รีวิวเว้ย (568) หากเรรจะพูดว่า "การศึกษา" ในรูปแบบของโรงเรียน โดยเฉพาะในประเทศไทย เป็นสถานที่หนึ่งที่ผลิตซ้ำค่านิยมและคตินิยมในเรื่องของ "อำนาจนิยม" ในสังคมไทยอย่างเข้มแข็งโคตร ๆ สถานที่หนึ่ง ไม่แพ้โครงสร้างของระบบทหารเลยด้วยซ้ำไปในบางขณะ ก๋คงจะเป็นคำพูดที่ไม่เกินจริงจนเกินไปนัก โดยเฉพาะสมัยที่เราเองยังเป็นเด็กนักเรียนที่นั่งหน้างง ๆ อยู่ในโรงเรียนอยู่ แล้วก็ไม่รู้ว่าทำไมเราถึงต้องมาทนกับเรื่องของการใช้อำนาจของคนในโรงเรียนทั้งจาก "ครู" และ "รุ่นพี่ที่โตกว่า" โดยที่เราเองก็ไม่คิดจะตั้งคำถาม ซึ่งเอาเข้าจริงในตอนนั้นเราเองก็แทบมองไม่เห็นเลยว่ากระบวนการทั้งหมดที่ดำเนินไปในโรงเรียนในสมัยที่เราเป็นเด็กนั้นมันคือกระบวนการในการกล่อมเกลาให้เรายอมรับสภาพของความเป็นสังคม "อำนาจนิยม" ไปในตัว เพราะช่วงเวลานั้นเราไม่แม้แต่จะกล้าที่จะลุกขึ้นตั้งคำถามกับครูว่า "ตีกูทำเหี้ยไรเนี่ กูทำไรผิด" ซึ่งเราก็ทำอะไรได้ไม่มากนอกไปจากแบมือให้ครูตี และก็คิดในใจเอาเองว่า "นี่คงเป็ยคสามผิดของกู" (ทั้งที่กูไม่ณุ้ว่ากูผิดเหี้ยอะไร) สมัยเด็กมีอยู่ครั้งหนึ่งในวิชาภาษาอังกฤษ ในคาบนั้นครูเรียกเพื่อนที่นั่งข้าง ๆ เราให้ตอบคำถาม แต่เพื่อนตอบไม่ได้ครูเลยเดินมา "ตี" เพื่อนคนนั้นโทษฐายที่ตอบไม่ได้ และครูก็ลามปามมาตี "กูด้วย" ในโทษฐานที่ไอ้เพื่อนเหี้ยที่นั่งข้าง ๆ "ตอบคำถามครูไม่ได้" และวันนั้นเองเป็นวันที่เราคิดขึ้นมาได้ว่า "เรื่องเหี้ย ๆ แบบนี้แม่งไม่ใช่ละ" เราเลยถามครูออกไปตรง ๆ ว่า ตีผมเพื่ออะไร (?) เพราะเพื่อนตอบไม่ได้หรอ (?) และยังไงตีผมจะช่วยให้เพื่อนตอบได้รึก็เปล่า (?) และประโยคเด็ดที่จำได้จนทุกวันนี้ก็คือ "นี่ครูตลกหรือว่าไม่ทันคิดว่าการใช้คสามรุนแรงไม่ใช่ทางออกของการแก้ปัญหากันแน่ครับ การที่เด็กตอบไม่ได้บางครั้งมันแาจจะมาจากการสอนของครูก็ได้นะครับ (!)" หลังจากนั้นก็แน่นอนสำหรับการศึกษาไทยที่ระบบอำนาจนิยมในโรงเรียนเป็นใหญ่ คำถามของเด็กนักเรียนคือการโยนคบไฟใส่ปั้มน้ำมันดี ๆ นี่เอง จำได้ว่าวันนั้น "ครูระเบิดลง" และด่าเปะปะไปทั่ว แต่ก็โชคดีที่ตอนนั้นสถานะของความเป็น "ประธานนักเรียน" ช่วยให้การโต้คารมระหว่างครูกับนักเรียนดูมีภาษีมากขึ้น และหลังจากนั้นโรงเรียนก็เปลี่ยนครูที่จะมาสอนวิชาภาษาอังกฤษที่ห้องเป็นครูคนอื่นแทน และกูก็กลายเป็นตำนานของ "เด็กนรกเถียงครูจนครูสู้ไม่ได้" ของโรงเรียนนั้นไป และการปลดล็อคตัวเองในวันนั้นทำให้เราเลือกทางเดินของตัวเองมาจนถึงทุกวันนี้ โชคดีอีกอย่างของเราคือคนในครอบครัว "คอยสนับสนุน" อยู่เสมอตั้งแต่ตอนก่อนจะเถียงกับครู จนถึงทุกวันนี้ครอบครัวก็ยังคงสนับสนุนเราให้เป็นเราอย่างในปัจจุบัน
หนังสือ : การศึกษาของกระป๋องมีฝัน
โดย : สะอาด
จำนวน : 320 หน้า
ราคา : 295 บาท
"การศึกษาของกระป๋องมีฝัน" เป็นหนังสือที่บอกเล่าเรื่องราวของชีวิตตัวละครที่ผู้เขียนถ่ายทอดคสามเป็นตัวเอง ให้เห็นในเรื่องของการตั้งคำถามกับ "ระบบการศึกษา" ของประเทศไทย นับตั้งแต่ชีวิตช่วงต้นของการเข้าเรียนในระดับอนุบาล แต่สำหรับบางคนมันก็เริ่มขึ้นตั้งแต่ระดับก่อนอนุบาลด้วยซ้ำไป ไล่มาจนถึงหลังการเรียนจบในระดับอุมดศึกษาและออกเผชิญโลกแห่งความเป็นจริงในเรื่องของการทำงานและการใช้ชีวิต
"การศึกษาของกระป๋องมีฝัน" ชักชวนให้เรา "ตั้งคำถาม" กับทั้งตัวเราเองและกับระบบการศึกษาของประเทศไทย ตั้งแต่เรื่องของระบบการศึกษาที่มุ่งสร้างคยให้ออกมาจากเครื่องพิมพ์เครื่องเดียวกันตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงมันธยมปลาย และหลายครั้งในระดับอุดมศึกษาเครื่องพิมพ์และแม่พิมพ์นั้นก็ยังคงทำงานอยู่ สำหรับบางคนมันก็อยู่มาจนกระทั้งถึงทายาทรุ่นต่อมาด้วยซ้ำไป
ประเด็นสำคัญของ "การศึกษาของกระป๋องมีฝัน" คือการชี้ให้เราเห็นถึง "ความไม่ปกติ" ของระบบการศึกษาไทย ที่มันซ่อนตัวอยู่ในระบบดังกล่าวมาแสนนานจนเรามองว่าในเป็น "ปกติ" ทั้งที่จริง ๆ แล้วมันไม่ใช่ ไหนจะเรื่องของ "ระบบอำนาจนิยม" ในโรงเรียนและในระบบการศึกษา "การใช้ความรุนแรง" โดยไม่มีเหตุจำเป็นและสมควร (ถึงมีเหตุสมควรการใช้ความรุนแรงก็ไม่ใช่สิ่งพึงกระทำอยู่ดี) และไฟนงงหนจะเรื่องของ "การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล" ที่โรงเรียนหรือระบบการศึกษาแบบอำนาจนิยมของไทย ทำให้เรามองสภาวะในลักษณะนี้ในฐานะของสภาวะ "ยกเว้นที่ถูกต้อง" ซึ่งมรดกของการปลูกฝังให้ยอมรับทัศนะในลักษณะนี้มัน "สะท้อนอยู่ในสังคมปัจจุบัน" อาทิ เรื่องของการนิยมความรุนแรง การนิยมการใช้อำนาจนิยมและอำนาจพิเศษ และรวมไปถึงกางสภาวะของการสมยอมต่อความอยุติธรรม ที่ระบบการศึกษาของไทยเองก็เป็นส่วนหนึ่งในการเลี้ยงให้เราในฐานเยาวชนของชาติเกิดอาการ "เชื่อง" ต่อระบบไม่ต่างไปจากสัตว์เลี้ยงตัวหนึ่งก็เท่านั้น
"การศึกษาของกระป๋องมีฝัน" สะท้อนสภาพชีวิตของผู้เขียน และของเราในฐานะของผู้อ่าน ที่เผชิญปัญหาดังกล่าวมาในแบบที่ใกล้เคียงกัน แต่ในปัจจุบันปัญหาดังกล่าวก็ยังคงมีอยู่ในระบบการศึกษาและสังคมไทย แต่อาจจะมีจำนวนลดลงบ้างเพราะทุกวันนี้เยาวชนของชาติ "คิดเองได้" และ "ตั้งคำถามเป็น" อาจจะด้วยเพราะการเปลี่ยนแปลงของโลกและสังคมในช่วงหลาย 10 ปีที่ผ่านมา ทำให้ "ระบบอำนาจนิยมในระบบการศึกษา" เริ่มถูกสั่นคลอนและตั้งคำถาม แต่ก็ยังมีปัญหาสำคัญอีกประหารหนึ่งที่ปรากฎอยู่ใน "การศึกษาของกระป๋องมีฝัน" ที่ยังคงชัดเจนอยู่ในสังคมปัจจุบันด้วยเช่นกัน แต่ก็น่าดีใจที่ปัญหาดังกล่าวก็กำลังถูกท้าทายมากยิ่งขึ้นในทุกวันนี้ และเราในฐานะของผู้อ่านก็เชื่อเหลือเกินว่าอีกไม่นานปัญหาและคำถามที่ถูกพูดถึงในเล่ม "การศึกษาของกระป๋องมีฝัน" จะต้องถูกท้าทายและเผชิญการตั้งคำถามไปจนถึงอาจจะเผชิญการเปลี่ยนแปลงในอนาคตอันใกล้นี้ก็เป็นได้
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in