รีวิวเว้ย (773) หลายวันมานี้ข่าวการสูญเสียในประเทศไทยเกิดขึ้นทุกวัน และวันละหลาย ๆ กรณี หลายคน หลายวัย หลายอาชีพ แต่ที่น่าประหลาดใจภายใต้ตัวเลขของการสูญเสียนั้นมีเพียงข้อความสั้น ๆ กำกับเอาไว้ว่า "จากโรคประจำตัว" เราในฐานะของคนที่ติดตามข่าวสารเห็นตัวเลขแบบนี้ทุก ๆ วันก็อดคิดไม่ได้ว่า ในการสูญเสียครั้งใหญ่ครั้งนี้ความผิดเป็นของ "ผู้ตาย" ในฐานะที่พวกเขามีโรคประจำตัว หรือว่าความผิดของการระบาดของความตายในครั้งนี้ คือความผิดของ "รัฐบาล"
รัฐบาลที่ขาดไร้ซึ่งประสิทธิภาพในการรับมือการระบาดของ COVID-19 ในระลอกที่เท่าไหร่ก็ไม่แน่ชัด แต่ในการระบาดทุกครั้งรัฐบาลพูดออกมาเพียงแค่ว่า "เราต้องชนะ" ขอพูดอะไรแรง ๆ สักครั้งนะครับ "ชนะพ่อมึงสิไอ้สัดดดดด" บนความตายและการสูญเสียของคนในรัฐ รัฐบาลยังพูดออกมาได้อย่างหน้าตาเฉยว่า "เราต้องชนะ" แน่นอนว่าความตายคือ "สิ่งสามัญ" ที่ไม่มีใครหลีกหนีพ้น แต่การตายจากโรคระบาดในครั้งนี้ มันอาจจะไม่เกิดขึ้น หรือถ้าเกิดขึ้นตัวเลขของผู้เสียชีวิตที่รัฐเอาแต่พร่ำบอกกับเราว่า "เกิดจากโรคประจำตัว" และการตายในช่วงเวลานี้ จะไม่ออกมาในรูปแบบของ "การตายเพียงลำพังของผู้ตาย" ที่ต้องออกเดินทางจากโลกนี้ไปในวาระสุดท้ายเพียงผู้เดียว โดยที่ไม่มีแม้กระทั่งคำสั่งเสียครั้งสุดท้ายกับคนที่พวกเขารัก
หมายเหตุ: ข้อความในท่อนบนอาจจะไม่เกี่ยวโยงกับเนื้อหาของหนังสือโดยตรง หากแต่ถ้าเราอ่านเนื้อความในหนังสือให้ดี เราจะพบว่าการตายเพียงลำพัง และจากโลกนี้ไปเพียงผู้เดียว ไม่ใช่หนทางที่หนังสือเล่มนี้แนะนำแต่อย่างใด
หนังสือ : จากดับสูญสู่นิรันดร์
โดย : Caitlin Doughty แปล กัญญ์ชลา นาวานุเคราะห์
จำนวน : 240 หน้า
ราคา : 285 บาท
"จากดับสูญสู่นิรันดร์" หนังสือที่จะพาเราไปทบทวนวัฒนธรรมเกี่ยวกับ "ความตาย" และการจัดการความตายอย่างเป็นระบบตามความเชื่อของแต่ละวัฒนธรรม หรือที่หลายคนเรียกมันให้ดูศักดิ์สิทธิ์ว่า "พิธีกรรม" อาทิ พีธีสวดศพแบบพุทธ การฝั่งศพแบบอิสลาม หรือแม้กระทั่งการเผาและจัดการศพในแบบของอินเดีย แต่การจัดการในเรื่องของพิธีการใน "จากดับสูญสู่นิรันดร์" จะแตกต่างออกไปจากขนบเดิม ๆ ที่เราเคยเห็นหรือเคยเรียนรู้ผ่านมา
โดยที่ "จากดับสูญสู่นิรันดร์" ตั้งต้นคำถามของการเดินทางในการแสวงหาหรือนำพาผู้อ่านสู่เนื้อหาของการจัดการศพในแต่ละรูปแบบ แต่ละวัฒนธรรม แต่ละพิธีกรรม และแต่ละพื้นที่ ผ่านการตั้งคำถามถึง "การมองผู้ตาย" ว่าในแต่ละวัฒนธรรมหรือแต่ละที่ที่ผู้เขียนเข้าไปศึกษาและกล่าวถึงในหนังสือนั้นมองผู้ตายในฐานะของอะไร และการมองผู้ตายในฐานะแบบไหน พวกเขาก็จะจัดแจงโลกหลังความตายให้กับผู้ตายผ่านมุมมองที่พวกเขามอง
สำหรับหลายคนหนังสือเล่มนี้อาจจะดูแปลกออกไปเสียหน่อยเมื่อเริ่มอ่านในช่วงต้น เพราะ "จากดับสูญสู่นิรันดร์" จะพูดถึงทั้งเรื่องของ ความตาย คนตาย การเผาศพ การฟัง การฉีดยา และอื่น ๆ อีกมากมาย สำหรับใครที่ออกจะขวัญอ่อนเสียหน่อย อาจจะต้องพยายามอ่ายให้ผ่านในช่วงของบทที่ 1 ไปให้ได้ และคุณจะพบว่าตลอดเนื้อหาของ "จากดับสูญสู่นิรันดร์" โดยตลอดทั้งเล่ม ช่วยสะท้อนมุมมองในเรื่องของ "ความตาย" ในความรับรู้ของคุณให้เปลี่ยนแปลงไปบ้างไม่มากก็น้อย
เพราะอย่างน้อย ๆ "จากดับสูญสู่นิรันดร์" จะช่วยให้คุณไม่มองความตาย การตายและคนตายเป็นเพียง "ตัวเลข" แบบที่รัฐไทยกำลังทำ และ "จากดับสูญสู่นิรันดร์" จะช่วยให้คุณรับรู้ถึงความตายของผู้คนที่มากเกินไปกว่าคำว่า "เสียชีวิตเพราะมีโรคประจำตัว"
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in