รีวิวเว้ย (759) สำหรับหนังสือบางเล่มมันเป็นการยากมากที่เราจะรีวิว หรือพูดถึงหนังสือเล่มนั้น ๆ อย่างไร โดยเฉพาะเมื่อหนังสือเล่มนั้นเป็นหนังสือวิชาการในกลุ่มที่มุ่งเน้นในเรื่องของการอธิบายเชิงทฤษฎี และมันก็เป็นทฤศฎีที่เราในฐานะของผู้อ่านไม่มีความเชี่ยวชาญ หรือไม่ค่อยคิดที่จะเฉียดใกล้ทฤษฎีในกลุ่มนี้สักเท่าไหร่ แต่หน้าแปลกที่ตั้งแต่หน้าแรกของหนังสือกระทั่งถึงหน้าสุดท้ายมันสร้างความรู้สึกของการเปิดโลกให้กับเราในฐานะของผู้อ่านได้เป็นอย่างดี แต่ในท้ายที่สุดมันก็ยังยากอยู่ดีที่เราจะต้องรีวิวหนังสือเล่มนี้ให้ออกมาเป็นตัวอักษร
หนังสือ : AUTONOMIA ทุนนิยมความรับรู้ แรงงานอวัตถุ การเมืองของการปฏิวัติ
โดย : เก่งกิจ กิติเรียงลาภ
จำนวน : 302 หน้า
ราคา : 270 บาท
อาจจะเรียกได้ว่าหนังสือ "AUTONOMIA ทุนนิยมความรับรู้ แรงงานอวัตถุ การเมืองของการปฏิวัติ" คือการพูดถึงแนวคิดแขนงหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกัลทฤษฎีมาร์กซซิสต์ โดยเฉพาะทฤษฎีมาร์กซ์ของกลุ่มนักคิด Autonomia จากอิตาลี ที่สำนักคิดนี้มองถึงเรื่องของความเปลี่ยนแปลงของทฤษฎีมาร์กซิสต์ที่แตกต่างออกไปจากการศึกษางานของมาร์กซ์ในกลุ่มเดิม ๆ
โดยที่เนื้อหาใน "AUTONOMIA ทุนนิยมความรับรู้ แรงงานอวัตถุ การเมืองของการปฏิวัติ" ได้พูดถึงเรื่องของแนวคิด พื้นฐาน การถือกำเนิดขึ้นของสกุลความคิดแบบ Autonomia ที่ปรากฏขึ้นในสังคมอิตาลี โดยมีการพูดถึงการศึกษาของสำนักคิดดังกล่าวในมิติของ ทุนนิยมความรับรู้ แรงงานอวัตถุ และการเมืองของการปฏิวัติ ซึ่งมันยังรวมไปถึงเรื่องของวิถีของแรงงานและของผู้คนที่เปลี่ยนแปลงไปในโลกยุคปี 2000's ที่ถูกอธิบายด้วยแนวคิดของ Autonomia ได้อย่างน่าสนใจ โดยเฉพาะเนื้อหาในบทที่ 4 ที่พูดถึงเรื่องของ "ความป่วยทางจิตในระบบทุนนิยมสัญญะ และการปกปล่อยแบบจิตเภท" ที่หนังสือเล่มนี้ช่วยทำให้เรามองเห็นอีกด้าน และอีกมุมที่เราไม่เคยคาดคิดว่า "มันมองมาจากมุมแบบนี้ได้ด้วยหรอวะ"
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in