รีวิวเว้ย (638) รีวิวเว้ย × สำนักงานสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
หลายวันที่ผ่านมาถ้าเราเลื่อน ๆ ดูตามหน้าสื่อออนไลน์ อาทิ Facebook และ Twitter เราจะพบคำถามที่มุ่งไปในแนวทางเดียวกันอย่าง "เราจะมี ส.ว. ไปเพื่ออะไร" บางก็มีข้อความออกไปในแนวตั้งคำถามเชิงรุกว่า "ส.ว. = ถ่วงประเทศ" (คงหมายถึงให่ ส.ว. ลุกออกไปอะนะ) และไหนจะความเห็นของนักวิชาการหลาย ๆ ท่านที่ตั้งคำถามถึงความเหมาะสมของสมาชิกวุฒิสภาทั้ง 250 คนที่มาตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ว่าเราจะมีพวกเขาไว้ทำไมกันหว่า (?) และคำถาม ความเห็น ฯลฯ มุ่งหน้าสู่คำถามสำคัญข้อเดียวกันคือ "หรือเราควรจะกลับไปสู่รูปแบบของสภาเดี่ยว (?)" สภาเดียวที่ไม่จำเป็นต้องมีสมาชิกวุฒิสภานั่งอยู่ในสภาด้วยก็ได้ เพราะใช้ว่าจากรัฐธรรมนูญกว่า 20 ฉบับที่ประเทศไทยมีมา รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับก็ไม่ได้กำหนดว่าประเทศเราต้องเป็น "สองสภา" ในทุกฉบับเสียเมื่อไหร่ เพราะเมื่อเราแยกดูจริง ๆ แล้วเราแทบจะพบว่ารัฐธรรมนูญจากสยามถึงไทยครึ่งต่อครึ่งเคยกำหนดให้สยามถึงไทยใช้ระบบสภาเดี่ยวและสภาคู่มาแล้วโดยที่มีการใช้ทั้ง 2 รูปแบบสลับกันไปมาอยู่เป็นระยะ ๆ ตชอดช่วงเวลานับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 กระทั่งปัจจุบัน
หนังสือ : วุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญไทย
โดย : ศิวณัฐภรณ์ นันทะมา
จำนวน : 120 หน้า
ราคา : หนังสือโดยสำนักงานสัญญาฯ
"วุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญไทย" เป็นหนังสือวิชาการเล่มเล็กที่ถูกจัดทำขึ้นโดยสำนักงานสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อส่งมอบความรู้ทางด้านวิชาการในลักษณะของ "งานวิชาการฉบับกระทัดรัด" ให้กับสังคมไทย โดยมีความมุงหวังที่จะนำเสนอองค์ความรู้ทางด้านวิชาการที่อ่านง่าย อ่านสนุก และตอบโจทย์คำถามบางอย่างของสังคม
"วุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญไทย" เป็นหนังสือลำดับที่ 2 ในชุด "เอกสารชุดความรู้ว่าด้วยสถาบันการเมือง" โดย "วุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญไทย" ได้รวบรวมข้อมูลในเรื่องของระบบวุฒิสภาที่มีการปรากฎขึ้นในรัฐธรรมนูญไทย นับตั้งแต่ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 กระทั่งถึงรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (2560) โดย "วุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญไทย" ได้ทำการศึกษาถึงรูปแบบและความสำคัญของคำถามสำคัญ 2 ข้อ ได้แก่ (1) ระบบสองสภามีความสำคัญอย่างไร และ (2) เราจำเป็นที่จะต้องใช้ระบบสองสภาจริงหรือไม่และตลอดระยะเวลาของประวัติศาสตร์รัฐธรรมนูญไทย เราใช้ระบบสองสภาหรือใช้ระบบสภาเดี่ยวมาแล้วกี่ครั้ง
ข้อค้นพบสำคัญของ "วุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญไทย" ปรากฎว่สแท้จริงแล้วตลอดระยะเวลาของระบอบรัฐสภาของไทยนั้น เรามีการเปลี่ยนแปลงและเลือกที่จะหยิบใช้ทั้งระบบสองสภาและสภาเดี่ยวอยู่บ่อยครั้ง โดยที่ทั้งสองระบบนั้นต่างก็มีทั้งข้อดีและข้อด้อยที่แตกต่างกัน แต่จะแตกต่างกันอย่างไรนั้นก็เป็นหน้าที่ของผู้อ่านที่ต้องหาคำตอบด้วยตัวเอง
แน่นอนว่าเมื่อหนังสือเล่มนี้เป็นหนึ่งในชุด #เอกสารชุดความรู้ว่าด้วยสถาบันการเมือง ย่อมต้องมีหนังสือเล่มอื่น ๆ ที่กำลังจะตามมาในชั่วเวลาอีกไม่กี่อึดใจ #โปรดอดใจรอสักครู่
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in