เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
- Let's Review -Nicky Diewwanit
โพสต์นี้มีเนื้อหาที่อาจไม่เหมาะสมกับเยาวชน JOKER | กับเรื่องที่ตลกไม่ออกเหมือนเช่นตัวตลก
  • ปกติเราไม่ดูหนังค่าย DC 
    เราเป็นสาย MCU เเละเป็นเเฟนมาร์เวล

    ครั้งนี้เราขอกระโดดข้ามจักรวาลกับหนังภาคเเยกของ DC ที่เขาว่า "เนี้ยบที่สุด" เรื่องหนึ่งเลยทีเดียว 
    เเละบทรีวิวนี้จะพูดในสามประเด็นคือ 

    หนึ่ง...หนังเรื่องเป็นเเนวไหน รุนเเรงถึงกับให้ Rate 18+ กันเลยหรือ 
    สอง...บทบาทของ "ภาคิน ฟินิกซ์" ที่รับบทเป็น "Joker" ในหนังเรื่องนี้ 
    และสาม...ใครควรดู เเละใครไม่ควรดูหนังเรื่องนี้ 

    ก่อนอื่นเราอยากให้ทุกคนลืมจักรวาลซูเปอร์ฮีโร่ออกไปก่อนเลย เพราะ JOKER ไม่ใช่หนังซูเปอร์ฮีโร่ใดๆทั้งสิ้น มันคือหนังระวัติจริงๆจังๆของ JOKER เองเสียด้วยซ้ำ เราต้องอธิบายก่อนว่า Rate 18+ นั้น ไม่ได้เเค่เฉพาะเรื่องเพศ ลามกอนาจารเพียงอย่างเดียว ยังหมายรวมถึงความรุนเเรงต่างๆ (ตัวอย่างเช่นการทำร้ายร่างกายโดยใช้อาวุธ ฆ่ากันเลือดสาด) ยิ่งไปกว่านั้นเป็นเรื่องของสารเสพติด คำพูดหยาบคาย (เเฟนซีรีส์ Netflix ที่ดูภาคภาษาอังกฤษ หรือใครเป็นเเฟนหนัง Soundtrack เเบบเราจะเข้าใจสิ่งนี้ดี) 

    เพราะฉะนั้นหนังเรื่องนี้ไม่เหมาะกับเด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปี (ถ้าไปดูโดยลำพัง โดยมิได้มีผู้ปกครองกำกับดูเเลอย่างใกล้ชิด) อย่างเเท้จริงเลยค่ะ 


    “The worst part of having a mental illness is people expect you to behave as if you don't.” 
  • ขออนุญาตข้ามมาที่ข้อสามก่อน เพราะในระหว่างที่ร่างรีวิวนี้ส่วนตัวยังไม่ได้ไปดูหนังเรื่องนี้เลยค่ะ 
    เเต่อยากบอกทุกท่านว่าใครควรดู เเละใครไม่ควรดู 

    เอาอย่างไหนก่อนดี.... 

    คนที่ควรดูคือคนที่ 1.คนที่อายุมากกว่า 18 ปี 
    2. มีสภาพจิตใจที่สามารถรับต่อความรุนเเรงที่เกิดขึ้นในหนังได้ (เอาง่ายๆคือคุณไปดูเเล้วออกจากโรงมาไม่โทรหาโรงพยาบาลเพื่อนัดพบจิตเเพทย์นะคะ นี่ไม่กวนเต่จริงๆนะถ้าคุณสามารถรับความรุนเเรงระดับนั้นได้โดยไม่นัดพบจิตเเพทย์นี่ เราขอเเสดงความยินดีด้วยค่ะ) และ 3.ชื่นชอบหนังเเนวนี้เป็นส่วนตัวอยู่เเล้ว!

    เเละใครบ้างที่ "ไม่ควรไปดู" 
    1.คนที่อายุต่ำกว่า 18 ปีที่ไม่มีผู้ปกครองอยู่ใกล้ชิด (ทางเราเเนะนำโดเรมอน เดอะมูฟวี่เลยค่ะ) 
    2.ผู้ป่วยจิตเวช ในที่นี้รวมถึงบุคคลที่ไม่สามารถรับความรุนเเรงในหนังเรื่องนี้ได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในระดับรุนเเรง ที่มีความเสี่ยงจะฆ่าตัวตายสูง ยิ่งไม่ควรได้ดูเช่นกันค่ะ (ทางเราก็เเนะนำหนังเรื่องอื่นๆหรืออ่านรีวิวจากบล็อกเกอร์ท่านอื่นเพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนก็ได้ค่ะ ถ้าสนใจหนังเรื่องนี้จริงๆนะคะ และ 3.บุคคลที่มีความอ่อนไหว ปมในใจด้านความรุนเเรง (ไม่ใช่ปมเรื่องโดนล่วงละเมิดทางเพศนะคะ) อย่างเช่นเคยถูกทำร้ายร่างกายโดยคนในครอบครัว หรือถูกกลั่นแกล้งในระดับที่เป็นเเบบข้อสองค่ะ 
  • เรื่องย่อ อาร์เธอร์ เป็นชายคนหนึ่งที่ต้องเผชิญหน้ากับความโหดร้ายทารุณและสังคมที่เต็มไปด้วยการเหยียดหยาม เขาต้องเผชิญกับความอ้างว้างจนเปลี่ยนเขาจากที่เป็นคนอ่อนแอกลายเป็นคนโหดเหี้ยม เขารับจ้างแต่งชุดตัวตลกรายวัน จนกระทั่งคืนหนึ่งที่เขาพยายามจะแสดงตลกเดี่ยว แต่กลับพบว่าตัวเองต่างหากที่เป็นเรื่องตลก เขาไม่เป็นตัวของตัวเองเวลาที่มีผู้คนอยู่รายล้อม ซึ่งเห็นได้จากเสียงหัวเราะที่ควบคุมไม่ได้และดูไม่เหมาะสม ยิ่งเขาพยายามควบคุมเท่าไหร่มันก็ยิ่งแสดงออกมามากขึ้น จนทำให้เขาแสดงความเยาะเย้ยและความรุนแรงออกมา อาร์เธอร์ทุ่มเทเวลาไปกับการดูแลแม่ที่ไม่ค่อยแข็งแรง และไขว่คว้าตามหาคนที่เหมาะจะเป็นพ่อซึ่งเขาไม่เคยมีมาก่อน ตั้งแต่นักธุรกิจมหาเศรษฐี โธมัส เวย์น ไปจนถึงพิธีกรรายการทีวี เมอร์เรย์ แฟรงค์ลิน เขาพบว่าตัวเองอยู่ปลายทางระหว่างโลกแห่งความจริงกับความบ้าคลั่ง การตัดสินใจที่ผิดพลาดเพียงครั้งเดียวกลายเป็นชนวนเหตุที่นำไปสู่เหตุการณ์รุนแรงมากมาย

    ที่น่าตกใจคือผู้กำกับหนังเรื่องนี้อย่าง "Todd Philips" ที่กำกับหนังตลกสุดอย่าง The Hangover (สายหนังตลกจะรู้จักเรื่องนี้ เชื่อเราสิ!) เเละได้ "สก็อตต์ ซิลเวอร์ (Scott Silver) มือเขียนบทรางวัลออสการ์จากหนัง The Fighter (2010)" มาเขียนบทในเรื่องนี้ที่สุดกว่านั้นคือตัวเเสดงนำนี่เเหละค่ะ

     

    • “ปัญหาของความเหลื่อมล้ำในสังคม ถ้าหากเราไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ โลกจะมีปัญหาแน่นอนในวันข้างหน้า”


    • เป็นความสอดคล้องที่ไม่ใช่เพียงความบังเอิญ แต่เป็นความท้าทายใหม่ที่ทุกภาคส่วนควรให้ความสนใจ เป็นความสับสนวุ่นวาย คนจนจะจนลง เพราะ Capitalism โดยหลักการ เริ่มจาก Create Wealth และกระจาย Wealth ไปสู่ชนหมู่มาก แต่ปรากฏว่า Capitalism ในทางปฏิบัติจบลงที่การ Create Wealth แต่ไม่สามารถ Distribute Wealth ได้ทั่วถึงเพียงพอ ในบางประเทศเลยกลายเป็นชนวนที่สร้างความเปลี่ยนแปลงความวุ่นวายในสังคม อีกกระแสที่ชัดเจนคือ การผลักดันให้เกิด Global Sustainable คือ ความยั่งยืนของโลก ความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ มลพิษ ขยะ ซึ่งทำให้มองแล้วว่าโลกนั้นจะไม่ยั่งยืน ถ้าเราไม่ช่วยกัน ฉะนั้นกระแสของการทำให้โลกอยู่ได้ กำลังเป็นกระแสที่แรงในหมู่คนรุ่นใหม่ กลุ่มธุรกิจซึ่งแต่เดิมไม่ค่อยสนใจสิ่งเหล่านี้ ก็เริ่มตระหนักว่าในอนาคตข้างหน้า สิ่งนี้จะเป็นสิ่งหนึ่งที่ควรจะอยู่ใน DNA ของธุรกิจด้วยซ้ำ เพราะถ้าเราสามารถร่วมกันทำในสิ่งที่ดี ทำให้โลกดีได้ บริษัทเหล่านั้น จะสามารถเป็นที่ยอมรับของสังคม สร้าง Consumer loyalty สามารถสร้างหลายๆ อย่างที่ทำให้บริษัทดีขึ้นด้วย ฉะนั้น Growth strategy ในอนาคตข้างหน้ามันคงไม่ใช่ที่ว่าเราได้แล้ว คือ ต้องเสีย แต่คือสิ่งที่ทุกคนต้องมาร่วมกัน Sharing มีส่วนร่วมกันในการทำให้โลกดีขึ้น (ที่มา รีวิวของดร.ธีรศานต์ สหัสสพาศน์)

    หลังจากนี้คือความรู้สึกหลังดูจากเราล้วนๆ (ไม่มีสปอยล์)

    เรามองว่าหนังเรื่องนี้มี Key Message อยู่สามประเด็นคือ 
    1.เรื่องการถูกกระทำ ไม่ว่าจะเป็นการถูกใส่ร้ายป้ายสี ถูกทำร้ายร่างกายหรือเเม้กระทั่งเรื่องการกลั่นเเกล้งกัน 
    2.เรื่องการหลอกลวงกัน ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน พี่น้อง เพื่อนร่วมงาน เเม้กระทั่งคนในครอบครัว 
    และ 3.เรื่องการถูกหักหลัง อารมณ์ประมาณต่อหน้าอย่างหนึ่ง ลับหลังอีกอย่างเลยละ เราเเถมให้จากสิ่งที่ได้คือ 

    "การเข้าใจ ยอมรับความเเตกต่างของเเต่ละคนโดยไม่ทำให้สังคมเเตกเเยก ยิ่งไปกว่านั้นการเคารพซึ่งทัศนคติของผู้อื่น ความต่างของบุคคลซึ่งอาจจะเป็น DNA ของพวกเขานั้นย่อมเป็นเรื่องสำคัญไว้ด้วยเช่นกัน" 

    นี่เเหละชีวิต...ที่บางทีเราเองเก็อาจจะเป็น "JOKER" ก็ได้ ใครจะรู้ :)

    Rating A
    Now on Cinema 
    - RookieWriter - 
Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in