เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
เราทุกคนควรเป็นเฟมินิสต์ By อาไดซี่ แปล แมท ช่างสุพรรณ
  • รีวิวเว้ย (1054) "เฟมินิสต์ที่ยอดเยี่ยมที่สุดที่ฉันรู้จักคือขี้น น้องชายของฉันเอง ชายหนุ่มผู้ใจดี ดูดี และมีความเป็นผู้ชายอย่างมาก นิยามคำว่าเฟมินิสต์ของฉันคือชายหรือหญิงคนใดก็ตามที่พูดว่าใช่ ในปัจจุบันนี้เรามีปัญหาเรื่องเพศสภาพ แล้วเราควรแก้ไขมัน เราต้องทำให้ดีขึ้นกว่าเดิม เราทุกคน ไม่ว่าชายหรือหญิงต้องทำให้ดีขึ้นกว่าเดิม" (น.48)

    เฟมินิสต์ คืออะไร (?)
    พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับอ็อกซ์ฟอร์ด ได้นิยามคำว่า "เฟมินิสต์" (feminist) ว่าเป็น "ผู้สนับสนุนสิทธิและความเสมอภาคของสตรี" ... รีเบ็คก้า เวสต์ นักเขียนชื่อดังชาวอังกฤษผู้วิพากษ์วิจารณ์ความไม่เท่าเทียมระหว่างเพศอย่างตรงไปตรงมา เคยเขียนเอาไว้ในปี 1913 ว่า "ดิฉันเองไม่เคยระบุได้อย่างชัดเจนว่า แนวคิดสตรีนิยม คืออะไร ดิฉันรู้เพียงว่าผู้คนเรียกดิฉันว่า "เฟมินิสต์" เวลาที่ดิฉันแสดงทัศนะที่แบ่งแยกความแตกต่างระหว่างตัวดิฉันกับพรมเช็ดเท้า" (https://www.bbc.com/thai/international-53153218)
    หนังสือ : เราทุกคนควรเป็นเฟมินิสต์ We Should All be Feminists
    โดย : ชิมานานดา เอ็นโกซี่ อาไดซี่ แปล แมท ช่างสุพรรณ
    จำนวน : 61 หน้า

    หนังสือ "เราทุกคนควรเป็นเฟมินิสต์" (We Should All be Feminists) เป็นหนังสือเล่มเล็ก ๆ ที่แปลมาจากบทเท็ดทอล์ก ของผู้เขียนที่เป็นนักเขียนหญิงผิวดำชาวแอฟริกา ที่มีชื่อเสียงในโลกตะวันตก ที่พูดถึงเรื่องบทบาทของผู้หญิง ในสังคมแอฟริกัน โดยเฉพาะในประเทศไนจีเรีย ที่บทบาทของผู้หญิงในสังคมแห่งนั้นเป็นได้เพียงแม่และเมีย ซึ่งในปัจจุบันอาจมีบ้างที่ผู้หญิงหลายคนขยับออกมานอกพื้นที่ของการเป็นแม่และเมียและเข้าสู่พื้นที่ของการทำงาน หากแต่กรอบคิดและวิธีการมองบทบาทของผู้หญิงในสังคมดังกล่าว ยังคงถูกจำกัดอยู่ในฐานะของความเป็นแม่และเมียแต่เพียงเท่านั้น ซึ่งปัญหานี้ไม่ได้เป็นปัญหาแค่ในเฉพาะพื้นที่ของไนจีเรีย หากแต่เมื่อเราพิจารณามันให้ดีเราจะพบว่าปัญหาของการมองผู้หญิง ในฐานะของความเป็นแม่และเมียยังแพร่หลายอยู่ในสังคมทั่วโลก แม้กระทั่งในวัฒนธรรมที่มีการพัฒนาหรือถูกยอมรับว่ามีการพัฒนาแล้วอย่างวัฒนธรรมตะวันตกหรือวัฒนธรรมของคนผิวขาว วัฒนธรรมกลุ่มดังกล่าวเองก็ยังทำหน้าที่ในการผลิตซ้ำ ความเป็นแม่และเมียของผู้หญิง ที่มีบทบาทและสถานะอยู่เพียงคนทำงานบ้าน หากเปรียบเทียบจากctเราจะพบว่าปริมาณผู้หญิงที่ทำงานในตำแหน่งเท่าผู้ชาย ในปัจจุบันไม่ได้มีสูงมากมายนัก และยิ่งย้อนกลับไปในอดีต แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้หญิงจะก้าวขึ้นมาอยู่ในบทบาทของผู้นำทางการเมืองผู้นำประเทศหรือกระทั่งผู้นำทางธุรกิจ เพราะบทบาทของผู้หญิงถูกจำกัดและถูกเก็บซ่อนเอาไว้ ในบ้าน ในครัว ในฐานะของแม่และมีแต่เพียงเท่านั้น

    "เราทุกคนควรเป็นเฟมินิสต์" ได้สะท้อนสถานภาพและบทบาทของผู้หญิงในไนจีเรีย และตัวผู้เขียนเองได้ตั้งคำถามถึงบทบาทดังกล่าว ว่าในที่สุดแล้วมันควรมีความเปลี่ยนแปลงหรือว่ามันมีความผิดแปลกประหลาด ในลักษณะใดบ้าง เพราะนอกจากการเป็นผู้หญิงแล้วในสังคมไนจีเรียการที่เป็นคนผิวดำอยู่ในประเทศด้อยพัฒนา โดยเฉพาะในพื้นที่ของแถบแอฟริกา ทำให้ปัญหาดังกล่าวมันถูกกดทับด้วยปัญหาอื่น ๆ อีกมาก และปัญหาเหล่านี้ได้กลายเป็นตัวสร้างความแตกต่างและแตกแยก ให้กับบทบาทของผู้หญิงในสังคมไนจีเรียเป็นอย่างสูง หนังสือเล่มนี้พยายามพาเราไปมอง ในเรื่องของบทบาทของผู้หญิงไนจีเรียผ่านชีวิตของผู้เขียน ผ่านวิถีการใช้ชีวิต การทำงาน การเข้าสังคม รวมไปถึงวัฒนธรรมในครอบครัว ที่ตั้งคำถามถึงสิ่งที่เรียกว่า ความเหมาะสมของบทบาทของผู้หญิงในสังคม กระทั่งตัวผู้เขียนเองถูกขนานนามว่าเป็นเฟมินิสต์ และคำว่าเฟมินิสต์นี่เอง ที่กลายเป็นอีกหนึ่งเครื่องจำกัด ความเป็นคนของตัวผู้เขียน

    เนื้อหาใน "เราทุกคนควรเป็นเฟมินิสต์" เเบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกคือเนื้อหาที่ผู้เขียนได้พูดในรายการเท็ดทอล์ก และส่วนที่สอง เป็นส่วนของบทความ ที่มีการขยายต่อจากบทพูดของผู้เขียนโดยในส่วนที่สองนี่ ได้มีการหยิบเอามาขยายบริบทของสังคมไทยในปัจจุบัน โดยเฉพาะในเรื่องของการเรียกร้องความเท่าเทียมกัน ความเป็นประชาธิปไตย และความเป็นคนของทุกคนในสังคม ทำให้บทความในส่วนที่สองนี้ว่าด้วยเรื่องของ "ทำไมเราทุกคนต้องอ่านไดอาซีอีกครั้ง ในยุคสีดาลุยไฟ"

    แน่นอนว่าในที่สุดเราอาจจะแสวงหาคำตอบว่าเฟมินิสต์คืออะไร แต่ที่สำคัญไปกว่านั้นแทนที่เราจะหาคำตอบว่ามันคืออะไร เราทุกคน ควรที่จะเปลี่ยนแปลงสังคม เพื่อให้คนทุกคนไม่ว่าจะเป็น คนกลุ่มไหนก็ตามแต่ ล้วนถูกนับ ให้คุณค่า และให้ความสำคัญ ในฐานะมนุษย์อย่างเท่าเทียมเสมอหน้า

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in