เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
The All New DON'T THINK OF AN ELEPHANT! อย่าคิดถึงช้าง! By GEORGE LAKOFF แปล ฐนฐ จินดานนท์
  • รีวิวเว้ย (257) การเมืองอเมริกาเป็นเรื่องของการขับเขี้ยวของอุดมการณ์ทางการเมือง 2 ชุดหลัก ๆ ด้วยกัน นั่นคือ (1) อุดมการณ์แบบเสรีนิยม และ (2) อุดมการณ์แบบอนุรักษ์นิยม ซึ่งอุดมการณ์หลักทั้ง 2 สายยังถูกแบ่งย่อยออกไปเป็นชุดอุดมการณ์ทางการเมืองแค่ละชุดอีกพอสมควร แต่นั่นก็เป็นการยืนยันให้เห็นถึงการขับเขี้ยวกันของ 2 อุดมการณ์หลักจาก 2 ค่ายความคิดใหญ่ ๆ ที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนอเมริกาในหลาย ๆ ภาคส่วนมาตั้งแต่สมัยการก่อตั้งประเทศ และอุดมการณ์หลักทั้ง 2 ชุดนี้ จะยังคงขับเขี้ยวกันต่อไปอีกนานแสนนาน แต่แนวทางของการต่อสู้กันระหว่างอุดมการณ์ทางการเมืองทั้ง 2 จะค่อย ๆ พัฒนารูปแบบและวิธีการที่แยบคายยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีกในภายหน้า
    หนังสือ : The All New DON'T THINK OF AN ELEPHANT! อย่าคิดถึงช้าง!
    โดย : GEORGE LAKOFF แปล ฐนฐ จินดานนท์
    จำนวน : 272 หน้า
    ราคา : 295 บาท

    "อย่าคิดถึงช้าง!" เป็นหนังสือที่บอกเล่าเรื่องราวของการขับเขี้ยวกันของอุดมการณ์ทางการเมืองแบบเสรีนิยมและอนุรักษ์นิยม ในประเทศสหรัฐอเมริการ ผ่านการต่อสู้กันด้วยกรอบคิดในเรื่องของการสร้างความรับรู้และความรู้สึกของผู้คน ผ่านการใช้คำและเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการวางกรอบคิดและแนวทางทางภาษาศาสตร์ เพื่อกระตุ้นให้สมองทำงานตามกรอบที่ตอกย้ำอุดมการณ์ทางการเมืองในแต่ละฝากฝ่ายออกมา

    หลายครั้งเราเคยเขื่อว่าการเมืองเป็นเรื่องของการแข่งขันและขับเขี้ยวกันผ่านนโยบายของพรรคการเมือง ว่าพรรคใดหรือใครจะสามารถผลักดันนโยบายและยิ่งนโยบายได้ถูกและโดนใจประชาชนมากที่สุด กระทั่งส่งผลให้เขาเหล่านั้นชนะการเลือกตั้งและได้เข้าไปจัดตั้งรัฐบาลเพื่อบริหารประเทศ

    แต่เอาเข้าจริงแล้ว "อย่าคิดถึงช้าง!" ได้นำเสนอมุมมองในเรื่องของการเมืองและการต่อสู้กันของอุดมการณ์ทางการเมือง 2 ฝ่าย ผ่านกรอบคิดและเทคนิคของการใช้คำในเชิงภาษาศาสตร์ เราอาจจะคิดว่าเกิดการต่อสู้และแย่งชิงกันผ่านสิ่งที่เรียกว่า "วาทกรรม" แต่เอาเข้าจริงและ การต่อสู้ของอุดมการณ์ทางการเมืองและพรรคการเมือง 2 พรรคใหญ่ในอเมริกา ต่างฝ่ายต่างไม่ได้สู้กันผ่านการสร้างหรือช่วงชิง "วาทกรรม" หากแต่ต่อสู้กันผ่านการกำหนดและช่วงชิง "กรอบคิด" ทางการเมือง เพื่อผลิตซ้ำความทรงจำร่วมผ่านการทำงานของสมอง เพื่อให้อุดมการณ์ฝ่ายหนึ่ฃฝ่สยใดเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ

    "อย่าคิดถึงช้าง!" พาเราไปทำความเข้าใจและเรียนรู้ถึงการทำงานของ "กรอบคิด" รวมถึงชี้ให้เห็นถึงพลังอำนาจที่เกิดขึ้นจากการช่วงชิงกรอบคิดบางอย่างของฝ่ายอนุรักษ์นิยมในอเมริการ ที่หลายครั้งสามารถแย่งชิฃเอากรอบคิดของฝ่สยเสรีนิยมมาเป็นของตัวเองและใช้กรอบคิดดีงกล่าวทำร้ายและทำลายตัวฝ่ายเสรีนิยมเอง

    เรื่องของ "กรอบคิด" ทางภาษาศาสตร์ไม่ได้มุ่งเน้นที่เรื่องของการกำหนดนโยบายเป็นหลัก แต่มุ่งเน้นไปที่เรื่องของการทำงานของสมอง การรับรู้ของ cell ประสาท และการผลิตซ้ำในระดับ cell สมอง ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการสร้าง "กรอบคิด" ให้กับทั้งฝ่ายเสรีนิยมและอนุรักษ์นิยม

    นอกจากนี้ "อย่าคิดถึงช้าง!" ยังชี้ให้เห็นอีกว่าในช่วงเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา ฝ่ายอนุรักษ์นิยมทุ่มเงินลงทุนอีกทั้งสร้างสถาบันการศึกษา และให้ทุนการศึกษาในเรื่องของการสร้างกรอบคิดและการหาแนวทางในการบิดเบือนและเปลี่ยนแปลงกรอบคิดของฝ่ายเสรีนิยมให้กลายเป็นของฝ่ายอนุรักษ์นิยม

    ดังหลายเหตุการณ์ที่เราเห็นว่าคำหลายคำถูกใช้โดยเสรีนิยมและอนุรักษ์นิยม ซี่งอยู่บนฐานของความหมายที่เหมือนกัน คล้ายกัน หรือใกล้เคียงกัน แต่เมื่อฝ่ายอนุรักษ์นิยมและฝ่ายเสรีนิยมนำเสนอความดังกล่าว การรับรู้ของคนต่อคำเหล่านั้นจะไม่เหมือนกัน และในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ ฝากฝั่งของอุดมการณ์อนุรักษ์นิยมในอเมริการ สามารถสร้างความชอบธรรมในการฉวยใช้และแย่งชิงกรอบคิดได้ดีกส่าฝ่ายอนุรักษณ์นิยม

    "อย่าคิดถึงช้าง!" เป็นหนึ่งคำที่ผู้เขียนหนัฃสือเล่มนี้ พยายามชี้ให้เห็นว่ากรอบคิดของเราถูกกำหนดเอาไว้แล้วอย่างตายตัวเมื่อคำคำนั้นถูกผิดขึ้นมา ไม่เชื่อทุกคนลอง "อย่าคิดถึงช้าง!" ดูสิ 

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in