เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
จิตวิญญาณธรรมศาสตร์ By กษิดิศ อนันทนาธร บรรณาธิการ
  • รีวิวเว้ย (1197) รีวิวเว้ย × สถาบันสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    "การตั้งสถานศึกษาตามลักษณะของมหาวิทยาลัยย่อมเป็นเครื่องพิสูจ และเป็นปัจจัยในการแสดงความก้าวหน้าของประเทศ ประชาชนชาวสยามจะเจริญในอารยธรรมได้ก็อาศัยการศึกษาอันดีตั้งแต่ชั้นต่ำ ตลอดถึงการศึกษาชั้นสูง เพราะฉะนั้น ในการที่จะอำนวยความประสงค์และประโยชน์ของราษฎรในสมัยนี้ จึงต้องมีสถานศึกษาให้ครบบริบูรณ์ทุกชั้น มหาวิทยาลัยย่อมอุปมาประดุจบ่อน้ำบำบัดความกระหายของราษฎรผู้สมัครแสวงหาความรู้ อันเป็นสิทธิและโอกาสที่เขาควรมีควรได้รับตามหลักแห่งเสรีภาพในการศึกษา รัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎรเห็นความสำคัญในข้อนี้ จึงได้ตราพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้น" (น.58-59) ข้อความดังกล่าวเป็นหนึ่งในข้อความที่กลายมาเป็นคำขวัญ หรือคำสำคัญของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเฉพาะท่อนที่บอกว่า "มหาวิทยาลัยย่อมอุปมาประดุจบ่อน้ำบำบัดความกระหายของราษฎรผู้สมัครแสวงหาความรู้ อันเป็นสิทธิและโอกาสที่เขาควรมีควรได้"
    หนังสือ : จิตวิญญาณธรรมศาสตร์
    โดย : กษิดิศ อนันทนาธร บรรณาธิการ
    จำนวน : 80 หน้า

    "จิตวิญญาณธรรมศาสตร์" หนังสือเล่มเล็กที่ทำหน้าที่ในการรวบรวมเอาโอวาท ความคิด และข้อเขียนของบุคคลสำคัญของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่อาจจะเรียกได้ว่าข้อเขียนทั้ง 4 ชิ้น จากบุคคลทั้ง 4 ที่เป็นเสมือนบุคคลสำคัญของมหาวิทยาลัย เป็นชุดข้อเขียนที่สะท้อนภาพแทนบางประการของ "จิตวิญญาณธรรมศาสตร์"

    สำหรับโอวาท ข้อเขียน และข้อคิดทั้ง 4 ชิ้นที่ถูกหยิบยกมาใน "จิตวิญญาณธรรมศาสตร์" ประกอบด้วย โอวาทของอาจารย์ปรีดี พนมยงค์, จดหมายของอาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์, ข้อความคิดของอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ และความเห็นของบุญชู โรจนเสถียร โดยแบ่งได้ดังรายการต่อไปนี้

    โอวาทของผู้ประศาสน์การ ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์

    ธรรมศาสตร์มีเสรีภาพทุกตารางนิ้ว ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์

    ธรรมศาสตร์กับการเมือง ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์

    ธรรมศาสตร์คืออะไรและอะไรคือธรรมศาสตร์ นายบุญชู โรจนเสถียร

    เมื่ออ่าน "จิตวิญญาณธรรมศาสตร์" จบลง จะพบว่าสิ่งที่ถูกเรียกว่าจิตวิญญาณธรรมศาสตร์ อาจจะไม่ใช่เพียงคำขวัญ "มหาวิทยาลัยย่อมอุปมาประดุจบ่อน้ำบำบัดความกระหายของราษฎรผู้สมัครแสวงหาความรู้ อันเป็นสิทธิและโอกาสที่เขาควรมีควรได้" หรือข้อความที่ปรากฏอยู่ ณ ทางเข้ามหาวิทยาลัย ฝั่งท่าพระอาทิตย์ที่ว่า "ฉันรักธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน" หากแต่เมื่อพิจารณาในข้อเขียนทั้ง 4 ชิ้น จะพบว่าสิ่งที่เรียกว่า "จิตวิญญาณธรรมศาสตร์" นั้นมีแกนกลางของจิตวิญญาณอยู่ที่อะไรบางอย่าง อะไรบางอย่างที่ในทุกวันนี้ธรรมศาสตร์อาจจะต้องหันกลับมาตั้งคำถามกับตัวเองดูสักครั้งว่า "จิตวิญญาณธรรมศาสตร์" ในทุกวันนี้มันอยู่ที่ตรงไหนกัน (?)

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in