รีวิวเว้ย (574) ในช่วงที่ผ่านมาหลายคนน่าจะได้ยินคำพูดจาก ปย. ว่า "ขอทุกคนอย่าเกลียดชาติตัวเองเลย" เอาจริง ปย. ดูจะ ปยอ. กับการที่ออกมาบอกทุกคนว่า "การด่า ปย. คือการแสเงให้เห็นถึงการเลียดชาติของตัวเอง" น่าสนใจว่าคนอย่าง ปย. ถูกเลี้ยงดูมาอย่างไร ในสังคมแบบเผด็จการอำนาจนิยมจากค่ายทหาร ถึงแก่ตัวลงแล้วได้ ปยอ. ถึงขนาดเข้าใจว่า "ด่า ปย. = ด่าชาติ = ชังชาติ" ปัญหาสำคัญของการเกิดขึ้นของสภาวะ ปยอ. ของ ปย. ในครั้งนี้ คงต้องย้อนกลับไปหาข้อถกเถียงสำคัญ และเป็นข้อถกเถียงที่เดียวมาเดียวจบ เดียวจบ เดียวไม่จบ ในวงการการศึกษาของสายสังคมศาสตร์ ที่รวมเอาศาสตร์ทางด้านสังคมหลาย ๆ สายเข้ามาร่วมวงถกเถียงกันถึงเรื่องของโจทย์หลักสำคัญอย่าง "อะไรคือชาติชาติคืออะไร (?)/ What is a Nation (?)" และ "ชาติเกิดขึ้นเมื่อไหร่เมื่อใดจึงเป็นชาติ (?)/ When is a nation (?)" ทั้งสองคำถามนี้เป็นคำถามสำคัญของวงการการศึกษาที่ไม่ใช่เฉพาะในสาขาวิชารัฐศาสตร์เท่านั้น เพราะการกำหนดว่าอะไรคือชาติและชาติเกิดขึ้นเมื่อไหร่ เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการวางกรอบการศึกษาในทางวิชาการของสังคมศาสตร์หลายแขนง สำหรับใครที่แสวงหาคำตอบของคำถามแรกว่า "อะไรคือชาติชาติคืออะไร (?)/ What is a Nation (?) สามารถไปหาคำตอบได้จากหนังสือเล่มนี้ https://minimore.com/b/Us3Wj/71 และสำหรับใครที่แสวงหาคำตอบของคำถามข้อที่สองที่ว่า ชาติเกิดขึ้นเมื่อไหร่เมื่อใดจึงเป็นชาติ (?)/ When is a nation (?) ก็เหมาะที่จะอ่านหนังสือเล่มที่กำลังถูกพูดถึงอยู่นี้
หนังสือ : When is a nation ? เมื่อใดจึงเป็นชาติ
โดย : แดเนียล คอนเนอร์ ดี. สมิท เบรยยี่
จำนวน : 310 หน้า
ราคา : 360 บาท
"When is a nation ? เมื่อใดจึงเป็นชาติ" หนังสือที่รวบรวมเอาบทความของนักวิชาการจำนวน 4 คน ที่สร้างข้อถกเถียงให้กับวงวิชาการในเรื่องของการเกิดขึ้นของชาติ ภายใต้กรอบเรื่องของ "When is a nation" เป็นสำคัญ โดยที่บทความที่ถูกคัดเลือกมาแปลในหนังสือเล่มนี้เป็นบทความที่อาจจะเรียกได้ว่ามีความเกี่ยวเนื่องกันในเรื่องของการต่อยอดจากชิ้นงานแต่ละชิ้น เพื่อสร้างข้อถกเถียง แสวงหาคำตอบ และเปิดประเด็นในเรื่องของการขยายขอบเขตของความรับรู้และความเข้าใจในเรื่องของการเกิดขึ้นของชาติ ว่าข้อถกเถียงสำคัญ ๆ เกี่ยวกับ "เมื่อใดจึงเป็นชาติ" นั้นมีแนวทางอย่างไรบ้าง และมีการนำเสนอมุมมองจากสำนักคิดต่าง ๆ เอาไว้เช่นใดกัน
นอกจากบทความที่ถูกรวบรวมมาแปลภายใต้ประเด็นร่วมอย่าง "เมื่อใดจึงเป็นชาติ" แล้ว บทนำของหนังสือเล่มนี้ที่ถูกเขียนขึ้นใหม่โดย ธเนศ วงศ์ยานนาวา ก็สนุกไม่แพ้กัน เพราะบทนำของหนังาอเล่มนี้ได้ท้าทายและตั้งข้อสังเกตุในเรื่องของความเป็นชาติเอาไว้ได้อย่างน่าสนใจ ทั้งเรื่องของการเกิดขึ้นของชาติ การเกิดขึ้นของข้อถกเถียง และการคำตอบหรือทางออกจากประเด็นดังกล่าวมันได้นำพาเอาวงวิชาการที่กำลังปสวงหาคำตอบในเรื่องนี้พัดพาไปอยู่ตรงพื้นที่ใดของกระแสการศึกษา
แน่นอนว่าหนังสือเล่มนี้ เป็นการรวบรวมเอาประเด็นในเรื่องของคำถามใหญ่อย่าง "เมื่อใดจึงเป็นชาติ" เอาไว้ร่วมกัน ทำให้ข้อสรุปสุดท้ายของหนังสือเล่มนี้ จะเกิดขึ้นจากตัวของผู้อ่านเองเป็นสำคัญ ซึ่งความน่าสนุกของหนังสือเล่มนี้คือ เมื่ออ่านจบเราอาจจะได้ข้อสรุปที่ไม่ได้ตรงกันแบบ 100% หรือบางครั้งเราในฐานะของผู้อ่านเอง อาจจะเปลี่ยนไปเป็นผู้ร่วมถกเถียงในประเด็นดังกล่าว หลังจากที่อ่านหนังสือเล่มนี้จบลง
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in