รีวิวเว้ย (207) หลายครั้งหลายหน เรามักจะคิดว่า "การเมือง" มักทีจุดจบที่ตายตัวของตัวเองในแต่ละเหตุการณ์เสมอ เช่น การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เรามักคิดว่ามันจบลง ภายหลังการเปลี่ยนจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็น ระบอบประชาธิประไตยอันมีพระมหากษัตรย์ทรงเป็นประมุข ในความเป็นจริงแล้วมันยังไม่จบลงเพียงแค่นั้น ตลอดระยะเวลากว่า 85 ปีภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ยังคงมีเหตุการณ์เกี่ยวเนื่องนาวนาน นับตั้งแต่วันนั้น จนถึงสันนี้ เปลียบได้กับ "จุดไม่จบ" ของการเมืองไทย
หนังสือ : จุด (ไม่) จบ: ช่วงฉากการเมืองไทย 48- 59
โดย : ฐิติกร สังข์แก้ว ,สราวุธ ทับทอง ,อรรถสิทธิ์ พานแก้ว
จำนวน : 578 หน้า
ราคา : 390 บาท
สำหรับเหตุการณ์ทางการเมืองในประเทศไทย หลายครั้งหลายหน เราคิดว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ มันมีจุดจบภายในตัวของมันเอง แต่แท้จริงแล้วจุดที่เราเคยเชื่อว่ามันเป็นจุดจบของเหตุการณ์ กลับกลานเป็น จุดเล็ก ๆ ของเชื้อไฟที่รอวันโหมให้จากจุดเล็กกลายเป็นกองไฟที่ลุกโชนขึ้นอีดครั้ง
อย่างการรัฐประหาร 2549 ที่หลายคนเคยเชื่อว่านั่นคือ "จุดจบ" ของระบอบทักษิณ หลายฝ่ายที่กระทำการรัฐประหารต่างดีใจยิ่งที่สามารถทำลายระบอบทักษิณลงได้ ไม่ว่าจะด้วยการใช้กำลัง หรือจะด้วยการใช้รัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือในการตัดจบระบอบดังกล่าวเสีย แต่แล้วความจริงก็ปรากฎเมื่อจุดที่หลายคนเคยเชื่อส่าเป็น "จุดจบ" ของระบอบดังกล่าว กลับกลายเป็นจุดเริ่มต้นของระบอบเก่าในรูปแบบใหม่ ส่งผลให้การเมืองไทยนับแต่วันนั้น จนถึงวันนี้เรายังต้องพบกับการต่อจุดออกไปอย่างไม่มีสิ้นสุด และเป็นไปได้ว่าหลังจากการัฐประหาร 2557 เราก็ยังจะต้องพบกับการต่อจุดการเมืองไทยออกไปอย่างเนิ่นน่าน อันเป็นผลทาจากการที่หลายฝ่ายในเกมการเมือง ไม่รู้จักการเรียนรู้ว่า "จุดไม่จบ" เหล่านี้ มีเหตุผลกลแฝงอย่างไรถึงได้ต่อจุดออกไปได้ตลอดกาล
หนังสือ "จุด (ไม่) จบ: ช่วงฉากการเมืองไทย 48- 59" ทำหน้าที่เป็นคู่มือและเครื่องมือ ในการบอกเล่าเรื่องราวของ "จุด" ต่าง ๆ มนเหตุการณ์การเมืองของไทยนับตั้งแต่ปี 48 จนถึง 59 ว่าบรรดาจุดต่าง ๆ เหล่านั้นมีอะไรบ้าง และเราจะเรียนรู้เรื่องราวของจุดเหล่านั้นไปเพื่ออะไร ด้วยความที่หนังสือมุ่งเน้นเรื่องของการอธิบายคำสำคัญที่เหี่ยวจ้องกับกรรเมืองไทย (คำการเมือง) ที่แสดงให้เห็นถึงพลวัตการเมืองไทย ผ่านการอธิบายคำต่าง ๆ ให้สามารถทำความเข้าใจได้โดยง่าย
หากเราจะเริ่มต้นการเรียนรู้เรื่องราวของการเมืองไทย ถ้าในมุมของประวัติศาสตร์คงต้องนึกถึง "ปฏิวัติ 2475" ของ อาจารย์นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ หากจะพูดถึงเรื่องเสื้อเหลือง-แดง คงต้องนึกถึง "การเมืองของเสื้อหลากสี" ของอาจารย์เกษียร เตชะพีระ แต่ถ้าเราจะเรียนรู้เรื่องของพลวัตการเมืองไทยแบบเข้าใจง่ายและครอบคลุม เราควต้องนึกถึง "จุด (ไม่) จบ: ช่วงฉากการเมืองไทย 48- 59" ของ ฐิติกร สังข์แก้ว ,สราวุธ ทับทอง ,อรรถสิทธิ์ พานแก้ว ที่บอกให้เรารู้ว่า "จุดมันยังไม่จบ และมันจะมีจุดต่อไปเสมอ" หากไม่เรียนรู้มัน
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in