เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
นานาประชาธิปไตย By David Held แปล สุทธิมาน ลิมปนุสรณ์
  • รีวิวเว้ย (796) หลายคนน่าจะเคยได้ยินข้อความที่ว่า "ประชาธิปไตย" หมายถึง อำนาจอธิปไตยที่มาจากประชาชน หรือถ้าลองค้นใน Google ก็จะำบว่า "คำว่า democracy ในภาษาอังกฤษมีรากศัพท์มาจากภาษากรีกโบราณว่า "ดีมอคระเทีย"  ซึ่งหมายถึง "การปกครองโดยประชาชน" (popular government) อันเป็นคำประสมระหว่างคำว่า "ดีมอส" (demos) หมายถึง ประชาชน และ "คราทอส" (kratos) หมายถึง การปกครอง หรือ พละกำลัง" แน่นอนการอธิบายคำว่า "ประชาธิปไตย" ในแบบนี้ก็ไม่ผิดอะไรใด ๆ หากแต่ การพูดถึงประชาธิปไตยในลักษณะของคำโดด ในปัจจุบันดูจะเป็นคำที่ถูกตั้งคำถามอย่างมากและมีการตีความออกไปไหนหลากทิศหลายทาง กระทั่งที่ไปได้ไกลที่สุดตอนนี้น่าจะเป็นคำว่า "เผด็จการประชาธิปไตย" เมื่อความสับสน วุ้นวาย เข้าขั้นชิบหายของคำว่า "ประชาธิปไตย" กำลังดำเนินไปในสังคมนี้ จะไม่ดีกว่าหรือถ้าเราลองมาหาความหมายของประชาฑิปไตย ที่กว้าออกไปกว่าความเข้าใจของสังคมไทยใน Google
    หนังสือ : นานาประชาธิปไตย
    โดย : David Held แปล สุทธิมาน ลิมปนุสรณ์
    จำนวน : 520 หน้า
    ราคา : 495 บาท

    "นานาประชาธิปไตย" หนังสือว่าด้วยเรื่องของ "ประชาธิปไตย" และนับว่าเป็น "ตำราเรียน" เรื่องประชาธิปไตยเล่มหนึ่งที่มีการใช้กันอย่างหลากหลาย เมื่อหลายปีก่อนในสมัยที่เราเรียนปริญญาตรี ที่คณะรัฐศาสตร์ ในรายการหนังสือต้องอ่านของวิชาหนึ่งมีชื่อของหนังสือ "Models of Democracy" ปรากฎอยู่ ซึ่งก็มีเพื่อนไปยืมหนังสือเล่มนี้มาจากห้องสมุดเพื่ออ่านจริง ๆ แต่สำหรับเราแค่เห็นขนาดเล่ม และเห็นว่าเป็นภาษาอังกฤษจิตใจก็สั่นไหวและไม่ได้เปิดอ่านมันมากเกินไปกว่า "บทที่บังคับเรียน"

    และเมื่อ "นานาประชาธิปไตย" มีการแปลเป็นภาษาไทยออกมา เราก็ไม่รอช้าในการกดสั่งเพื่อมาอ่านชดเชยให้กับสมัยเรียนปริญญาตรี ความรู้สึกเมื่อเห็นเล่มแปลไทยครั้งแรก "ความท้อ" ก็บังเกิดเพราะด้วยขนาดเล่มที่ใหญ่ หนา และหนักของหนังสือเล่มนี้ที่วางอยู่ตรงหน้า แต่นั่นก็เป็นการแสดงให้เห็นว่าเรื่องของ "ประชาธิปไตย" ไม่ใช่เรื่องที่มันจะสั่นและง่ายอย่างที่หลายคนเข้าใจกัน

    "นานาประชาธิปไตย" บอกเล่าเรื่องราวของประชาธิปไตย โดยการใช้หมุดหมายของช่วงเวลาของระบอบประชาธิปไตยเป็นตัวแบ่งพัฒนาการ พลวัตร ความเปลี่ยนแปลง และการเกิดขึ้นของระบอบประชาธิปไตยที่มีการเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา ไม่ว่าจะเป็นประชาธิปไตยแบบโบราณของกรีก หรือประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือที่กลายมาเป็นรูปแบบของประชาธิปไตยที่ถูกพูดถึงมากขึ้นในระยะหลัง ๆ หนังสือ "นานาประชาธิปไตย" ช่วยสะท้อนให้คนอ่านได้เห็นถึงความหมาย ความสำคัญ พลวัตร ความเปลี่ยนแปลง และความท้าทายใหม่ ๆ ต่อระบอบประชาธิปไตยในแต่ละช่วงเวลาได้เป็นอย่างดี และช่วยอธิบายให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจมันได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น น่าเสียดายที่ผู้เขียนเสียชีวิตไปก่อน มิเช่นนั้นในฉบับพิมพ์ใหม่ เราอาจจะได้ทำความรู้จักประชาธิปไตยในรูปแบบใหม่ ๆ ที่กำลังปรากฎขึ้นในหลายพื้นที่ทั่วโลก อาทิ ประชาธิปไตยดิจิทัล และเผด็จการประชาธิปไตย

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in