รีวิวเว้ย (845) อะไรที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า "เกม" หรือ "การ์ตูน" ในความรับรู้ของคนยุคหนึ่งสิ่งเหล่านี้จถูกมองว่าเป็นเรื่องไม่มีสาระในทันทีทันใด ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว ในยุคสมัยของเรามีหลายคนที่เอาดี และได้ดีทางเกมและการ์ตูน อย่างนักกีฬา E-Sport หลาย ๆ คนก็สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำและสร้างชื่อเสียงจากการเล่นเกม กระทั่งความรับรู้ต่อเกมเปลี่ยนมาเป็นกีฬาในฐานะของ E-Sport ในยุคหลังและได้รับการบรรจุลงในก่รแข่งขันระดับภูมิภาคและระดับโลก หรืออย่างการ์ตูนก็สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้กับประเทศที่สร้างตัวการ์ตูนเหล่านั้นขึ้นมา อย่างประเทศญี่ปุ่นกระทั่งการ์ตูนเหล่านั้นกลายเป็น Soft Power ที่สำคัญของประเทศ หรืออย่าง "คุมะมง" หมีที่สร้างรายได้เข้าจังหวัดคุมะโมโตะ และประเทศญี่ปุ่นจนถูกยกให้เป็นทูตการท่องเที่ยวที่สร้างรายได้คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 30,000 ล้านบาท นี่ยังไม่นับรวมการนำเอาเกมและการ์ตูนมาสู่พื้นที่ของการพัฒนาอื่น ๆ ที่ในปัจจุบันปรากฎให้เห็นมากมาย และเป็นการยืนยันให้เห็นว่าเกมและการ์ตูนไม่ใช่สิ่ง "ไม่มีสาระ" อีกต่อไปแล้ว หากเข้าใจและใช้มันได้ถผูกที่ทางทั้งเกมและการ์ตูนจะพัฒนาศักยภาพของบางสิ่งให้ดีขึ้นได้อย่างน่าตกใจ
หนังสือ : เกมมิฟิเคชัน จูงใจคน ด้วยกลไกเกม
โดย : ตรัง สุวรรณศิลป์
จำนวน : 120 หน้า
ราคา : 195 บาท
"เกมมิฟิเคชัน จูงใจคน ด้วยกลไกเกม" หนังสือเล่มเล็กความหนา 120 หน้า ที่ช่วยทลายความสับสนของสังคมไทยในเรื่องของ เกมมิฟิเคชัน (Gamification) ที่ในช่วง 2-3 ปีมานี้เรามีโอกาสได้ยินและได้ฟังการพูดถึงคำคำนี้อยู่บ่อยครั้ง แต่เมื่อให้ใครสักคนลองอธิบายขยายความเรากลัยพบว่าความเข้าใจในเรื่องของเกมมิฟิเคชันของสังคมไทยแตกกระจายออกไปได้หลายหลาก บางคนก็เข้าใจว่า Gamification คือสิ่งเดียวกันกับ Game-Based Learning (GBL) ซึ่งในความเป็นจริงแล้วลักษณะของเกมทั้ง 2 มีความแตกต่างกันอย่างมากในเรื่องของรูปแบบและแนวคิด
ซึ่งในหนังสือ "เกมมิฟิเคชัน จูงใจคน ด้วยกลไกเกม" ได้มีการพูดถึงเรื่องของเกมมิฟิเคชันอย่างละเอียด ทั้งเรื่องของรูปแบบ แนวคิด วิธีการทำงาน และอะไรที่เรียกกว่าเกมมิฟิเคชัน กระทั่งมีการพูดถึงเรื่องของแนวทางการออกแบบและการปรับเอาแนวคิดในเรื่องของเกมมิฟิเคชันไปใช้ต่อยอดในภาคส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจ บริษัทห้างร้าน การศึกษา หรือกระทั่งการพัฒนาศักยภาพของบุคคล ผ่านแนวทาง เทคนิค กลไกของเกม โดยที่แนวทาง รูปแบบและวิธีกาต่าง ๆ ถูกนำเสนอเอาไว้อย่างชัดเจนใน "เกมมิฟิเคชัน จูงใจคน ด้วยกลไกเกม" ที่เรียกได้ว่าเมื่ออ่านหนังสือเล่มนี้จบลง เราสามารถออกแบบโดยการนำเอาเหมมิฟิเคชันมาใช้ในการจูงใจคน ผ่านกลไกของเกมที่ไปแทรกตัวอยู่ในการออกแบบกิจกรรมแต่ลพอย่างได้อย่างแยบคาย
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in