เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ญี่ปุ่นที่ยังไม่รู้จัก By ปิยดา ชลวร เขียนและบรรณาธิการ
  • รีวิวเว้ย (702) ในวันที่ญี่ปุ่นถูกนับให้มีสถานะใกล้เคียงกลับกับจวัดหนึ่งที่อยู่ใกล้กรุงเทพฯ เพราะในช่วงเวลาก่อนการระบาดของ COVID-19 การไปเที่ยวญี่ปุ่นของคนไทยนั้นดูไม่ต่างอะไรกับการเดินทางจากสยามไปพระราม 2 เพราะคนไทยไปกันเยอะ บ่อย และบางคนเข้าขั้นบ่อยมาก ซึ่งนอกจากการท่องเที่ยวญี่ปุ่นของคนไทยจะกลายเป็นเรื่องปกติแล้ว หนังสือเรื่องเกี่ยวกับญี่ปุ่นก็ถูกผลิตขึ้นในปริมาณมากทั้ฝจำนวนปกและจำนวนเล่ม รวมไปถึงจำนวนเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นหนังสือท่องเที่ยว หนังสือรวมอาหารจานใหญ่ หนักสือแนะนำการเที่ยววัด หนังสือแนะนำสวนสาธารณะ หนังสือแนะนำอื่น ๆ อีกมากมาย รวมไปถึงการศึกษาในวงวิชาการไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเมืองญี่ปุ่น หรือแม้กระทั่งการจัดทำบริการสาธารณะต่าง ๆ ของญี่ปุ่นก็ถูกผลิตและปรากฎขึ้นเป็นจำนวนมากเช่นกัน เรียกได้ว่าเมื่อเห็นหนังสือสักเล่มตั้งชื่อหนังสือว่า "ญี่ปุ่นที่ยังไม่รู้จัก" และตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2563 ทำให้เราในฐานะของผู้อ่านสนใจเป็นอย่างยิ่งว่าการจะตั้งชื่อหนังสือแบบนี้ได้แปลว่าผู้เขียนต้องมั่นใจว่าหนังสือเล่มนี้จะนำเสนอเรื่องราวของญี่ปุ่นในมิติที่ยังไม่มีใครเคยเขียนถึง และไม่มีใครเคยทำข้อมูลเอาไว้ในภาษาไทย 
    หนังสือ : ญี่ปุ่นที่ยังไม่รู้จัก
    โดย : ปิยดา ชลวร เขียนและบรรณาธิการ
    จำนวน : 168 หน้า
    ราคา : 120 บาท 

    หนังสือ "ญี่ปุ่นที่ยังไม่รู้จัก" เป็นหนังสือขนาดเล็กที่รวมเอานักเขียนและนักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของญี่ปุ่นในหลากหลายมิติมาร่วมกันเขียนบทคสามขนาดสั้น ที่ทำหน้าที่ในการบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ของประเทศญี่ปุ่นได้อย่างน่าสนใจ โดยที่เนื้อหาภายใน "ญี่ปุ่นที่ยังไม่รู้จัก" ประกอบไปด้วยบทความที่มาจากหลากหลายมิติทั้งเรื่องของ ประวัติศาสตร์ ความเชื่อ วัฒนธรรม ประชากรศาสตร์ พฤติกรรมศาสตร์ รวมไปถึงเรื่องของศาสนาที่ปรากฎขึ้นในญี่ปุ่น 

    นอกจากนั้นแล้ว "ญี่ปุ่นที่ยังไม่รู้จัก" ยังทำหน้าที่ได้ตรงตามชื่อหนังสือ เพราะเรื่องเล่าที่ถูกเขียนถึงในหนังสือเล่มเล็กเล่มนี้นั้น เป็นเรื่องที่ยังไม่เป็นที่รู้จักของคนไทยเท่าไหร่นัก เพราะด้วยลักษณะของงานเขียนที่มีรูปแบบของงานกึ่งวิชาการ ที่ถูกเขียนโดยนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญทั้งของประเทศไทยที่สอนหนังสือและใช้ชีวิตอยู่ในญี่ปุ่น และจากคนญี่ปุ่นเป็นผู้เขียนเอง ทำให้มิติของเรื่องเล่าต่าง ๆ ใน "ญี่ปุ่นที่ยังไม่รู้จัก" ถือได้ว่าเป็นการเปิดประสบการณ์ในการเรียนรู้ ทำความเข้าใจ และทำความรู้จักกับประเทศญี่ปุ่นในมิติที่หลากหลายมากยิ่งขึ้นไปอีก จากเดิมที่คนไทยก็แทบจะรู้จักญี่ปุ่นในหลากมุม หลายด้าน หลากมิติอยู่แล้วจากการท่องเที่ยวญี่ปุ่นในช่วงที่ผ่านมา

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in