เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
มหากาพย์การค้นหาตัวตน การเกิดใหม่ที่เติบโตของ Golden Childreal_blacksoul
มหากาพย์ Re-boot & WANNABE การเกิดใหม่ที่เติบโตของ Golden Child

  • สืบเนื่องจากที่เราเคยทำเธรดทวิตเกี่ยวกับการ Re-Boot ของ Golden Child ไป ซึ่งมีทั้งสตอรี่ไลน์ อาร์ตได งานภาพ งานตัดต่อตั่งต่าง แล้วเรารู้สึกว่ามันเยอะมากมายมหาศาล เพราะเป็นงานไตรภาค โอ้มายก้อชชชช เธรดยาวยุ่งเหยิงไปหมด เราเลยได้ทำการรวบรวมข้อมูลจากในเธรดนั้น พร้อมกับหาข้อมูลประกอบเพิ่มเติมจากที่ได้เคยทวิตไว้ 


    ขอออกตัวก่อนเลยว่า ข้อมูลทั้งหมดเป็นเพียงการวิเคราะห์จากเราและบลูลาเวนเดอร์ @bluelvdr 
    เท่านั้น ไม่ได้รับการยืนยันจากทางโปนดักชั่นเฮาส์หรืออุลลิมแต่อย่างใดนะคะ หากมีข้อผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะคะ หรือหากใครมีข้อมูลเรื่องไหนเพิ่มเติมมาคุยกันได้นะคะ เราเองก็อยากแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหลาย ๆ คนเหมือนกันถึงได้เขียนบทความนี้ขึ้นมา  


    เอาล่ะ... มาเริ่มกันที่

       'Re-boot & WANNABE' 

     
    ลักษณะเด่นของสตอรี่ไลน์นี้คือ "กรอบ" ตั้งแต่เทรเลอร์จนถึงเอ็มวี Wannabe เราเห็นกรอบเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นกรอบกระจก กรอบรูป หรือแม้กระทั่งฉากด้านหลังที่เป็นกรอบเหมือนกัน

    "กรอบ" ถูกหยิบขึ้นมาย้ำ และซ้ำหลายรอบมาก ซึ่งถ้าเราลองปรับมุมมอง ลองมอง Golden Child เป็นภาพวาดสักชิ้น ภาพที่ถูกล้อมด้วยกรอบ กรอบที่เราเห็นก็มักจะเป็นกรอบสีทอง ฉากที่จีบอมยืนมองภาพสีทอง อาจตีความได้ว่า "เขากำลังยืนมองตัวเอง"


       I wannabe wannabe you


    "กระจก" และ "ภาพสะท้อน" ก็เป็นสิ่งที่ถูกหยิบมาเล่นในงานนี้ไม่ต่างกัน การที่เรายืนมองภาพตัวเองสะท้อนในกระจก แล้วมีคำว่า "ฉันต้องการเป็นเธอ" ขึ้นมา ทำให้เกิดตัวละครใหม่ขึ้นมา 

    จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อภาพสะท้อนในกระจกนั้น ไม่ใช่คนอื่น แต่เป็น "ตัวเราอีกคน"


    ในเทรเลอร์ Re-boot เล่าเรื่องนี้โดยอาศัยการแบ่งสี "ขาว-ดำ" สิ่งตรงกันข้ามที่รู้จักกันดี หรืออีกนัยหนึ่งนี่อาจไม่ใช่การแบ่งสี แต่เป็นการแบ่ง "แสงสว่างและความมืด"


    การใช้เงาสะท้อนของภาพนี้ ครั้งแรกคือเห็นมันคือ "ความสับสน" และตั้งคำถามว่า "แล้วสุดท้ายเราคือใครกันนะ ภาพไหนคือภาพจริงของเรากันแน่นะ"



       "ฝัน" หรือ "ตื่น" อยู่กันแน่ 


    การใช้ภาพใน MV ทำให้เราสับสน เกิดการสลับภาพไปมาระหว่าง "ความฝัน" กับ "ความจริง" โดยอาศัยการใช้อุณหภูมิสีกับภาพ ย้อมสีภาพให้เป็นโทนอุ่น-เย็นเพื่อสร้างความแตกต่าง   


    หรือที่จริงแล้วมันคือการฝันซ้อนฝันกันแน่นะ...?



       ดวงตากำลังบอกอะไรเรา?


    เพราะใช้การถ่ายแบบโคลสอัพ ที่เน้นไปที่ดวงตามาก ๆ ทำให้รู้สึกขยุบขยิบในใจ คิดว่าหรือนี่คือสารอะไรที่ผู้กำกับต้องการส่งมาให้เรา ในเทรเลอร์ และ MV ไม่ได้บอกอะไรเราไปมากกว่า "การครอบงำ การสิงสู่" ที่แสดงถึงความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ที่อาจเกิดจากการ ครอบครองร่างน้้นที่ต้องการได้สำเร็จแล้ว 


    ซึ่งเราขอยกการตีความดวงตาไปในพาร์ทของ Without You นะคะ

     

       ของเหลวสีทอง...หรือว่านี่คือการกลืนกินตัวตน



    ฉากนี้ก็ยังคงใช้การตัดมุมสะท้อน ของเหลวสีทองในมือของจีบอม มุมมองที่ 1 คือมุมมองของคนที่ยืนดูอยู่ มุมมองที่ 2 คือ มุมมองที่เหมือนเป็นตัวจีบอมเองที่ก้มลงมองมือของตัวเอง 


    2 ฉากนี้ ไม่ได้ต่อกันในวินาทีต่อวินาที แต่ถูกเชื่อมกันด้วยตำแหน่งของ Object ที่เดียวกัน มุมเดียวกัน ต่างกันแต่โฟกัส สาเหตุที่เราตีความหมายของเหลวสีทองว่าคือการถุกกลืนกินนั้น เพราะฉากถัดมาของยองแทค 


    ดวงตาที่เปลี่ยนสี การแสดงออกถึงการถูกครอบงำ 



       ทำไมต้องเป็นรูปปั้นเดวิด?


    รูปปั้นเดวิด เรียกได้ว่าเป็นรูปปั้นชายที่งดงามที่สุดในโลกอุดมคติ อีกหนึ่งผลงานของมิเกลันเจโล หรือที่หลายคนรู้จักกันในชื่อของ ไมเคิลแอนเจโล เดวิดปรากฏในคัมภีร์ไบเบิลในฐานะเด็กเลี้ยงแกะผู้กล้าหาญที่ต่อสู้กับยักษ์โกไลแอท 

    ซึ่งเหตุผลที่ใน MV ต้องมี เดวิดถึง 3 คน เราคิดไปเองว่ามันอาจจะอยู่ในรูปแบบของการทำคอมโพส องค์ประกอบภาพให้เกิดความสวยงามมากกว่าส่งสาร 


    นอกจากรูปปั้นเดวิด แล้วรูปปั้นคิวปิด สื่อความอะไรกันแน่? 

    ตอนแรกเราเองก็งงตึบเหมือนกันว่าคิวปิดที่อยู่ในเทรเลอร์ หมายถึงอะไรกันแน่ เราเคยคิดเชื่อมโยงกับตำนานสวนเอเดน ไปจนถึงมหากาพย์ Paradise Lost เพราะฉากเปิดฉากนี้ 


    แต่หลังจากตกกระกอนความคิดดูอีกทีแล้ว เรากลับไม่ได้มองว่านี่คือเอเดน แต่กลับโฟกัสที่ภาพสะท้อนมากกว่าการตีความสวน ทำให้เราค่อยๆ ตบความคิดเรื่องเงาสะท้อนออกมา 

    และหวังจากที่หาข้อมูลรูปปั้นคิวปิด สิ่งเดียวที่เราเชื่อมโยงได้คือ เทพคิวปิดข้องเกี่ยวกับไซคี นางผู้มีรูปโฉมงดงามเท่านั้น หรือท้ายที่สุดแล้ว คิวปิดอาจจะไม่มีความหมายใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นเพียงแค่พร็อพประกอบฉากที่ใส่มาให้เข้ากับกรอบกระจกเฉย ๆ ก็ได้ 




       Art Direction ที่สมกับเป็น Golden Child


    การย้อมสีภาพ จะสลับกันไปมาเสมอระหว่างโทนอุ่นและโทนเย็น จะเห็นได้ชัดใน Choreography ver. แม้ว่าโทนสีของภาพจะให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน แต่การใช้โทนแบบนี้ในงาน MV ก็มีให้เห็นบ่อยเหมือนกันในวงการ K-pop 

    การเชื่อมภาพ

    เราคิดว่าฉากนี้ เป็นฉากที่ใครหลาย ๆ คนชอบ เราเองก็เหมือนกัน คิดว่าเป็นฉากที่ต้องมีการวางแผนไว้ตั้งแต่ในขั้นเตรียมการ (Pre-Production) แล้ว ซึ่งทำให้คนตัดต่อ (Post-Production) ทำออกมาได้เป๊ะ! อย่างที่เราเห็น

    ใช้เทคนิคการเปลี่ยนขนาด Shot ภาพ จากจูชานที่ Long Shot (เต็มตัว) คัตเข้ากับ พี่วาย Medium Shot (ครึ่งตัว) แล้วต่อด้วยพี่วาย Long Shot  (เต็มตัว) และจบด้วยบงแจ Medium Close-Up เป็นเทคนิคการตัดต่อที่ใช้กันบ่อยเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของภาพ 


    แต่...เทคนิคนี้ เรามักจะเห็นในภาพยนตร์ซะเป็นส่วนมาก 

    พอภาพมีความต่อเนื่อง ก็มีความรู้ว่าทั้ง 3 คนที่เราเห็น เป็นคนเดียวกันเหมือนกันนะ


    การใช้สี ดำ-ทอง
     
    ใน MV นี้ จะเห็นว่าเน้นความเป็นสีทองอยู่มาก ในตอนแรกเรานึกถึงการใช้เปอร์เซ็นต์สี ที่ได้แก่ สีหลัก 60% สีรอง 30% และ สีไฮไลท์ 10% แต่เราขอยกทฤษฎีนี้เก็บไปก่อน เพราะ Wannabe เน้นการใช้แสงและเงามาเล่นกับสีทองมากกว่าการแบ่งสัดส่วนสี


    สีทองมีอยู่เกือบทุกฉาก แต่ไม่ได้เด่นทุกฉาก ขึ้นอยู่กับเริ่มต้น MV สีทองอาจจะเด่นเตะตาเรา แต่หลังจากนั้นสีทองจะเริ่มดรอปความสว่างลง ไม่ได้แย่งความเด่นจาก Object ที่เราต้องการโฟกัส จนสุดท้ายสีทองนั้นก็กลืนไปกับฉาก ต้องยอมรับว่าอาร์ตได ทำงานหนักกับโจทย์การเล่นสีทองในครั้งนี้มากจริงๆ ใช้สีทองได้หลากหลายสไตล์มากๆ


    สุดท้ายนี้ การตื่นจากฝันนั้น มันเป็นจุดจบของเรื่อง หรือเป็นเพียงจุดเริ่มต้น เราจะมาหาคำตอบกันใน Without You และ One (Lucid Dream) นะคะ 



    และสุดท้ายที่สุดท้ายจริงๆ "เก้าอี้" ตัวนี้ จะกลายเป็น Easter egg หรือ Totem ของมหากาพย์นี้ไหมนะ? หรือที่จริงแล้วเป็นแค่การรีไซเคิลพร๊อพเท่านั้น เราอะ...คิดมากไปเอง 

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in