Makers
Store
Log in
You don't have any notification yet.
See All
My Wallet
null
Library
Settings
Logout
เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ
นโยบายความเป็นส่วนตัว
เพื่อใช้บริการเว็บไซต์
ยอมรับ
ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
อุปถัมภ์ค้ำใคร By เวียงรัฐ เนติโพธิ์
รีวิวเว้ย (1021) ใครสักคนเคยบอกเอาไว้ว่า "สังคมไทยอย่างไรก็คงไม่หลุดพ้นระบอบอุปถัมภ์ไปได้ในเร็ววัน เพราะตราบใดที่สังคมนี้ยังเชื่อในเรื่องของบุญคุณต้องทดแทน มันก็จะมีความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์สืบต่อกันไปอย่างไม่จบสิ้น" นี่ยังไม่นับรวมคติความเชื่อที่ผลิตซ้ำเรื่องของบาป-บุญ ที่นับเป็นหนึ่งในกลไกชี้นำสังคมแห่งนี้มาช้านาน โดยหลายเรื่องและหลายแนวคิดที่หยั่งรากลงอย่างแน่นเหนียวในสังคมนี้ เราจะเห็นมันได้จาก คำสอน คำนวน นิทาน ตำนาน และเรื่องเล่าที่พวกมันจะถูกหยิบมาใช้เป็นพล็อตเรื่งหลังในการขับเคลื่อนสังคม ด้วยเหตุนี้ปัญหาทางการเมืองหลาย ๆ เรื่องในประเทศไทยเลยต้องอาศัยเวลาหรือไม่ก็ความท้าทายใหญ่ที่จะช่วยสันคลอนรากฐานของความเชื่อเดิมเหล่ายั้นในเกิดการสั่นคลอนและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในภายหน้า เรื่องของระบบอุปถัมภ์ดูจะเป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่จำเป็นจะต้องถูกสันคลอนและตั้งคำถาม เพราะนับตั้งแต่การรัฐประหาร พ.ศ. 2557 เป็นต้นมา ถ้าเราไม่หลับตาใช้ชีวิตเราจะสามารถลากเส้นความสัมพันธ์ของหลาย ๆ ตัวแสดงทางการเมืองได้อย่างชัดเจน อย่าง สว. ที่มาจากการแต่งตั้ง 250 คน (ใน 5 ปีแรก) หรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ถ้าลองนับ ๆ ดูก็น่าจะสัก 7 คนจาก 9 คน ที่ถูกแต่งตั้งขึ้นมาในยุคของ คสช. แล้วจะมีใครกล้าปฏิเสธบ้างว่าช่วงเวลาของการอยู่ในอำนาจของรัฐบาล คสช. ระบอบ "อุปถัมภ์" ไม่เติบโตขึ้นเลย จริงดิ (?)
หนังสือ : อุปถัมภ์ค้ำใคร: การเลือกตั้งไทยกับประชาธิปไตยก้าวถอยหลัง
โดย : เวียงรัฐ เนติโพธิ์
จำนวน : 208 หน้า
หนังสือ "
อุปถัมภ์ค้ำใคร: การเลือกตั้งไทยกับประชาธิปไตยก้าวถอยหลัง
" เป็นหนังสือที่ว่าด้วยเรื่องของ "ระบอบอุปถัมภ์" ที่สำหรับผู้เรียนรัฐศาสตร์แล้ว เรื่องของระบอบอุปถัมภ์เป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งที่ต้องเรียนหรือศึกษามัน เพราะตลอดช่วงระยะเวลาประวัติศาสตร์ของสังคมไทยนับตั้งแต่ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองกระทั่งถึงปัจจุบัน ระบอบดังกล่าวดูจะเป็นแกนหลักสำคัญอันหนึ่งที่ใช้ในการขับเคลื่อนสังคมไทยในเกือบทุกภาคส่วน
"
อุปถัมภ์ค้ำใคร: การเลือกตั้งไทยกับประชาธิปไตยก้าวถอยหลัง
" พาผู้อ่านไปย้อนทำความรู้จักกับสิ่งที่เรียกว่า "อุปถัมภ์" และยังพาเราย้อนกลับไปทำความเข้าใจความหมายของคำดังกล่าว ก่อนที่จะพาเราไปดูจุดเชื่อมโยงที่เชื่อมเอาระบอบอุปถัมภ์มารวมเข้ากับการเมืองไทย ทั้งในระดับชาติและในระดับท้องถิ่น ซึ่งเรื่องของระบอบอุปถัมภ์เป็นที่ถกเถียงและเป็นประเด็นหลักในการศึกษาการเมืองท้องถิ่นมาอย่างช้านาน ซึ่งความน่าสนใจอีกประกาหยนึ่งของ
"
อุปถัมภ์ค้ำใคร: การเลือกตั้งไทยกับประชาธิปไตยก้าวถอยหลัง
" คือการที่หนังสือพาเราไปดูการขยายตัวของกลไกการรวบอำนาจที่เกิดขึ้นในช่วงรัฐบาล คสช. ที่ทำให้ระบอบอุปถัมภ์ในท้องถิ่นในช่วงดังกล่าวเดินกลับด้าน โดยปลายทางของอำนาจอุปถัมภ์กลับวิ่งเข้าสู่ระบอบราชการภูมิภาคที่ได้รับอำนาจเฉพาะในช่วงเวลานั้น อีกทั้งการขยายตัวของระบอบอุปถัมภ์ในยุ คสช. ก็เป็นอีกสิ่งที่หนังสือเล่มนี้ให้ความสำคัญและให้ความสนใจ
โดยเนื้อหาของ
"
อุปถัมภ์ค้ำใคร: การเลือกตั้งไทยกับประชาธิปไตยก้าวถอยหลัง
" แบ่งออกเป็น 6 บทดังต่อไปนี้
(1) (ก่อน) อ่านการเมืองเรื่องอุปถัมภ์
(2) อุปถัมภ์ค้ำใคร: ความหมาย ความคิดในบริบทรัฐและการเมือง
(3) ความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ในเส้นทางการเมืองไทย
(4) ระบบ "รวบ" อำนาจ
(5) เผด็จการหลังคูหา: เมื่อการเลือกตั้งไม่เท่ากับประชาธิปไตย
(6) บทส่งท้าย ระบอบ คสช. และประชาธิปไตยก้าวถอยหลัง
เมื่ออ่าน
"
อุปถัมภ์ค้ำใคร: การเลือกตั้งไทยกับประชาธิปไตยก้าวถอยหลัง
" จบลง เราจะพบคำตอบของคำถาม 2 ข้อที่อาจารย์ทามาดะ เขียนเอาไว้ใน "คำนำเสนอ" คือ (1) ระบอบการเมืองส่งผลอย่างไรต่อความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ในเครือข่ายทางการเมือง และ (2) ระบอบอำนาจนิยมของ คสช. ใช้กลไกอะไรทำลายและสร้างเครือข่ายทางการเมือง เพื่อให้ได้เปรียบในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2562
Chaitawat Marc Seephongsai
Report
Views
รีวิวเว้ย (2)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
View Story
subscribe
Previous
Next
Comments
()
Facebook
(
0
)
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in
ยืนยันการซื้อ ?
เหรียญที่มีตอนนี้: null
มีเหรียญไม่พอซื้อแล้ว เติมเหรียญกันหน่อย
เหรียญที่มีตอนนี้ : null
Please Wait ...
ซื้อเหรียญเรียบร้อย
เลือกแพ็คเกจเติมเหรียญ
เลือกวิธีการชำระเงิน
Credit Card
Cash @Counter
Line Pay
ระบบจะนำคุณไปสู่หน้าจ่ายเงินของผู้ให้บริการ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in