เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
เมียนมากับประชาธิปไตยคู่ขนาน By พินิตพันธุ์ บริพัตร
  • รีวิวเว้ย (815) "เมียนม่า" หรือ "พม่า" (ในที่นี้จะขอใช้คำว่า 'พม่า' เพรราะคุ้นเคย) เป็นหนึ่งในประเทศที่ถูกจับตาอย่างมากในช่วง 2-3 ปีมานี้ (ก่อนการรัฐประหารเมื่อ ก.พ. 64) หลังจากที่มีการจัดเลือดตั้งทั่วไปอย่างเป็นทางการหลังจากที่ปิดประเทศมาหลายสิบปี สัญญาณทางการเมืองของพม่าส่งสัญญาณไปในทิศทางที่ดี ทำให้พม่ากลายมาเป็นประเทศเนื้อหอมที่มีหลายตัวแสดง หลายประเทศให้ความสนใจ ทั้งเรื่องของการลงทุนและเรื่องของการเปิดตลาดการค้ากับประเทศพม่าภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปและการเปิดประเทศ แต่ไม่นานภายหลังจากการรัฐประหารเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ทำให้พม่ากลับมาเป็นที่จับตามองและพูดถึงในวงกว้างอีกครั้ง ทั้งในประเด็นเรื่องของการรัฐประหารพม่าที่ดูแล้วจะเป็นการตัดวงจรการพัฒนาของประเทศในลักษณะของการเตะปลั๊กดับไฟที่ปิดวงจรของการพัฒนาของทั้งประเทศลงแบบกระทันหันที่หลายประเทศและหลายตัวแสดงก็ไม่ทันตั้งตัวกับสิ่งที่เกิดขึ้นเช่นกัน และปัญหาที่ตามมาภายหลังจากการรัฐประหารก็ดูจะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นในระยะต่อ ๆ มา 
    หนังสือ : เมียนมากับประชาธิปไตยคู่ขนาน มิติระหว่างประเทศของการปฏิรูปทางการเมืองและเศรษฐกิจ
    โดย : พินิตพันธุ์ บริพัตร
    จำนวน : 330 หน้า
    ราคา : 290 บาท 

    "เมียนมากับประชาธิปไตยคู่ขนาน มิติระหว่างประเทศของการปฏิรูปทางการเมืองและเศรษฐกิจ" หนังสือที่ว่าด้วยเรื่องของการประคองและการก่อรูปของ "ระบอบการปกครองประชาธิปไตย" ในประเทศเมียนมา ผ่านมิติในของการปฏิรูปการเมืองและเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในเมียนมาในช่วงหลายปีกระทั่งหลังจากการเลือกตั้งทั่งไปในประเปศและการเปิดประเทศของเมียนมา 

    เนื้อหาใน "เมียนมากับประชาธิปไตยคู่ขนาน มิติระหว่างประเทศของการปฏิรูปทางการเมืองและเศรษฐกิจ" แสดงให้เห็นถึงการก่อตัวของกระแสการเปลี่ยนแปลงของเมียนมาให้ขยับมาใกล้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยให้มากขึ้นกว่าในยุคก่อน โดยที่ "เมียนมากับประชาธิปไตยคู่ขนาน มิติระหว่างประเทศของการปฏิรูปทางการเมืองและเศรษฐกิจ" แสดงให้เห็นถึงเหตุการณ์ กลไก และตัวแสดงที่ทำให้การปกครองในเมียนมาต้องเริ่มขยับตัวให้เข้าใกล้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยที่เราอาจจะมองมันในฐานะของพัฒนาการของการก้าวเดินเข้าสู่ถนนของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย 

    "เมียนมากับประชาธิปไตยคู่ขนาน มิติระหว่างประเทศของการปฏิรูปทางการเมืองและเศรษฐกิจ" ช่วยให้เรามองเห็นกลไก และตัวแสดงต่าง ๆ ที่เข้ามามีส่วนในกระบวนการก่อรูปของระบอบประชาธิปไตยในประเทศเมียนมา ที่อาจจะเรียกได้ว่ากลไกล ตัวแสดงต่าง ๆ เหล่านี้ถือได้ว่าเป็นกลไกลของประชาธิปไตยคู่ขนานในประเทศเมียนมา กระทั่งกลไกลของประชาธิปไตยแบบคู่ขนานในประเทศเมียนมาถูกตั้งคำถามและท้าทายอีกครั้งด้วยการรัฐประหารเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564 และน่าสนใจเป็นอย่างยิ่งว่าระบอบประชาธิปไตยที่ได้เริ่มออกเดินในสังคมเมียนมา จะมีหน้าตาเป็นเช่นไรภายหลังการรัฐประหารครั้งนี้ (2564)

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in