เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
การปกครองท้องถิ่นในมณฑลซานตง By นิยม รัฐอมฤต
  • รีวิวเว้ย (647) รีวิวเว้ย × สำนักงานสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    ลองค้นคำว่า "ซานตง" ใน google และพบว่าสิ่งที่ค้นพบอันแรกคือข้อมูลของซานตงใน Wikipidia ที่เขียนเกี่ยวกับซานตงเอาไว้ดังนี้

    ... มณฑลชานตง (จีนตัวย่อ: 山东省; จีนตัวเต็ม: 山東省; พินอิน: Shāndōng shěng) ใช้ตัวย่อว่า 鲁 (หลู่) ที่มาของชื่อมณฑลชานตงมาจากคำว่า ชาน (山, shān) ที่หมายถึงภูเขา และคำว่า ตง (东, dōng) ที่หมายถึงทิศตะวันออก มณฑลชานตงมีเมืองหลวง (เมืองใหญ่สุด) คือเมืองจี๋หนาน มณฑลนี้มีเนื้อที่ 156,700 ตารางกิโลเมตร (อันดับที่ 20 ของจีน) แต่มีประชากรมากเป็นอันดับสองของจีน คือประมาณ 91,800,000 คน (2004) มีความหนาแน่นของประชากรเท่ากับ 586 คนต่อตารางกิโลเมตร นับเป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นมากเป็นอันดับ 5 ของจีน ตัวเลข GDP รวมในปี พ.ศ. 2547 สูงถึงประมาณ 1.55 ล้านล้านดอลลาร์ เป็นมณฑลที่ทำเงินได้มากเป็นอันดับสองของจีน ประชากรส่วนใหญ่เป็นชนชาติฮั่น (Han) ซึ่งมีมากถึง 99.3% ... (https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B8%A5%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%87) นี่เป็นข้อมูลทั้งหมดของวิกิพีเดียภาษาไทยเกี่ยวกับ "ซานตง" ลองคิดเล่น ๆ ว่าซานตงคงเป็นมณฑลที่คน "คงไม่ค่อยให้ความสำคัญ" เท่าไหร่นักเพราะขนาดข้อมูลในวิกิพีเดียภาษาไทยยังมีอยู่เพียงไม่กี่ย่อหน้า นั่นทำให้เราเกิดคำถามขึ้นมาในหัวว่า "ทำไมซานตงจึงไม่เป็นที่สนใจของคนไทย" (?) ซึ่งเราก็ไม่ได้หาคำตอบใด ๆ ต่อเกี่ยวกับคำถามที่คิดขึ้นมาในหัว เพราะมันก็แค่คิด (แต่) ไม่ถึงขั้นลงมือทำ จนเมื่อสำนักงานสัญญาฯ ได้ส่งหนังสือ "การปกครองท้องถิ่นในมณฑลซานตง" มาให้อ่าน เราจึงได้รู้ว่า "ซานตง มีอะไรมากกว่าที่ในวิกิพีเดียภาษาไทยบอกเอาไว้" โดยเฉพาะเรื่องของระบบการปกครองใน "มณฑล" ที่ไม่ใช่เฉพาะของซานตงเท่านั้นที่เราไม่เข้าใจ แต่รวมไปถึงระบบการปกครองเกือบทั้งระบบของประเทศจีนด้วยซ้ำไปที่หาหนังสือหรือหาความรู้จากแหล่งที่เป็นภาษาไทยได้ยากยิ่งเหลือเกิน
    หนังสือ : การปกครองท้องถิ่นในมณฑลซานตง
    โดย : นิยม รัฐอมฤต
    จำนวน : 200 หน้า
    ราคา : 170 บาท

    "การปกครองท้องถิ่นในมณฑลซานตง" บอกเล่าเรื่องราวของซานตงที่มากไปกว่าเรื่องของรูปแบบของการปกครองท้องถิ่นในมณฑลแต่เพียงเท่านั้น หากแต่ "การปกครองท้องถิ่นในมณฑลซานตง" ได้รวบรวมเรื่องราวของซานตงตั้งแต่ประวัติความเป็นมาของพื้นที่ที่นับย้อนไปได้ไกลถึงยุคชุนชิว และยังคงบอกเล่าเรื่องราวของบุคคลสำคัญที่เกิดและเติบโตอยู่ในพื้นที่ของซานตงในยุคอดีต อาทิ ขงจื่อ ม่อจื่อ ที่เป็นสองนักคิดคนสำคัญที่มีหลักฐานบันทึกเอาไว้ว่าเป็นคนสำคัญของมณฑลซานตงมาตั้งแต่ครั้งอดีต

    นอกจากนั้นแล้ว "การปกครองท้องถิ่นในมณฑลซานตง" ยังบอกเล่าเรื่องราวพื้นฐานต่าง ๆ ของซานตงทั้งเรื่องของลักษณะพื้นที่ จำนวนประชากร รายได้เฉลี่ยของคนในพื้นที่ และรายได้โดยรวมของพื้นที่ในแต่ละปี รวมถึง "การปกครองท้องถิ่นในมณฑลซานตง" ยังทำหน้าที่ในการบอกเล่าถึงรูปแบบของระบบการปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในพื้นที่มณฑลซานตง และรวมไปถึงหน่วยงานของรัฐต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ในการบริหารจัดการพื้นที่ของมณฑล

    โดยข้อเสนอที่สำคัญของ "การปกครองท้องถิ่นในมณฑลซานตง" คือการชี้ให้เห็นถึงรูปแบบของการปกครองท้องถิ่นในมณฑลซานตงที่มีพลวัตรในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของระบบแนวคิดในการปกครองท้องถิ่น จากที่ครั้ฝอดีตมุ่งเน้นในเรื่องของการกำกับดูแลและควบคุมประชาชนผ่านกลไกของระบบการปกครองท้องถิ่นเป็นสำคัญ มาสู่รูปแบบของการปกครองท้องถิ่นที่ขยับบทบาทมาสู่หน้าที่ของผู้จัดทำบริการสาธารณะ ให้บริการประชาชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ของมณฑลซานตงให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

    อาจจะเรียกได้ว่า "การปกครองท้องถิ่นในมณฑลซานตง" คือหนังสือที่ถ่ายทอดเรื่องราวของพื้นที่มณฑลซานตงในหลากหลายมิติที่เน้นจุดสำคัญในเรื่องของมิติทางด้านการปกครองท้องถิ่นในพื้นที่ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญและความสัมพันธ์ของกลไกของระบบการปกครองท้องถิ่นที่ถูกปรับปรุงขึ้นใหม่เพื่อใช้ในการพัฒนาศักยภาพของพื้นที่ และศักยภาพของคนในพื้นที่ ซึ่งไม่น่าแปลกใจว่าเพราะเหตุประเทศจีนจึงพัฒนาขึ้นมาอยู่แถวหน้าของโลกอย่างก้าวกระโดด เพราะเมื่ออ่าน "การปกครองท้องถิ่นในมณฑลซานตง" จบเราว่าเราพบจิ๊กซออีกชิ้นหนึ่งที่จะช่วยตอบคำถามถึงการพุ่งทะยานขึ้นอย่างมากของประเทศจีนในยุคปัจจุบัน

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in