เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ปัญหาการทำหน้าที่ของคณะกรรมาธิการฯ พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย
  • รีวิวเว้ย (1108) รีวิวเว้ย × สถาบันสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ × สํานักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า

    เวลาที่ดูข่าวหรืออ่านข่าวการเมืองที่มีเรื่องของกลไกรัฐสภาเข้ามาเกี่ยวข้องโดยเฉพาะเมื่อเนื้อหาในข่าวมีการพูดถึงเรื่องของ "การตั้งคณะกรรมาธิการ" มาพิจารณาอะไรสักอย่างหนึ่ง และคณะกรรมาธิการนี้เองดูจะผุดพรายขึ้นเหมือนดอกเห็ดในฤดูฝน ที่ถ้าให้ลองนั่งนับคณะกรรมาธิการในรัฐสภาด้วยนิ้วมือทั้ง 2 ข้างคาดว่าไม่น่าจะพบ และไม่แน่ใจว่าถ้ายืมนิ้วของเพื่อนข้าง ๆ มานับรวมด้วยก็อาจจะยังไม่พออยู่ดี แล้วทำไมรัฐสภาจึงต้องมีกลไกในการทำหน้าที่ของ "คณะกรรมาธิการ" และ "คณะกรรมาธิการคืออะไร" คำถามเหล่านี้เหมือนง่ายที่จะตั้งคำถามแต่ยากที่จะหาคำตอบ เมื่อเป็นเช่นนั้นก็ขอยกเอาเนื้อความในหนังสือในหน้าที่ 43 และ 44 มาใช้ตอบคำถามดังกล่าวดังนี้

    "คณะกรรมาธิการ คือ กลุ่มบุคคลที่แต่งตั้งขึ้นโดยรัฐสภา เพื่อช่วยเหลือกิจการงานต่าง ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายภายใต้ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของรัฐสภา ซึ่งตามหลักกฎหมายของรัฐสภา เรียกว่า กระบวนการของรัฐสภา ทั้งนี้กลุ่มบุคคลที่ถูกแต่งตั้งข้างต้นอาจมีสถานะเป็นสมาชิกรัฐสภาหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับประเภทของคณะกรรมาธิการ" ( น. 43)

    "รัฐสภาในฐานะองค์กรของผู้แทนประชาชน มีบทบาททำหน้าที่ของตนเองและถูกหมายมั่นปั้นมือให้ทำหน้าที่อื่น ๆ อีกมากมาย ทั้งนี้เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน อย่างไรก็ดีไม่อาจเป็นไปได้ที่จะให้ 'สภาใหญ่' ซึ่งมีข้อจำกัดด้านต่าง ๆ  อาทิ จำนวนสมาชิกก็ดี …  เข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหาของประชาชนได้สำเร็จลุล่วงอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยแนวคิดเช่นนี้ 'สภาเล็ก' อย่าง 'คณะกรรมาธิการ' จึงเป็นกลไกหลักสำคัญในการขับเคลื่อนเพื่อตอบโจทย์การทำหน้าที่ของรัฐสภาให้มีประสิทธิภาพสูงสุด" (น. 44)

    เมื่อพิจารณาจากข้อความที่ยกมาจะพบว่า "คณะกรรมาธิการ" มาสถานะเป็น "สภาเล็ก" ในการทำหน้าที่พิจารณาและค้นหาความจริง รวมทั้งทำหน้าที่เป็นกลไกขับเคลื่อนกระบวนการทำงานในการติดตามเรื่องหนึ่งเรื่องใดแทนรัฐสภา เพื่อรวบรวมข้อมูล แสวงหาคำตอบ สำหรับการทำหน้าที่เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน
    หนังสือ : ปัญหาการทำหน้าที่ของคณะกรรมาธิการในการแสวงหาข้อเท็จจริง ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560: ศึกษาเปรียบเทียบการทำหน้าที่ของคณะกรรมาธิการในประเทศสหรัฐอเมริกา
    โดย : พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย
    จำนวน : 221 หน้า

    สำหรับหนังสือ "ปัญหาการทำหน้าที่ของคณะกรรมาธิการในการแสวงหาข้อเท็จจริง ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560: ศึกษาเปรียบเทียบการทำหน้าที่ของคณะกรรมาธิการในประเทศสหรัฐอเมริกา" (ชื่อยาวเหลือเกินพ่อคุณเอ้ย) ว่าด้วยเรื่องของ "ปัญหาในการทำหน้าที่ของคณะกรรมาธิการของไทย" ภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ที่หนังสือ "ปัญหาการทำหน้าที่ของคณะกรรมาธิการในการแสวงหาข้อเท็จจริง ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560: ศึกษาเปรียบเทียบการทำหน้าที่ของคณะกรรมาธิการในประเทศสหรัฐอเมริกา" จะทำการศึกษาถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับคณะกรรมาธิการที่ทำหน้าที่ภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560

    นอกจากนั้นแล้ว "ปัญหาการทำหน้าที่ของคณะกรรมาธิการในการแสวงหาข้อเท็จจริง ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560: ศึกษาเปรียบเทียบการทำหน้าที่ของคณะกรรมาธิการในประเทศสหรัฐอเมริกา" ยังได้ทำการเปรียบเทียบการทำหน้าที่ระหว่าง "คณะกรรมาธิการของไทย" v.s. "คณะกรรมาธิการของสหรัฐอเมริกา" ในเรื่องของการทำหน้าที่และการเผชิญปัญหาที่เกิดจากรัฐธรรมนูญของประเทศ

    โดยเนื้อหาของ "ปัญหาการทำหน้าที่ของคณะกรรมาธิการในการแสวงหาข้อเท็จจริง ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560: ศึกษาเปรียบเทียบการทำหน้าที่ของคณะกรรมาธิการในประเทศสหรัฐอเมริกา" แบ่งออกเป็น 5 บทดังนี้

    บทที่ 1 บทนำ

    บทที่ 2 แนวคิดและหลักการเกี่ยวกับคณะกรรมาธิการของรัฐสภา

    บทที่ 3 ข้อความคิดว่าด้วยคณะกรรมาธิการและโครงสร้างอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการของรัฐสภาในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศไทย

    บทที่ 4 วิเคราะห์ปัญหาในการทำหน้าที่ของคณะกรรมาธิการในรัฐสภา

    บทที่ 5 บทสรุปการศึกษาวิจัยและข้อเสนอแนะ

    เมื่ออ่าน "ปัญหาการทำหน้าที่ของคณะกรรมาธิการในการแสวงหาข้อเท็จจริง ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560: ศึกษาเปรียบเทียบการทำหน้าที่ของคณะกรรมาธิการในประเทศสหรัฐอเมริกา" จบลง เราจะพบว่าแท้จริงแล้วกลไกของคณะกรรมาธิการเป็นอีกกลไกหนึ่งสำหรับการแก้ปัญหาที่น่าสนใจของรัฐสภา แต่ภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 นี้เองที่ทำให้สภาวะการทำหน้าที่ของกลไกคณะกรรมาธิการดูขาด ๆ เกิน ๆ อีกทั้งการมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อปี พ.ศ. 2554 มาผนึกกำลังกันด้วยแล้วกลไกสภาเล็กที่ช่วยขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาก็ดูจะมีปัญหาในตัวเองอยู่ในที แต่ในส่วนท้ายของ "ปัญหาการทำหน้าที่ของคณะกรรมาธิการในการแสวงหาข้อเท็จจริง ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560: ศึกษาเปรียบเทียบการทำหน้าที่ของคณะกรรมาธิการในประเทศสหรัฐอเมริกา" ผู้เขียนได้เสนอข้อเสนอแนะที่น่าสนใจ และหากแก้ไขตามที่ผู้เขียนนำเสนอได้ไม่แน่ว่ากลไกของคณะกรรมาธิการอาจจะผลิกโฉมการเมืองไทยได้ไม่แพ้สภาใหญ่เลยทีเดียว

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in