เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ผี พราหมณ์ พุทธ ในศาสนาไทย By ศิริพจน์, คมกฤช, วิจักขณ์
  • รีวิวเว้ย (834) เมื่อวาน (5/08/64) มีการพูดถึงประเด็นในเรื่องของความเชื่อและสิ่งศักดิ์สิทธิ์บนแผ่นดินสยาม-ไทย ที่วางตัวอยู่บนฐานของความเข้าใจ "ว่าเป็น" สังคมแบบ "พุทธศาสนา" แต่หากลองพิจารณาในดี ๆ เราจะพบว่าความเป็น "พุทธศาสนา" แบบของไทยไม่ใช่พุทธศาสนาแบบพุทธเพียงอย่างเดียว แต่ "ศาสนาไทย" อาจจะต้องเรียกว่าเป็น "ศาสนาผี" เป็นแกนกลางและมีศาสนาพุทธ พราหมณ์-ฮินดู ล้อมอยู่อีกชั้นหนึ่ง เพราะไม่ว่สจะเป็นเรื่องของพิธีกรรมที่หลายคนเรียกว่า "พิธีกรรมทางศาสนา" ก็ไม่ได้พิธีกรรมของศาสนาพุทธ หากแต่เป็นการขมวดรวมศาสนาผี พราหมณ์-ฮินดู และพุทธเข้าด้วยกัน จนก่อรูปให้กลายมาเป็น "ศาสนาไทย" ที่คติความเชื่อและพิธีกรรมแบบ พราหมณ์-ฮินดู ผสมรวมอยู่กับวิธีการไหว้ผี ผ่านกลไกของพุทธศาสนา ที่ในบางพิธีกรรมเราจะเห็นกลไกเชิงพิธีการของศาสตน์ผี พราหมณ์ พุทธ ปรากฎอยู่ด้วยกันอย่างชัดเจน อีกทั้งคติความเชื่อในเรื่องของ "ผีเมือง" ที่เราอาจจะเคยได้อ่าน หรือได้ยินผ่านตาในเรื่องของ "ผีหอคำ" ในภาคเหนือที่เป็นภาพแทนของศาสนาผีที่คอยปกปักรักษาเมือง ซึ่งแนวคิดผีหอคำ ก็ยังคงปรากฎอยู่กระทั่งปัจจุบัน แต่อาจจะเปลี่ยนรูปและเปลี่ยนชื่อไปบ้าง แต่วิธีคิดและแนวกำเนิดก็ไม่ต่างกับ "ศาสนาผี" ในครั้งอดีต เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว "ศาสนาพุทธไทย" นับเป็นศาสนาที่เป็นพื้นที่ปฏิสัมพันธ์ แบ่งปัน กลืนกลาย ให้ศาสนาผี ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาพุทธ กลายมาเป็นกลไกร่วมในการขับเคลื่อนสังคมนี้บนฐานของ "ศาสนาแบบไทย"
    หนังสือ : ผี พราหมณ์ พุทธ ในศาสนาไทย
    โดย : ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ, คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง, วิจักขณ์ พานิช
    จำนวน : 260 หน้า
    ราคา : 320 บาท

    "ผี พราหมณ์ พุทธ ในศาสนาไทย" หนังสือที่ถูกเขียนขึ้นโดยนักวิชาการ 3 ท่านไเแก่ ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ, คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง และวิจักขณ์ พานิช ที่ว่าด้วยเรื่องของ "ผี พราหมณ์ พุทธ ในศาสนาไทย" ในโอกาสครบรอบ 80 ปี "นิธิ เอียวศรีวงศ์" นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ ที่สร้างพลังขับเคลื่อนวงการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยในหลากหลายสาขา และเรื่องของศาสนาก็เป็นอีกสาขาหนึ่งที่ได้รับการผลักดันผ่านงานเขียนหลาย ๆ ชิ้นของนิธิ

    หนังสือเรื่อง "ผี พราหมณ์ พุทธ ในศาสนาไทย" คือการหยิบเลือกเอาบทความจากนักวิชาการทั้ง 3 คน โดยเลือกหยิบมาคนละ 8 ชิ้น ที่สะท้อนภาพของ "ศาสนาไทย" ผ่านศาสนาผี ศาสนาพราหมณ์ และศาสนาพุทธ โดยการแบ่งส่วนของบทความในเล่มก็แบ่งตามชื่อหนังสือ คือ ผี 8, พราหมณ์ 8 และพุทธ 8 ซึ่งบทความชิ้นต่าง ๆ ที่ถูกหยิบเลือกใน "ผี พราหมณ์ พุทธ ในศาสนาไทย" จะว่ามันมีความต่อเนื่องกันในเชิงเนื้อหาก็อาจจะไม่ถูกต้องนัก หากแต่บอกว่ามันต่อเนื่องในฐานะของการฉายให้เห็นถึงพลวัตรของ "ผี พราหมณ์ พุทธ ในศาสนาไทย" มนศาสนาไทยก็ไม่ผิดนัก

    เพราะเมื่ออ่านบทความชิ้นต่าง ๆ ใน "ผี พราหมณ์ พุทธ ในศาสนาไทย" เราจะพบข้อมูลชุดหนึ่งว่า "ศาสนาไทย" ไม่ได้ลอยตัวลงมาจากฟ้า หากแต่ศาสนาไทย มีการต่อสู้ ปรับใช้ และหยิบยืมเอาขนม ความคิด ความเชื่อ พิธีกรรม ของศาสนา ผี พราหมณ์และพุทธ เข้ามารวมกันจนกลายเป็น "ศาสนาไทย" ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ในตัวเอง อาจจะเรียกได้ว่าคำว่า "แบบไทย ๆ" สามารถเอามาต่อท้ายอะไรก็ได้ และดูจะมีความเป็นไทย ๆ ในคำที่ถูกเอาไปต่อท้ายขึ้นมาทันที อย่างภาพของ "ศาสนาไทย" ในหนังสือเล่มนี้ก็ยืนยันได้ชัดเจน ไหนจะยังมีคำว่า "ประชาธิปไตยแบบไทย ๆ" อีก เอาเข้าจริงความ "ไทย ๆ" อาจจะไม่ใช่ you are the one and only แต่ถ้าเราย้อนกลับไปหาการผนวกรวมสิ่งที่สร้างความเป็น "ไทย ๆ" ได้ ก็อาจจะช่วยให้เราเห็นอะไรหลายอย่างในประเทศนี้ได้ชัดเจนมากขึ้น

    บทความตอนหนึ่งใน "ผี พราหมณ์ พุทธ ในศาสนาไทย" มีการพูดถึงบทบาทของ "พระสยามเทวนาธิราช" ที่น่าสนใจยิ่งในช่วงสมัยรัชการที่ 7 ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองในย่ำรุ่งของวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เพียงไม่นาน ซึ่งผู้อ่านอาจจะมองเห็นอะไรบางอย่างจากบทความชิ่นนี้ก็เป็นได้

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in