สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่านกลับมาพบกับเหมียวในซีรีส์สาวอยุธยาอีกครั้ง ในครั้งนี้มาพร้อมกับสารนิพนธ์ซึ่งเป็นงานชิ้นสำคัญก่อนจบการศึกษาจากสาขาวรรณกรรมสำหรับเด็กค่ะ
ก่อนอื่นเลยเหมียวอยากบอกเกี่ยวกับสิ่งที่อยากทำเป็นงานธีสิสเหมียวอยากทำสื่อผ้าค่ะ นี่เป็นสิ่งเดียวที่เหมียวรู้ว่าอยากทำแต่ส่วนอื่นเรือนลางมาก ๆ ทำให้การนำเสนอครั้งแรก นั่นคือ My Ideas for a Thesis ไม่ค่อยราบรื่นนัก หลังจากนำเสนอแล้วเหมียวก็เจอโจทย์สุดหิน คือจะทำสื่อผ้าอย่างไรให้น่าสนใจและไม่ซ้ำใคร ช่วงสองอาทิตย์ก่อนส่ง Proposal
หลังจากนั้นก็ประกาศอาจารย์ที่ปรึกษาโดยที่ปรึกษาของเหมียวคือ อาจารย์ ดร.ธันยา พิทยาพิทักษ์ หรือคุณครูกิ๊บเหมียวก็ได้คำแนะนำมากมาย ทำให้งานเป็นรูปเป็นร่างและมีความเป็นไปได้มากขึ้น
โดยการเข้าพบที่ปรึกษาครั้งที่1 วันที่ 31 มกราคม 2566 เหมียวเริ่มเล่าและอธิบายถึงสิ่งที่อยากทำและจุดมุ่งหมายของงาน ซึ่งคุณครูกิ๊บให้การบ้านเหมียว 4 ข้อ คือ ธีมหลักสเกลงานที่อยากทำสถานที่หรือกิจกรรมที่เด็กชอบทำเมื่อไปเที่ยวอยุธยาและท่าพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก
การเข้าพบที่ปรึกษาครั้งที่ 2
วันที่11 กุมภาพันธ์ 2566ถือเป็นโอกาสดีที่ได้กลับบ้านหลังจากอยู่กรุงเทพฯมาหนึ่งเดือนเต็มจึงชวนคุณแม่ผู้หลงใหลในประวัติศาสตร์อยุธยามาเที่ยวเก็บข้อมูลด้วยกันเสียเลยโดยที่แรกที่เราไปคือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยาพิพิธภัณฑ์นี้มีความสำคัญในด้านการขุดค้นพบวัตถุโบราณ ณ วัดราชบูรณะ
ต่อมาคือพิพิธภัณฑ์ล้านของเล่นบ้านครูเกริกซึ่งเป็นสถานที่ที่ได้รับความนิยมจากเด็ก ๆ และผู้ปกครอง มีของเล่นตั้งแต่สมัยโบราณอย่างตุ๊กตาดินเผาจนถึงของเล่นยุคปัจจุบัน
สถานที่สุดท้ายคือหมู่บ้านโปรตุเกส ซึ่งที่นี่เหมียวไม่ได้ถ่ายรูปมานะคะเพราะภายในมีการซ่อมแซม ปรับปรุง จึงไม่สะดวกถ่ายมาค่ะ แต่เหมียวจะบรรยายให้ฟังง่ายๆ ค่ะ ที่หมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านของชาวโปรตุเกสสมัยกรุงศรีอยุธยา ทำให้ภายในหมู่บ้านมีซากของโบสถ์และสุสานหลงเหลืออยู่ค่ะ นอกจากนี้ยังมีโครงกระดูกที่คาดว่าเป็นของชาวโปรตุเกสในสมัยนั้นอยู่มากมายถ้าหากไปเที่ยวตอนเย็น ๆ ก็แอบน่ากลัวอยู่เหมือนกันนะคะ
สถานที่ที่เหมียวเลือกไปในวันนั้นอาจไม่ครบถ้วน ไม่มากมาย แต่เหมียวต้องการไปดูรายละเอียดภายในที่หลงลืมไปแล้ว เพื่อนำมาปรับใช้กับงานได้ง่ายขึ้น
การเข้าพบที่ปรึกษาครั้งที่ 3
คุณครูกิ๊บถามว่าเหมียวอยากทำแบบไหนมากกว่ากันเหมียวชอบแบบเที่ยวกลางแจ้งมากกว่า คุณครูกิ๊บจึงแนะนำว่าให้เพิ่มพิพิธภัณฑ์และเอกลักษณ์ของความเป็นอยุธยาลงไปด้วยและไปลงรายละเอียดว่าจะให้ส่วนไหนเป็นสองมิติหรือสามมิติ
การเข้าพบที่ปรึกษาครั้งที่4 วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 เหมียวไปแก้แบบร่างและเพิ่มพิพิธภัณฑ์เจ้าสามพระยาวัดหลวงพ่อมงคลบพิตร ป้อมเพชร และ เจดีย์นักเลงเข้าไป นอกจากยังลงรายละเอียดในส่วนของสองมิติจะเป็นส่วนที่เด็กเล่นไม่ได้แต่ใส่เพื่อเพิ่มบรรยากาศ เช่น วัดต่าง ๆ ส่วนของสามมิติจะเป็นส่วนที่เด็กเล่นได้เช่น ช้าง โรตีสายไหม เป็นต้น
เมื่อคุณครูกิ๊บดูแบบร่างจึงให้คำแนะนำเกี่ยวกับทิศทางของสถานที่ต่างๆ เพราะอาจทำให้เด็ก ๆ เล่นยาก การบ้านในครั้งนี้เหมียวจึงต้องไปปรบทิศทางของสถานที่และควรเริ่มทำต้นแบบของปลาตะเพียน โดยแบ่งระดับความยากง่าย เด็ก ๆ จะได้เล่นได้
การเข้าพบที่ปรึกษาครั้งที่5 วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 นำแบบร่างใหม่ให้ครูกิ๊บดู
คุณครูกิ๊บบอกว่ายังขาดความสวยงาม คุณครูจึงให้คำแนะนำโดยการหารูปแบบการจัดวางแผนที่ในPinterest
ในที่สุดการนำเสนอความคืบหน้า 30%ก็มาถึงอย่างรวดเร็ว จากเกมบันไดงู เหมียวได้คิวนำเสนอวันแรก คือ วันอังคารที่7 กุมภาพันธ์ 2566 ลำดับที่ 8
หลังจากนำเสนอคุณครูท่านอื่นให้คำแนะนำมากมายทั้งเรื่องผ้าที่ใช้ บรรจุภัณฑ์ แบบร่าง รวมถึงวิธีการเล่นแต่โดยรวมแล้วก็ไม่มีปัญหาอะไรมากมายนัก
สิ่งที่เหมียวจะทำต่อไปก็คือแก้ไขแบบร่างให้เสร็จและเริ่มทำต้นแบบอื่นๆ อย่าง ช้าง โรตีสายไหมและยานพาหนะต่าง ๆ
3จาก 10 ของเหมียวก็จะประมาณนี้ค่ะ เหมียวจะพยายามแก้ไขและทำงานต่อไป แล้วเจอกันใหม่ช่วงเดือนเมษายนนะคะ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in