เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
WHAT IS A NATION ? ชาติคืออะไร ? By แอร์เนสต์ เรอนอง แปล นภ ดารารัตน์
  • รีวิวเว้ย (270) ชาติคืออะไร (?) ในช่วงเวลาหนึ่งของประวัติศาสตร์โลก คำถามดังกล่าวดูจะเป็นคำถามที่มีหลายผู้คน หลากความคิดที่แสดงความเห็นเกี่ยวกับนิยามของความเป็นชาติ ว่าแท้จริงแล้วชาติคืออะไร และมีความหมายหรือนิยามของคำอย่างไรกันแน่ ชาติจะเท่ากับ Nation หรือ State และเพราะอะไร Nation หรือ State จึงเหมาะควรที่จะเป็นนิยามของความเป็น "ชาติ" ซึ่งทุกสิ่งอย่างเกิดขึ้นเพื่อหาคำตอบของคำถามที่ว่า แท้จริงแล้วการใช้คำว่า Nationstate มันมีอะไรที่เคลื่อบแฝงอยู่หรือไม่ และความจริงแล้วการเกิดขึ้นของชาติไม่ว่าจะในรูปของ Nation หรือ State มีมุมมองและความเป็นไปได้เช่นใดบ้าง
    หนังสือ : WHAT IS A NATION ? ชาติคืออะไร ?
    โดย : แอร์เนสต์ เรอนอง แปล นภ ดารารัตน์
    จำนวน : 95 หน้า
    ราคา : 135 บาท

    "WHAT IS A NATION ? ชาติคืออะไร ?" อย่างที่เกริ่นไปแล้วในส่วนต้น ว่าหนังสือเล่มนี้จะชี้ชวน ชักชวน ให้เราได้ตั้งคำถาม สร้างความสงสัยให้กับคำว่า "ชาติ" โดยโจทย์ใหญ่ของหนังสือเล่มนี้ ที่ถูกตั้งคำถามและถ่ายทอดคำตอบออกมา คือ เรื่องของ "ความเป็นชาติ" ว่าแท้จริงแล้วช่ติมีความหมายว่าอย่างไร และพัฒนาการของชาติและความเป็นชาติ ทั้งรูปแบบของชาติที่ถูกนิยามว่าเป็น "รัฐสมัยใหม่" และชาติที่เป็นชาติตามนิยามทางประวัติศาสตร์และนิยามอื่น ๆ ก่อนการเกิดขึ้นของรัฐสมัยใหม่ ต่างถูกรวบรวมและชี้แจงความเป็นมา โดยแสดงให้เห็นถึงสถาวะบางอย่างที่นำไปสู้รูปแบบของการสร้างชาติในรูปของ "ชาตินิยม"

    ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่าแนวคิดของเรอนอง เป็นต้นสายของแนวคิดแบบ "ชาตินิยมแบบพลเมือง" ที่มุ่งเน้นเรื่องของปฏิสัมพันธ์ของผู้คนมากกว่าเรื่องของการมุ่งเน้นไปที่ชาติพันธุ์เป็นหลัก

    เป็นที่แน่นอนว่าเงื่อนเวลาในการเขียนหนังสือ และกรอบคิดบางรูปแบบของเรอนอง ได้รับอิทธิพลมาจากการพ่ายแพ้สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย ซึ่งนอกจากผลของสงครามแล้ว แนวคิดคิดในหลายรูปแบบที่เรอนองได้นำเสนอออกมาผ่านบทปาถกฐา ได้แสดงให้เห็นแล้วว่ากรอบคิดที่เรอนองได้นำมาใช้ในการอธิบายและหาคำตอบว่าชาติคืออะไร (?) เป็นหนึ่งในกรอบคิดที่มีความน่าสนใจ และช่วงสร้างมุมมองใหม่ให้กับความเป็นชาติ ที่สามารถถูกตั้งคำถามได้ในทุกยุคทุกสมัย

    นอกจากบทหลักของหนังสือเล่มนี้ที่พูดถึงเรื่องของความเป็นชาติในมุมมองของ "เรอนอง" แล้ว หนังสือเล่มนี้ยังมีบทตามที่พูดถึงเรื่องของ ความเป็นชาติและความเป็นเรอนองที่มองเรื่องของชาติออกมาในมุมมองเช่นนั้นเพราะเหตุใด โดยมุมมองดังกล่าวถูกมองผ่านสายตาของเจ้าพ่อ Postmodern ของไทย (ตามที่หลายคนชอบนิยาม) อย่าง รศ. ธเนศ วงศ์ยานนาวา โดยในเล่มนี้ มีส่วนบทตามที่เขียนโดย อาจารย์ธเนศ วงศ์ยานนาวา ที่สนุกและสร้างมุมมองใหม่ได้ไม่ต่างไปจากบทหลักอย่างปถกฐาของ "แอร์เนสต์ เรอนอง"

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in