เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ขีดความสามารถของการท่องเที่ยวไทยฯ By มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด
  • รีวิวเว้ย (1090) รีวิวเว้ย × สถาบันสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    ถ้าหากตั้งคำถามว่าวิกฤติใดในโลกยุคปัจจุบันที่ส่งผลกระทบต่อโลกทั้งใบได้แบบที่ใคร ๆ ก็ไม่คาดคิด (?) วิกฤติโรคระบาด น่าจะเป็นหนึ่งในคำตอบที่ปรากฎขึ้นในหารตอบคำถามของหลายคน ทั้งที่หากย้อนกลับไปก่อนหน้านี้สัก 4-5 ปี คงไม่มีใครเชื่อว่าโลกทั้งใบจะต้องเผชิญปัญหาที่ทำให้กิจกรรมต่าง ๆ หยุดชะงักลงพร้อมกันทั้งโลก ประเทศบางประเทศได้รับผลต่อเนื่องยาวนานจากวิกฤติดังกล่าว คนหลาย ๆ คนได้รับผลกระทบจากการหยุดลงของระบบเศรษฐกิจ ครอบครัวบางครอบครัวสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักให้กับโรคระบาดในครั้งนี้ แน่นอนว่าการระบาดของโควิด-19 ที่พบเจอรายงานอยากเป็นทางการในช่วงครึ่งหลังของปี ค.ศ. 2019 กระทั่งทุกวันนี้ (2022) โรคระบาดดังกล่าวก็ยังคงเป็นตัวเปลี่ยนเกมที่สำคัญและเป็นรากฐานของหลาย ๆ วิกฤติที่เกิดขึ้น อย่างในไทยเองผลกระทบที่ตามมาจากการระบาดคือการขาดรายได้จาก "การท่องเที่ยว" ที่ทั่วทั้งโลกหยุดเดินทางภายใต้สภาวะของการระบาดอย่างรุนแรงของโควิด-19 และเมื่อเวลาผ่านมาระยะหนึ่ง การปรับตัวเพื่อเตรียมรับมือกับโลกในวันที่ยังมีโรคระบาดแต่วิถีชีวิตก็ต้องดำเนินต่อไป ส่งผลให้ต้องเกิดการศึกษา ทบทวน สร้างมาตรการและวางแนวนโยบายเพื่อรับมือและขับเคลื่อนโลกภายหลังจากการระบาด
    หนังสือ : การวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของการท่องเที่ยวไทยหลังโควิด 19
    โดย : มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด และคณะ
    จำนวน : 335 หน้า

    "การวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของการท่องเที่ยวไทยหลังโควิด 19" เป็นหนังสือที่ปรับมาจากงานวิจัยในโครงการวิจัย "โครงการยุทธศาสตร์การวิจัยและพัฒนาสำหรับการท่องเที่ยวไทยหลังโควิด-19" เพื่อศึกษาถึงความเปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับการท่องเที่วยในช่วงของการระบาดของโควิด-19 และคาดคะเนการท่องเที่ยวหลังการระบาดเพื่อวางแผนในการดำเนินงานและสร้างยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวของไทย

    การศึกษาใน "การวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของการท่องเที่ยวไทยหลังโควิด 19" แบ่งออกเป็น 3 ตอนด้วยกัน

    [ตอนที่หนึ่ง] วิเคราะห์สถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวไทยจนถึงก่อนเกิดโรคระบาดโควิด-19 คือในปี พ.ศ. 2562 เพื่อระบุสถานภาพ ศักยภาพของไทยและตำแหน่งแห่งที่ของการท่องเที่ยวไทยในปัจจุบัน

    บทที่ 1 จะเสนอสถานภาพของไทยในบริบทการท่องเที่ยวโลกและผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 และตามด้วยกรอบความคิดของการศึกษา คำถามในการวิจัยและกรอบการคาดการณ์ในอนาคต

    บทที่ 2 อธิบายวิวัฒนาการทางด้านอุปสงค์และอุปทานของการท่องเที่ยวโลก ซึ่งพบว่าวิวัฒนาการด้านท่องเที่ยวของประเทศพัฒนาแล้วเป็น supply pull คือแบ่งปันโครงสร้างพื้นฐานส่วนเกินที่ลงทุนไว้ให้นักท่องเที่ยว ส่วนของไทยเป็น Demand push คือ ความต้องการของนักท่องเที่ยวตามหน้าไปก่อน ส่วนโครงการพื้นฐานตามมาทีหลัง ตามด้วยการศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวไทยในระดับจังหวัด พบว่า จังหวัดท่องเที่ยวที่ใช้ทรัพยากรเต็มที่อย่างเต็มศักยภาพมีถึง 15 จังหวัด

    บทที่ 3 เป็นการวิเคราะห์ตลาดของการท่องเที่ยวไทยทั้งในระดับของภูมิภาคคืออาเซียนและสำหรับคู่ค้าใหญ่ เช่น จีน รัสเซีย อินเดีย ซึ่งพบว่าไทยควรให้ความสำคัญกับตลาดอาเซียนมากขึ้น และตลาดรายได้สูงในฮ่องกงและสิงคโปร์

    บทที่ 4 เป็นการศึกษาภาพลักษณ์ของไทยในตลาดใหญ่คือตลาดจีนโดยใช้วิธีของการทำเหมืองข้อมูลจากแพลตฟอร์มสารสนเทศออนไลน์ด้านการท่องเที่ยวของจีน และการทบทวนแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 14 ของจีน เพื่อให้เข้าใจแนวโน้มใหม่ที่จะเกิดขึ้นหลังโควิด-19

    [ตอนที่สอง] เป็นการตอบคำถามว่า การท่องเที่ยวไทยหลังโควิด-19 ควรจะมุ่งไปสู่เป้าหมายใด โดย

    บทที่ 5 เป็นการนำเสนอประสบการณ์ของนักท่องเที่ยวและข้อกังวลและจุด (Pain points) ของนักท่องเที่ยวซึ่งแตกต่างจากของผู้ให้บริการ

    บทที่ 6 นำเสนอการทบทวนประสบการณ์ของประเทศต่าง ๆ เมื่อเกิดปัญหาโควิด-19 ในปีที่ผ่านมา และการคาดการณ์การฟื้นตัวของอุตสาหกรรมโดยองค์กรวิจัยต่างๆ โดยคาดว่าเศรษฐกิจท่องเที่ยวโลกจะฟื้นตัวเต็มที่ในปี พ.ศ. 2567

    บทที่ 7 เป็นการเตรียมการเพื่อทำการคาดการณ์อนาคตด้วยการทบทวนการศึกษาเชิงระบบโดยเฉพาะอย่างยิ่งนิเวศน์ท่องเที่ยวเชิงระบบ

    บทที่ 8 เป็นการเสนอการกวาดสัญญาณ แนวโน้มของการท่องเที่ยวโลกเพื่อสร้างฉากทัศน์และการคาดการณ์อนาคตฐานหรืออนาคตภายใต้สถานการณ์โควิด-19

    บทที่ 9 เสนอฉากทัศน์อนาคตการท่องเที่ยวไทย คือภาพอนาคตอันเป็นไปได้ในระยะยาว

    บทที่ 10 เสนอยุทธศาสตร์ระยะเร่งด่วนและระยะสั้น ซึ่งมี 2 ยุทธศาสตร์ย่อยคือ ยุทธศาสตร์การเปิดประเทศเพื่อการท่องเที่ยวอย่างระมัดระวังให้เร็วที่สุด และยุทธศาสตร์การฟื้นฟูเศรษฐกิจท่องเที่ยว ส่วนยุทธศาสตร์ระยะกลางและระยะยาวมี 2 ยุทธศาสตร์ย่อย ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจท่องเที่ยวไทย เป็นกลยุทธ์ที่ปรับโครงสร้างยกระดับมาตรฐานการท่องเที่ยวไทยให้สู่ระดับสากลให้สมกับเป็นประเทศแนวหน้าของโลกด้านการท่องเที่ยวมี 6 แนวทาง และ ยุทธ์ศาสตร์ที่ 2 กระจายต้นทุนและผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวให้เป็นธรรมมากขึ้น เป็นกลยุทธ์ที่ขยายรากฐานทางเศรษฐกิจให้เศรษฐกิจท่องเที่ยวมีความหลากหลายด้านคุณค่ามีเครือข่ายห่วงโซ่การผลิตที่เข้มแข็ง และมีการกระจายรายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรมมี 4 แนวทาง

    [ตอนที่สาม] เป็นการเสนอกลยุทธ์การวิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงระบบ โดยเริ่มจากบทที่ 11 ที่ทบทวนและสังเคราะห์วรรณกรรมวิจัยงานวิจัยเกี่ยวกับการท่องเที่ยวไทยที่ผ่านมาระหว่างปี พ.ศ. 2555-2563 โดยใช้วิธีทำเหมืองข้อมูลและบรรณามิติซึ่งระบุจุดอ่อนจุดแข็งของงานวิจัย ต่อด้วยบทที่  12 ซึ่งเป็นบทสุดท้ายเป็นการออกแบบแผนงานวิจัยท่องเที่ยวเชิงระบบที่ล้อตามยุทธศาสตร์ชาติในบทที่ 10 สำหรับข้อเสนอแนวทางการวิจัยและพัฒนาได้เสนอให้มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ ให้มีงานวิจัยขนาดใหญ่และตอบโจทย์สำคัญมากขึ้น และมีการบูรณาการข้ามศาสตร์

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in