เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
กฎหมายว่าด้วยอาชญากรรมคอมพิวเตอร์และอาชญากรรมไซเบอร์ By สาวตรี สุขศรี
  • รีวิวเว้ย (1117) ใครสักคนเคยบอกเอาไว้ว่า "โลกออนไลน์เป็นแดนมิคสัญญี" ทึ่ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร ใหญ่คับฟ้าหรือว่าโด่งดังมีอำนาจในโลกกายภาพมากแค่ไหนเมื่ออยู่บนโลกมิคสัญญีอย่างโลกออนไลน์แล้วคุณก็พร้อมจะถูกทำให้กลายเป็น "เหยื่อย" ที่พร้อมจะโดนล่าเสมอ ๆ ตรงกับการให้นิยามคำว่ามิคสัญญี ของราชบัณฑิตยสภาเอาไว้ว่า "มิคสัญญี จึงมีความหมายตรง ๆ ว่า มีความรู้สึกว่าผู้อื่นเป็นสัตว์ที่ตนต้องล่า" และเราจะเห็นว่าในช่วงหลายปีมานี้ มีข่าวคร่าวเกี่ยวกับโลกออนไลน์ที่น่าตื่นตกใจให้เราได้พบเจออยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของดราม่าบนโลกออนไลน์ กระทั่งเรื่องของการทำร้ายและทำลายกันผ่านทางโลกออนไลน์ที่กระทบมาถึงโลกจริง และถ้าย้อนมองในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเราจะพบภาพยนตร์ที่ถ่ายทอดเรื่องราวในประเด็นนี้อยู่หลายเรื่อง อาทิ อวสานโลกสวย, The Social Network, Unfriended, NERVE และ Searching ภาพยนตร์เหล่านี้คือตัวอย่างของภาพยนตร์ในรอบหลายปีที่บอกเล่าเรื่องราวของโลกออนไลน์ได้อย่างน่าสนใจ
    หนังสือ : กฎหมายว่าด้วยอาชญากรรมคอมพิวเตอร์และอาชญากรรมไซเบอร์
    โดย : สาวตรี สุขศรี
    จำนวน : 598 หน้า

    ปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งหนึ่งที่ทำให้โลกออนไลน์ในหลายหนมันกลายเปฌนดินแดนมิคสัญญีนั้นก็เกิดขึ้นมาจากการขาดความยับยั้งชั่งใจของผู้ใช้งาน กระทั้งสร้างความระรานและหายนะให้กับคนอื่น เมื่อเป็นเช่นนั้นมาตรการทางกฎหมายจึงต้องกลายมาเป็นกลไกสำคัญในการจำกัดสิทธิและเสรีภากในการกระทำต่าง ๆ เหล่านั้น และหนังสือ "กฎหมายว่าด้วยอาชญากรรมคอมพิวเตอร์และอาชญากรรมไซเบอร์" ที่มีความหนาเกือบ 600 หน้ากระดาษ บนขนาดของหนังสือที่ใหญ่กว่าพ็อกเก็ตบุ๊ค จะนำพาผู้อ่านไปทำความเข้าใจกับ "กฎหมายว่าด้วยอาชญากรรมคอมพิวเตอร์และอาชญากรรมไซเบอร์" เท่าที่ในช่วงเวลาที่หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้น มีปรากฏกฎหมายและระเบียบต่าง ๆ ในเรื่องเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้ว

    โดยเนื้อหาของ "กฎหมายว่าด้วยอาชญากรรมคอมพิวเตอร์และอาชญากรรมไซเบอร์" แบ่งออกเป็น 3 ภาคหลัก 6 บทย่อย และหัวข้อย่อย ๆๆๆๆๆ อีดจำนวนมากในแต่ละบทเพื่อพาผู้อ่านไปทำความเข้าใจในเรื่องของ "กฎหมายว่าด้วยอาชญากรรมคอมพิวเตอร์และอาชญากรรมไซเบอร์" ทั้งมาตรการทางกฎหมาย นิยาม ความเข้าใจ ตัวอย่างของคดี และมาตรการอื่น ๆ ที่ถูกใช้ในการรับมือกับเรื่องของ "กฎหมายว่าด้วยอาชญากรรมคอมพิวเตอร์และอาชญากรรมไซเบอร์" โดยเนื้อหาของ "กฎหมายว่าด้วยอาชญากรรมคอมพิวเตอร์และอาชญากรรมไซเบอร์" แบ่งออกเป็นดังนี้

    [ภาค 1 : ความทั่วไปว่าด้วยคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต ความผิด และสิทธิเสรีภาพ]

    บทที่ 1 ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยี สารสนเทศ คอมพิวเตอร์ และเครือข่ายคอมพิวเตอร์

    บทที่ 2 การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมคอม พพิวเตอร์และไซเบอร์ : ปัญหา อุปสรรค และการสร้าง สมดุลกับสิทธิและเสรีภาพของประชาชน

    [ภาค 2 : อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ และอาชญากรรมไซเบอร์]

    บทที่ 3 ความทั่วไปว่าด้วยอาชญากรร คอมพิวเตอร์และอาชญากรรมไซเบอร์

    บทที่ 4 รูปแบบอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ และ อาชญากรรมไซเบอร์ กรณีศึกษาที่น่าสนใจ และ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

    [ภาค 3 : มาตรการอื่นเพื่อป้องกันและปราบปราม อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ และอาชญากรรม ไซเบอร์ นอกเหนือจากกฎหมายที่กำหนดความผิด]

    บทที่ 5 การกำาหนดหน้าที่ และความรับผิดแก่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต

    บทที่ 6 การควบคุม สอดส่อง ปิดกั้นเนื้อหาบนอินเทอร์เน็ตโดยรัฐ

    เมื่ออ่าน "กฎหมายว่าด้วยอาชญากรรมคอมพิวเตอร์และอาชญากรรมไซเบอร์" จบลง เราพบว่าในหลายครั้งปัญหาที่เกิดจากเรื่องของการกระทำในโลกออนไลน์สามารถระงับด้วยความมีสติของผู้กระทำ แต่แน่นอนว่าหากสติแก้ไขได้ทุกอย่างโศกนาฏกรรมทั้งหลายแหล่ที่เคยเกิดขึ้นในอดีตคงจะไม่เกิดมีขึ้นอย่างที่เคยเกิด เอาเข้าจริงการใช้อำนาจหรือมาตรการทางกฎหมาย โดยเฉพาะเมื่อกฎหมายก้าวเข้ามาในพื้นที่ของการกระทำบนโลกออนไลน์ การใช้กฎหมายหรือตีความมันอย่างล้นเกินและกดทับสิทธิเสรีภาพของประชาชนทั้งในโลกกายภาพและในโลกออนไลน์ก็เป็นสิ่งที่พึงระวัง โดยเฉพาะสันดานระยำของรัฐไทยด้วยแล้วการมีหรือการบังคับใช้ "กฎหมายว่าด้วยอาชญากรรมคอมพิวเตอร์และอาชญากรรมไซเบอร์" จึงต้องยิ่งระวังและมีการตรวจสอบการใช้อำนาจเหล่านั้นอย่างเข้มข้นไปพร้อม ๆ กัน

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in