เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
MOB TYPE By ประชาธิปไทป์
  • รีวิวเว้ย (1152) "เราไม่อาจปฏิเสธความสัมพันธ์ของฟอนต์ หรือตัวอักษรที่ใช้ในการสื่อสารทางการเมืองได้ Katherine Haenschen นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยนอร์ธอีสเทิร์นของสหรัฐอเมริกา ผู้ซึ่งศึกษาเรื่องกราฟฟิกดีไซน์ในการรณรงค์ทางการเมือง ได้กล่าวว่ามันคือความจำเป็น ที่เราต้องเข้าใจว่าการใช้ฟอนต์ใด ๆ ทางการเมือง ล้วนมาจากความตั้งใจและความจงใจที่มีเป้าหมาย หรือกล่าวง่าย ๆ ว่าไม่ใช่แต่จะหยิบใช้ตัวอักษรใด ๆ ก็ได้ แต่การใช้ทุกครั้งเพื่อหวังผลทางการเมือง ล้วนมาจากการคัดเลือกฟอนต์ที่พิถีพิถันทั้งสิ้น นี่คือศาสตร์แห่ง typograpphy" (น. 4)

    "เหตุผลที่เราเริ่มมาทำศิลปะการเมืองก็คงเหมือนกับอีกหลายคนที่ออกมาเคลื่อนไหว เพราะความไม่พอใจสภาพบ้านเมือง ต้องการเห็นความเปลี่ยนแปลง บางคนเลือกลงสนามการเมือง บางคนเลือกไปแสดงออกด้วยการลงถนน บางคนเลือกทำเพลง หลายคนรอแสดงพลังในวันหย่อนบัตรเลือกตั้ง เราเลือกใช้ศิลปะและการออกแบบตัวอักษรซึ่งเป็นเครื่องมือที่เราถนัด และในขณะเดียวกันเราก็มีเป้าหมายส่วนตัวที่อยากนำเสนอความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ในการออกแบบตัวอักษรไทย รวมถึงการใช้ตัวอักษรไทยเพื่อสื่อสารประเด็นการเมือง …  เราเชื่อว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นอีกหนึ่งหลักฐานทางประวัติศาสตร์การออกแบบร่วมสมัย และหวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านทุกคน ไม่ว่าคุณจะทำงานเกี่ยวกับการออกแบบตัวอักษรหรือไม่ก็ตาม" (น. 78 - 79)
    หนังสือ : MOB TYPE
    โดย : ประชาธิปไทป์
    จำนวน : 80 หน้า

    "MOB TYPE" ในชื่อภาษาไทยว่า "บันทึกการต่อสู้ของประชาชนผ่านศิลปะตัวอักษร" ที่เนื้อหาของหนังสือบอกเล่าเรื่องของ 20 เรื่องราวของการออกแบบและต่อสู้ผ่าน typograpphy ในสนามการเมืองของไทยนับตั้งแต่ พ.ศ. 2563 - 2565 ที่เกิดปรากฏการณ์ของการต่อสู้เรียกร้องการปกครองในระบอบ "ประชาธิปไตย" ของกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่รูปแบบ วิธีการ ของการต่อสู้เรียกร้องเปลี่ยนแปลงไปขนบของการเมืองไทยในอดีตที่ผ่านมา ทั้งเรื่องของการผนวกเอาดนตรี ศิลปะ การแสดง เข้ามามีส่วนในกระบวนการเรียกร้องประชาธิปไตย อีกทั้งเป็นการเรียกร้องประชาธิปไตยบนฐานของ "ความหลากหลาย" ทั้งเรื่องของรายละเอียดของการเรียกร้อง ความหลากหลายของกิจกรรม กระทั่งความหลากหลายของวิธีคิดที่ถูกนำมาใช้ต่อสู้ในสนามการเมืองครั้งนี้

    "MOB TYPE" นับเป็นหนังสือที่บันทึกเรื่องราวของการต่อสู้อีกรูปแบบหนึ่งที่ปรากฏขึ้นมา ในสนามของการเรียกร้องประชาธิปไตยในครั้งนี้ โดยเนื้อหาของ "MOB TYPE" จะว่าด้วยเรื่องของการต่อสู้ทางการเมืองผ่านสิ่งที่เรียกว่า "typograpphy" (อักขรศิลป์) หรือที่หลายคนอาจจะเรียกกันแตกต่างออกไป บ้างเรียนการออกแบบอักษร บ้างเรียกโลโก้ บ้างเรียกฟอนต์ แต่ทั้งหมดทั้งมวลนั้นหนังสือ "MOB TYPE" กำลังจะบอกเล่าให้เราฟังว่า "อักษร" ก็เป็นหนึ่งในเครื่องมือในการต่อสู้ทางการเมืองที่น่าสนใจไม่แพ้เครื่องมือแบบอื่นเช่นกัน

    โดยเนื้อหาของ "MOB TYPE" ได้มีการบอกเล่าถึงพัฒนาการของการต่อสู้ทางการเมืองที่มีการหยิบเอาตัวอักษรและการออกแบบอักษรมาใช้ในขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองต่าง ๆ และ "MOB TYPE" ได้ฉายให้เราเห็นพัฒนาการของการเคลื่อนไหวทางการเมืองผ่านตัวอักษรในสนามการเมืองไทยในช่วงปี 63 - 65 โดยการบอกเล่าถึงที่มาที่ไปของอักษรแต่ละแบบ การนำไปใช้ รวมถึงการนำเอาตัวอักษรเหล่านั้นไปต่อยอดใช้งานในกิจการอื่น ๆ ที่เป็นผลสืบเนื่องจากการต่อสู้ทางการเมือง

    นอกจากนี้ "MOB TYPE" ยังย้ำเตือนเราในฐานะผู้อ่าน ว่าในนามของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ในการต่อสู้กับรัฐและอำนาจที่ทุรยศในสังคมแห่งนี้ สิ่งที่คุณลงมือทำในวันนี วันหนึ่งข้างหน้ามันจะนำพามาซึ่งสังคมในแบบที่เรามุ่งหวัง ต่อให้คุณเป็นเพียงคนตัวเล็กตัวน้อยถ้าเราร่วมมือกันทำ สักวันหนึ่งประชาธิปไตยในแบบที่เห็นคนทุกคนเท่ากัน จะเดินทางมาถึงอย่างแน่นอน





เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in