รีวิวเว้ย (562) วันที่เขียนรีวิวอยู่นี้ตรงกับวันที่ 22 พฤษภาคม 2563 ถ้าเป็นเมื่อกว่า 6 ปีก่อนวันนี้ก็เป็นแค่วันธรรมดา ๆ วันหนึ่งไม่ได้มีความสลักสำคัญใด ๆ อาจจะเป็นแค่วันเกิดของเพื่แนบางคนบนโลกออนไลน์ แต่ถ้าย้อนกลับไปในวันเดียวกันเมื่อปี พ.ศ. 2557 เวลา 16.00 โดยประมาณ ได้เกิดเหตุการสำคัญในการเมืองไทยขึ้นอย่างหนึ่ง นั่งคือการเกิดการรัฐประหารขึ้นอีกครั้งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ภายหลังจากที่ห่างหายไปเพียงแค่ 8 ปีเท่านั้น และการรัฐประหารในครั้งนี้หลายคนบอกกันว่าเป็นการ "แก้มือ" จากการทำรัฐประหารครั้งก่อน ทีทำงานบางอย่างไม่สำเร็จ เราจึงจะเห็นว่าในการรัฐประหารครั้งนี้ "คณะรักษาคสามสงบแห่งชาติ" ดูจะเอาจริงเอาจังกับการแก้ไขอะไรบางอย่างให้เข้าที่เข้าทาง เหมือนกับว่าพยายามจัดรูปแบบของอะไรบางอย่างให้มันเป็นอย่างที่คนบางคนหรือบางกลุ่มอยากให้เป็น ซึ่งแน่นอนว่าข้ออ้างในการทำรัฐประหารครั้งนี้ก็ไม่จงต่างกับหลาย ๆ ครั้งที่ผ่านมา คือ บ้านเมืองเกิดปัญหาที่ไม่อาจแก้ไขได้ เกิดความแตกแยก แบ่งฝ่ายอย่างชัดเจน และเหตุการณ์ดูจะบานปลาย ทำให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ต้องเข้ามาทำหน้าที่ "กู้ชาติบ้านเมือง" เพราะทนเห็นความย่ำแย่ของประเทศต่อไปอีกไม่ไหวแล้ว ทำให้การรัฐประหารในครั้งนี้เกิดขึ้น และแน่นอนว่าในการรัฐประหารครั้งนี้นั้นเป็นผลมาจากความพยายามในการแก้ไขปัญหาทางการเมืองบางประการ ที่เอาเข้าจริงแล้วการเมืองเรื่องสีเสื้ออาจจะเป็นแค่เพียง 1% ของปัญหาจริง แต่ถูกเอามาใช้เป๋นข้ออ้างหลักของการทำรัฐประหารในครั้งนี้ ซึ่งแน่นอนว่าวันที่กำลังเขียนรีวิวอยู่นี้ก็ผ่านมากว่า 6 ปีแล้วภายหลังจากการรัฐประหาร หลายคนอาจจะบอกว่าก็เรามีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเรียบร้อยแล้วก็ควรจะเป็นประชาธิปไตยได้แล้ว แต่ถ้าเราย้อนกลับไปอ่านบทเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญให้ดี ๆ โดยเฉพาะในมาตรา 269 เราจะเห็นว่าอ่านยังไงมันก็เขียนเอาไว้ให้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติรักษาและสืบทอดอำนาจผ่านกลไกในรัฐธรรมนูญ ซึ่งแน่นอนว่า 6 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยนอกจากความ "สงบ" ที่ถูกทำให้เชื่อว่าสงบ แล้วเรามองเห็นความก้าวหน้าอะไรที่ดูจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศในมิติของการปกครองในระบอบ "ประชาธิปไตย" บ้าง เว้นแต่พบกรณีศึกษาที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาในสายสังคมศาสตร์โดยเฉพาะวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเรื่องของอำนาจหน้าที่ของ "อรหันพิทักรัฐธรรมนูญ" (และ คสช.)
หนังสือ : จากมือตบถึงนกหวีด
โดย : กนกรัตน์ เลศชูสกุล
จำนวน : 239 หน้า
ราคา : 290 บาท
"จากมือตบถึงนกหวีด" เป็นหนังสือที่ว่าด้วยเรื่องของการศึกษาถึงขบวนการทางการเมืองที่ส่งผลสะเทือนต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของการเมืองไทยในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา และอาจจะเรียกได้ว่าขบวนการทางการเมืองนี้เอง ที่เป็นหนึ่งในชนวนเหตุที่ถูกนำมาเป็นเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรมต่อการสร้างกลไกของการก่อการรัฐประหาร และการก่อสภาวะยกเว้นในหลายมิติ ทั้งเรื่องของการบังคับใช้กฎหมาย พวกพ้อง การเลือกข้าง และแน่นอนว่าขบวนการทางการเมืองนี้เองที่ปรากฎผลเป็รที่ประจักษ์เป็นครั้งแรก ๆ ของสิ่งที่เรียกว่า "กีฬาสีทางการเมือง" หรือ "การเมืองสีเสื้อ" ตามที่เราจะเห็นได้ตามงานเขียนหรือสื่อต่าง ๆ
"จากมือตบถึงนกหวีด" ศึกษาถึงพัฒนาการของขบวนการทางการเมืองอย่างพันธะมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) และ คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส) ถึงพัฒนาการและการเกิดขึ้นของขบวนการทางการเมืองทั้ง 2 นี้ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร และมีพัฒนาการของการต่อสู้ เรียกร้อง และการเปลี่ยนรูปของขบวนการไปอย่างไร
โดยที่ "จากมือตบถึงนกหวีด" ได้ปรับรูปแบบของหนังสือมาจากงานวิจัย ที่มุ่งเน้นในเรื่องของการศึกษาเรื่องดังกล่าว ซึ่งจะช่วยให้เราได้เห็นถึงที่มาที่ไป และกระบวนการในการวิจัยของงานชิ้นนี้ได้เป็นอย่างดี รวมถึงมีการปูพื้นฐานเพื่อสร้างความเข้าใจในสิ่งที่ "จากมือตบถึงนกหวีด" ต้องการจะสื่อสาร ผ่านรูปแบบของการศึกษาและทบทวนงานศึกษาที่เกี่ยวข้อง
นอกจากนี้ "จากมือตบถึงนกหวีด" ยังชี้ให้เราเห็นถึงกลไกภายในของขบวนการทางการเมืองดังกล่าวทั้ง พธม. และ กปปส ว่าทั้งสองขบวนการนี้มีโครงสร้างอย่างไร และผู้ที่เข้าร่วมในขบวนการบางส่วนมีทัศนคติอย่างไรจึงได้ตัดสินใจที่จะเข้าร่วมในขบวนการทางการเมืองทั้ง 2 เพื่อเรียกร้องสิ่งที่พวกเข้ามองว่านั่นคือ "ความยุติธรรม" ที่ "ไม่จำเป็นต้องเป็นประชาธิปไตย" หนังสือเล่มนี้ช่วยสร้างความเข้าใจในระดับพื้นฐานของความคิดของผู้เข้าร่วมขวบนการบางส่วนได้ และยังช่วยให้เราเข้าใจอีกว่าบางครั้งขบวนการทางการเมืองมนลักษณะแบบนี้ก็อาจจะเป็นแค่เพียง "ตัวเบี้ย" ของ "ใครบางคน" ที่มีอิทธิพลที่มากยิ่งกว่า
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in