รีวิวเว้ย (753) ถ้าจะให้ลองพูดถึงประเทศไทย อาจจะต้องพูดถึงในหลายแง่ หลากมิติ เพราะประเทศนี้มีอะไรมห้พูดถึงและถามหาอยู่มากมาย ไม่เพียงเฉพาะเรื่องที่ดี แต่เรื่องที่ไม่ดีของประเทศนี้ก็ช่างมากหลายเสียเหลือเกิน โดยเฉพาะเรื่องราวของการที่เราหยิบเอาบางสิ่งบางอย่างในครั้งอดีตของประเทศนี้มาวางทาบลงในปัจจุบัน เราจะพบว่ามันทาบลงด้วยกันได้อย่างแนบสนิทจนน่าแปลกประหลาดใจ
นับตั้งแต่เรื่องของการรัฐประหาร ผู้นำที่โง่เขล่า รัฐบาลที่ขาดไร้ซึ่งประสิทธิภาพ ความเหลื่อมล้ำ และค่านิยมที่แปลกประหลาดนับแต่ครั้งอดีตกระทั่งปัจจุบันก็ยังสามารถทาบทับลงด้วยกันกับปัจจุบันได้อย่างสนิทแน่นไม่ผิดเพี้ยน นี่ยังไม่นับรวมซึ่งก่รพัฒนาของเทคโนโลยีบางแบบที่หยุดตัวเองมาเนิ่นนานและลากยาวมากระทั่งปัจจุบัน อาทิ ระบบราชการไทย ที่ถึงแม้จะมีการปฏิรูประบบราชการให้เป็นสมัยใหม่ แต่ค่านิยมในระบบราชการก็ยังหยุดนิ่งอยู่ในยุคศักดินา
อีกทั้งการขนส่งระบบรางอย่างรถไฟไทย ที่ไม่น่าเชื่อว่าเป็นเวลากว่า 100 ปีผ่าน การขนส่งระบบรางก็ดูจะย่ำหน้าก้าวหลังที่โดยสรุปแล้วอาจจะเรียกได้ว่าอยู่กับที่และไม่ไปไหนมาเป็นเวลากว่า 100 ปี เมื่อเป็นเช่นนั้นจะแปลกอะไรที่วรรณกรรมที่ถูกเขียนและตีพิมพฺมาแล้วเป็นเวลากว่า 60 ปีอย่าง "ฟ้าบ่กัน" ที่ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2501 ยังคงสามารถสะท้อนภาพของสังคมไทยในปัจจุบันได้เป็นอย่างดีและชัดเจน นี่ไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่วรรณกรรมอายุใกล้ร้อยยังคงอธิบายบริบทของสังคม และความเหลื่อมล้ำของประเทศนี้ได้อย่างชัดแจ้ง นั่นอาจอนุมานได้กว่าเป็นเวลาใกล้ร้อย ที่ประเทศนี้แทบไม่มีสิ่งใดเปลี่ยนแปลง
หนังสือ : ฟ้าบ่กั้น
โดย : ลาว คำหอม
จำนวน : 240 หน้า
ราคา : 250 บาท
"ฟ้าบ่กั้น" วรรณกรรมไทยที่ถูกตีพิมพ์ขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2501 และยังคงถูกตีพิมพ์ตลอดมากระทั่งถึงฉบับปัจจุบัน (2563) "ฟ้าบ่กั้น" รวบรวมเอาเรื่องสั้นที่ตีแผ่ภาพของสังคมไทยในครั้งอดีต ทั้งในเรื่องของคติ คสามเชื่อ ค่านิยม รูปแบบสังคมและคสามเหลื่อมล้ำต่ำสูงทั้งทางสถานะของคนในสังคม และระบบของสังคมมี่กดคนให้ต่ำลงเพื่อเป็น "ข้า-ทาส" ของทั้งคนและระบบมาตั้งแต่ครั้งอดีต
โดยที่เรื่องสั้นเรื่องต่าง ๆ ที่ปรากฎใน "ฟ้าบ่กั้น" คือการฉายภาพของสังคมไทยในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวโยงกับประเด็นก่อนหน้าให้เห็นอย่างเด่นชัดและเป็นรูปธรรม แต่คสามน่าแปลกใจอย่างหนึ่งของ "ฟ้าบ่กั้น" คือเรื่องสั้นต่าง ๆ ที่อยู่ในหนังสือเล่มนี้ หากเราในฐานะผู้อ่านลองอ่านและหยิบเอาเรื่องราวเหล่านั้นมาวางทาบลงในบริบทของสังคมไทยในปัจจุบัน เราจะพบว่าเรื่องราวเหล่านั้นสามารถวางทับลงไปในบริบทปัจจุบันของประเทศไทยได้อย่างพอเหมาะพอดี
อาจจะเรียกได้ว่าช่วงเวลาของประเทศไทยที่ผ่านมากว่า 60 ปีนับจากวันที่ "ฟ้าบ่กั้น" ตีพิมพ์ครั้งแรก (2501) กระทั่งถึงปัจจุบัน (2563) ความเปลี่ยนแปลงในหลายบริบทของสังคมนี้ดูจะไม่เปลี่ยนไปเลยแม้แต่น้อย อาจจะมีแค่เรื่องของการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาเชิงพื้นที่ที่เปลี่ยนไป แต่หากมองให้ลึกเข้าไปถึงบริบทของสังคม ค่านิยม ความเหลื่อมล้ำ ความเชื่อ เราจะพบว่ากว่า 60 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยยังคงเหยียบย่ำย้ำอยู่กับที่ในเรื่องเหล่านี้ และดู ๆ ไปแล้วหลายเรื่องกำลังจะย้อนกลับไปในยุคก่อนหน้าก่อนที่ "ฟ้าบ่กั้น" จะเขียนขึ้นมาเสียด้วยซ้ำไป
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in