบมินกำลังเดินขึ้นบันได จะมีช็อตที่เป็นภาพ Medium Close Up ถ่ายให้เราเห็นฉากด้านหลัง ซึ่งมีความตื้นลึกที่แตกต่างกัน นั่นอาจหมายความว่า ภาพที่เล่นอยู่ตอนนี้ คือตีนบันไดที่กำลังจะก้าวขึ้นไป 

        ในระหว่าง MV ก็แทรกการเดินขึ้นบันไดของโบมินไปด้วยตลอด จะเห็นว่าน้องเริ่มเดินขึ้นมาสูงขึ้นเรื่อย ๆ เพราะฉากหลังไม่มีความตื้นลึกแล้ว 

           และจบด้วยการที่โบมินขึ้นไปยังจุดสูงสุดของบันได แล้วมองย้อนกลับมายังบางสิ่งที่อยู่ข้างล่าง ใน MV ไม่ได้บอกเราว่าสิ่งนั้นคืออะไร อาจจะเป็นของบางอย่างที่ทิ้งไปแล้ว หรือเป็นตัวตนที่ถูกทิ้งระหว่างทางที่กำลังทะเยอทะยานขึ้นไปยังจุดสูงสุด


       Easter Egg เชื่อมทั้ง 3  MV เข้าด้วยกันในจักรวาลเดียว

        สำหรับคอหนังน่าจะคุ้นเคยกับคำนี้เป็นอย่างดี Easter Egg ถุกนำมาใช้บ่อยในงานภาพยนตร์ แต่ในงาน K-pop ก็ใช่ว่าจะไม่มี และนี่ก็ไม่ใช่ครั้งแรกที่เราพบ Easter Egg ใน MV เพลงด้วย 

        Easter Egg คือการ แอบวางสิ่งของที่เชื่อมโยงไปยังอีกเรื่องหนึ่งไว้ในเรื่องที่เรากำลังดูอยู่ ยกตัวอย่างเช่น จักรวาล Conjuring ที่มีการวาง Easter Egg ของเรื่องอื่นในจักรวาลไว้ตามเรื่องต่าง ๆ เหมือนอย่างที่เราพูดเก้าอี้ไว้ในบทความก่อนหน้าในพาร์ทของ Wannabe  


         เราจะหาคำตอบได้ว่ามันคือ Easter Egg หรือไม่ คงต้องรอให้ MV One (Lucid Dream) ออกมาก่อน เพราะฉะนั้น เราจะมาพูดถึง Easter Egg จาก Wannabe ถึง Without You กันก่อน

       ของเหลวสีทองกลับมาหลอกหลอนอีกครั้ง

    หรือนี่คือการฝันซ้ำ การฝันวนลูปกลับไปอยู่ในที่เดิม 

       ดวงตา...เป็นประตูสู่ความฝัน


          การใช้ภาพแบบ Close Up ยิ่งเป็นการเน้น Object ที่ต้องการส่งถึงคนดู ทั้ง Wannabe และ Without You ต่างก็เน้นการโฟกัสที่ดวงตามากเป็นพิเศษ 


          การหลับตา-ลืมตา ถูกหยิบมาเล่นซ้ำอีกครั้ง ในฉากของซึงมิน แต่เป็นการลืมตาขึ้นในฉากเดิม ที่เดิม และเวลาเดิม หรือหมายความว่าการลืมตา อาจไม่ใช่การตื่น 


       ซึ่งต่างจากฉากการลืมตาของจีบอม ที่ไม่ต่อเนื่อง เปลี่ยนพื้นหลัง เปลี่ยนมุมกล้อง และถูกคั่นด้วยฉากของบงแจ หรือจีบอมจะเป็นคนที่ลืมตาเพราะตื่นจากความฝันจริง ๆ ?



            ไอเดียการเล่นกับดวงตา ยังไม่หมดแค่นั้น มันถูกนำมาเล่นกับฉากของบงแจอีกด้วย เราเองก็ยังคาใจกับฉากนี้อยู่เหมือนกัน ว่าการปิดตาหมายถึงอะไร การปิดกั้นการรับรู้? หรือปิดกั้นตัวตนจากใคร


       จุดจบคือจุดเริ่มต้น...หรือนี่คือการวนลูป
     


       กระจกและภาพสะท้อนยังอยู่กับเราไม่ไปไหน

    กระจกที่สะท้อนตัวเรา และสะท้อนลึกลงไปเรื่อย ๆ ในตัวตนของเรา 

        การใช้แสงและเงาเล่าเรื่อง

         ทั้ง 2 MV ยังอยู่ภายใต้คอนเซ็ปต์การค้นหาตัวตน และถูกกลืนกินในที่สุด จาก Wannabe เคยทิ้งข้อความนี้ไว้ให้เราในฉากของเหลวสีทอง  

     
    Without You เองก็เช่นกัน ในตอนท้ายพูดถึงการถูกกลืนกินโดยเงาและความมืดจนหมดสิ้น เขาสูญเสียตัวตนของตัวเองไปแล้ว 

           เหมือนกับซึงมินในฉากนี้ที่ถูกเงาพาดตัว ค่อย ๆ ถูกกลืนกินไปทีละนิด ๆ 



    และ Easter Egg ชิ้นต่อไปที่เราต้องหาคำตอบ...



        Core Concept ที่เล่าถึงการค้นหาตัวเอง การต่อสู้เพื่อเป็นคนที่สมบูรณ์แบบผ่านจิตใต้สำนึกและความฝัน 

         อาจจะบอกได้ว่า MV ไตรภาคนี้ เชื่อมโยงอยู่ในจักรวาลเดียวกัน ภายใต้คอนเซ็ปต์เดียวกัน ผ่าน Eater Egg ที่ซ่อนไว้ มีหลายทฤษฎีที่เราวางไว้ ไม่ว่าจะเป็น Inception การฝันซ้อนฝัน, การวนลูป (Time Loop) ติดอยู่ในความฝัน, การเล่า Flashback และอาจจะมีอีกหลายทฤษฎีของอีกหลาย ๆ คนหลังจากที่ได้อ่านบทความนี้ของเรา ซึ่งเรายินดีมาก ๆ ที่จะมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ในระหว่างที่เรานั่งเรียบรียงจักรวาลนี้ น้องก็เคยทักเรานะว่าคิดมากไปหรือเปล่า นี่มันอุลลิมนะ ด้วยความที่เราเองก็มือใหม่ในค่ายนี้ ก็มานั่งคิดอยู่พักหนึ่ง แต่สุดท้ายก็ตัดสินใจเขียนบทความนี้ขึ้นมา เพราะนอกจากเรื่องจักรวาลในการค้นหาตัวเองแล้ว เราได้แทรกเรื่องเทคนิคการออกแบบองค์ประกอบ หรือการถ่ายทำบางอย่างเข้าไปด้วย เหมือนได้เรียนเลคเชอร์อีกรอบเหมือนกัน หวังว่ามันจะดูไม่น่าเบื่อเกินไปนะ  

         บทสรุปของจักรวาลการค้นหาตัวตน ยังไม่จบลงที่ตรงนี้ ถ้า Wannabe พูดถึงการไล่ตาม การไขว่คว้าตันตนในแบบที่อยากเป็น Without You ก็คงพูดถึงการสูญเสียตัวตนใดตัวตนหนึ่งในจิตสำนึกเราไป และเราก็อยากรู้ว่า One (Lucid Dream) จะทิ้งข้อความแบบไหนไว้ให้เราได้ค้นหาตัวตนอีกบ้าง  


เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in