เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
บางกอกกับหัวเมือง By เอนก นาวิกมูล
  • รีวิวเว้ย (818) เมื่อวานนี้ (29 มิ.ย. 64) เห็นโพสเพื่อนในเฟสบุ๊คคนหนึ่งแชร์ภาพและข้อความของบุคคลที่เชียร์รัฐบาลประยุทธ์พร้อมข้อความที่ว่า "ตอนที่สามกีบบอกว่า ประเทศชาติไม่เจริญขึ้นเลย/มองไปที่แยกประทุมวันสมัยก่อน อืม" พร้อมแนบภาพด้านล่างนี้มาเป็น Reference 
    เรานั่งงงอยู่พักหนึ่ง และคิดตามในใจว่า "นี่มันดักหรือว่ามันคิดแบบนี้จริง ๆ วะเนี่ย" เพราะเมื่อพิจารณาจากในภาพเราจะพบว่าในภาพน่าจะเป็นช่วงเวลาของแยกประทุมวันที่ย้อนกลับไปในช่วงก่อน พ.ศ. 2530 เพราะดูจากรถและสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ซึ่งในทางปฏิบัติการเลือกเอารูปแบบนี้มาใช้เป็น Ref. แล้วบอกว่า "ประเทศมีการพัฒนานะ" เอาจริง ๆ ไปหยิบเอาภาพช่วง พ.ศ. 2331 มาใช้เลยก็ยังได้หากจะใช้ตรรกะแบบนี้ในการพูดถึง "การพัฒนาตามเวลาและเทคโนโลยี" บางครั้งบางทีการพัฒนาที่กลุ่มสามกีบ (ตามคำของคนโพส) พูดถึงอาจจะไม่ได้มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาตามเทคโนโลยีตามวงรอบของการพัฒนา หากแต่เป็นการพูดถึงการพัฒนาในอัตราเร่งและการพัฒนาในเชิงการแข่งขันแบบที่ภาคธุรกิจและประเทศพัฒนาแล้วชอบทำที่เขาเรียกกันในภาษาอังกฤษว่า Research and development (R&D) เพราะถ้าดูจากงบในการทำ R&D ของภาครัฐจากพระราชบัญญัติงบประมาณรอบที่ผ่านมาก็แทบไม่เหลืองบพัฒนา แถมงบที่จะช่วยพัฒนาประเทศในด้านอื่น ๆ นอกเหนือจาก "งบกองทัพ" ก็ถูดตัดเกือบเหี้ยน โดยเฉพาะงบสิ่งแวดล้อม เอาจริงการที่บอกเชิงตั้งคำถามว่า "ประเทศชาติไม่เจริญขึ้นหรอ" แล้วหยิบเอาภาพดังกล่าวมาเป็นตัวเปรียบเทียบ มันสะท้อนบริบททางด้านสติปัญญาของผู้โพสได้เป็นอย่างดี ไม่แปลกใจว่าทำไมรัฐบาลชุดนี้จึงยังมีคนเชื่อมั่นว่ารัฐบาลทำงานได้ดี
    หนังสือ : บางกอกกับหัวเมือง
    โดย : เอนก นาวิกมูล
    จำนวน : 232 หน้า
    ราคา : 170 บาท

    "บางกอกกับหัวเมือง" หนังสือที่บอกเล่าประวัติศาสตร์ ของพื้นที่กรุงเทพฯ และหัวเมืองในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ ถึงช่วงก่อน พ.ศ. 2530 โดยที่เนื้อหาต่าง ๆ ใน "บางกอกกับหัวเมือง" อาจจะเรียกได้ว่าเป็นเรื่อง "ปกิณกะ" ของบางกอกและหัวเมืองโดยรอบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพื้นที่ วิถีชีวิต ขนบประเพณี และความเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ที่เราอาจจะเรียกมันได้ว่า "การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา" และเป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อ "แก้ไขปรับปรุงพื้นที่ตามรูปแบบของการใช้งานพื้นที่"

    นอกจากนั้นแล้ว "บางกอกกับหัวเมือง" ยังบอกเล่าถึงเรื่องราวและเกร็ดประวัติศาสตร์ ที่ผูกโยงพื้นที่ คน และสิ่งของเข้าด้วยกัน โดยที่อาณาบริเวณที่ถูกพูดถึงนั้นอยู่ในบริเวณของบางกอกและหัวเมือง โดยที่มีหลักฐานของการบอกเล่าเป็น บันทึก ภาพถ่าย เอกสารเก่าของทางราชการ และคำบอกเล่าของคนร่วมสมัยที่ในช่วงเวลาของการเขียนงานแต่ละชิ้นมนหนังสือเล่มนี้ ท่านเหล่านั้นยังคงมีชีวิตอยู่

    นอกจาก "บางกอกกับหัวเมือง" จะบอกเล่าให้เราเห็นภาพและเข้าใจเรื่องราวปกิณกะของพื้นที่ต่าง ๆ แล้ว "บางกอกกับหัวเมือง" ยังช่วยให้เราเข้าใจการเปลี่ยนแปลงไปของลักษณะพื้นที่และวิถีชีวิตของผู้คน อันเกิดจากการพัฒนาตามห่วงระยะเวลา ซึ่งเป็นการยืนยันถึงความเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ที่มีการปรับตัวตลอดเวลา หากแต่เป็นการปรับตัวเพื่อให้สอดรับกับบริบทของชีวิตผู้คน และชีวิตของเมือง รวมถึง "บางกอกกับหัวเมือง" ยังช่วยให้เราเข้าใจอีกว่า "การพัฒนาเชิงพื้นที่" เกิดขึ้นเสมอและมันไม่ใช่การพัฒนาเดียวที่จะหยิบมาอ่างเพื่อสร้างความชอบธรรมโดยไม่เข้าใจบริบทใด ๆ

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in