รีวิวเว้ย (814) "เลือดน้ำเงิน (blue bloods)" คำนี้เราน่าจะได้ยินบ่อยขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา และหลายคนก็ดูจะเชื่ออย่างจริงจังว่าที่มาของ "เลือดน้ำเงิน" นั้นมาจากสัตว์ในกลุ่มที่มี "ทองแดง (Copper/Cu)" เป็นสารประกอบใน "เลือด" ของสัตว์ที่อยู่ในกลุุ่มอาร์โทรพอด (เปลือก/ปล้อง) ซึ่งจะมีลักษณะที่สำคัญของสัตว์ในไฟลัมนี้ คือ สัตว์กลุ่มนี้ส่วนใหญ่มีสารที่ชื่อว่า ฮีโมไซยานิน (Hemocyanin) และคอปเปอร์ (ทองแดง) เป็นองค์ประกอบในเลือด ซึ่งจะทำให้เลือดมีสีฟ้าอ่อนหรือจางจนแทบไม่มีสี แต่เอาเข้าจริงแล้สคำว่า "เลือดน้ำเงิน (blue bloods)" ไม่น่าจะเกี่ยวโยงกับสัตว์ในกลุ่มอาร์โทพอดได้เว้นแต่ในชุดความเชื่อบางแบบเท่านั้น ในความเป็นจริงแล้วคำว่าเลือกน้ำเงินนั้น "เป็นคำศัพท์ที่เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศสเปน ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 8 โดยแปลมาจากภาษาสเปน คือ Sangre azul เพราะสันนิษฐานว่าเป็นสำนวนที่ใช้เรียกราชวงศ์ชั้นสูงในยุคกลางของสเปน ที่มีผิวขาวบอบบางทำให้เห็นเส้นเลือดดำได้ชัดเจน (สะท้อนผ่านผิวหนังทำให้เส้นเลือดดูคล้ายสีน้ำเงิน) และอ้างตนเหนือเชื้อชาติผสมระหว่างแอฟริกาและอาหรับที่มีผิวสีเข้มจึงนำมาเป็นสัญลักษณ์ของชนชั้นสูงสืบต่อมายังยุโรป" เมื่อเป็นเช่นนั้น "เลือดน้ำเงิน" ที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายขวาหรืออนุรักษ์นิยม หรือสถาบันบางแห่งในประเทศไทย น่าจะไม่ได้มีที่มาและความหมายจากกลุ่มของสิ่งมีชีวิตในกลุ่มอาร์โทพอดแต่ประการใด
หนังสือ : เลือดสีน้ำเงิน ซ้ายไม่จริง ขวาไม่แท้ และประชาธิปไตยในอุดมคติ
โดย : ปฐมาวดี วิเชียรนิตย์
จำนวน : 344 หน้า
ราคา : 350 บาท
"เลือดสีน้ำเงิน ซ้ายไม่จริง ขวาไม่แท้ และประชาธิปไตยในอุดมคติ" หนังสือที่ทำการศึกษาความคิดทางการเมืองของ "กลุ่มเลืดน้ำเงิน" 5 คนที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 และเกี่ยวข้องในเหตุการณ์ของ "กบฎบวรเดช" ในเรื่องของทัศนะทางการเมืองของกลุ่มบุคคลที่มีความเกี่ยวโยงกับทั้งการปฏิวัติ 2475 และกบฎบวรเดช โดยที่บุคคลทั้ง 5 ที่ถูกศึกษาใน "เลือดสีน้ำเงิน ซ้ายไม่จริง ขวาไม่แท้ และประชาธิปไตยในอุดมคติ" ได้แก่ สอ เสถบุตร, ร.ท.จงกล ไกรฤกษ์, ม.จ.สิทธิพร กฤดากร, พระยาศราภัยพิพัฒ และ ม.ร.ว.นิมิตรมงคล นวรัตน
โดยที่ "เลือดสีน้ำเงิน ซ้ายไม่จริง ขวาไม่แท้ และประชาธิปไตยในอุดมคติ" ได้ทำการศึกษาแนวคิดของบุคคลทั้ง 5 โดยลงรายละเอียดที่การศึกษาถึลเอกสาร งานเขียน ประวัติบุคคล และเหตุการณ์ที่ถูกบันทึกเอาไว้ ที่ทำหน้าที่เป็นภาพสะท้อน "แนวคิดทางการเมือง" ของคนกลุ่มดังกล่าว โดยที่ก่อนหน้านี้เวลาที่เราอ่านงาน หรือได้ยินเรื่องเล่าเกี่ยวกับฝ่ายขวาไทยโดยเฉพาะในช่วงของเหตุการณ์ "กบฎบวรเดช" เราจะพบว่า การบอกเล่าถึงเรื่องราวของกลุ่มกบฎมันไปในแนวทางเดียวกันคือ "ต้องการถวายคืนอำนาจและกลับสู่การปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช"
แต่ "เลือดสีน้ำเงิน ซ้ายไม่จริง ขวาไม่แท้ และประชาธิปไตยในอุดมคติ" เป็นเหมือนเรื่องเล่าที่ทดลองชี้ให้เรามอง หรือฟังเรื่องเล่าเดียวกันแต่ลองมองและฟังจากมุมมองที่แตกต่างกันออกไป โดยแทนที่เราจะเหมารวมว่ากลุ่มเลือดน้ำเงินคือกลุ่มของผู้นิยมการปกครองระบอบเก่า และอยากเอาเจ้ากลับมาปกครอง แต่เอาจริงแล้วถ้าเราลองมองลงไปในระดับของปัจเจกชน เราอาจจะพบว่ากลุ่มเลือดน้ำเงินทุกคนอาจจะไม่ได้คิดไปในทิศทางเดียวกัน และก็ไม่ใช่ว่ากลุ่มเลือดน้ำเงินทุกคนจะอยากหวนกลับไปสู่การปกครองในระบอบเก่า หากแต่การพูดแบบเหมารวมไปเลยก็ดูจะง่ายและสบายในการอธิบายถึง "ความคิด" ของ "กลุ่มเลือดน้ำเงิน"
"เลือดสีน้ำเงิน ซ้ายไม่จริง ขวาไม่แท้ และประชาธิปไตยในอุดมคติ" จึงทำตัวเหมือนเพื่อนที่คอยกะตุกแขนเสื้อของเราเบา ๆ และบอกกับเราว่า "มึงใจเย็น ๆ" ลองคิดดูดี ๆ อีกที จากอีกมุมดูก่อนไหม ไม่แน่อาจจะได้เห็นอะไรที่ไม่เคยมองเห็นมาก่อนก็ได้นะ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in