เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ปล่อยใจคิดไม่ติดกรอบ By กวีวุฒิ เต็มภูวภัทร
  • รีวิวเว้ย (545) #อยู่บ้านอ่านหนังสือกัน เราตามอ่านหนังสือของพี่ต้อง มาตั้งแต่หนังสือเล่มแรกอย่าง "แปดบรรทัดครึ่ง" ที่ผลิตขึ้นมาโดยกระบวนการในการระดมทุนเพื่อผลิตหนังสือ ผ่านกลไกของวิธีการระดมทุน (crowdfunding) ภายใต้ชื่อ "อาฟเตอร์เวิร์ด (afterword)" ที่ช่วงหนึ่งกระแสของการระดมทุนผลิตหนังสือในประเทศไทยมีการขยับยายวงออกไปในวงกว้างและเป็นที่ตอบรับของใครหลาย ๆ คน และอาฟเตอร์เวิร์ดในช่วงเวลานั้นได้ให้กำเนิดหนังสือดี ๆ ออกมาหลายเล่ม และได้สร้างนักเขียนในแนวทางที่แตกต่างจากวงการสิ่งพิมพ์ใหญ่ให้ความสำคัญ ออกมาประดับวงการสิ่งพิมพ์อีกหลายคน และหนึ่งในนั้นมีชื่อของ "พี่ต้อง กวีวุฒิ เต็มภูวภัทร" เจ้าของหนังสือ นามปากกาและอื่น ๆ อีกมากมายภายใต้ชื่อของ "แปดบรรทัดครึ่ง" อาจจะเรียกได้ว่าการเกิดขึ้นของหนังสือเล่มแรกและนักเขียนคนนี้นั้น ผูกโยงอยู่กับ "ความแหวกแนว" ที่ไม่ยึดติดอยู่กับ "กรอบ" และเกณฑ์ใด ๆ ทำให้หนังสือที่ถูกผลิตโดยเขา กลายเป็นหนังสือที่แหวกกรอบบางอย่างและจุดประกายบางประเด็นให้เกิดขึ้นไปได้พร้อม ๆ กัน
    หนังสือ : ปล่อยใจคิดไม่ติดกรอบ
    โดย : กวีวุฒิ เต็มภูวภัทร
    จำนวน : 240 หน้า
    ราคา : 210 บาท

    "ปล่อยใจคิดไม่ติดกรอบ" เป็นหนังสือที่ภายในประกอบไปด้วยบทตอนสั้น ๆ กระชับ อ่านได้ใจคสาม ในเรื่องของวงการธุรกิจ นวัตกรรม และนวัตกรรมของการมำธุรกิจ จากหลายหน่วยงาน หลายองค์กร และหลากหลายแนวทางจากทั่วโลก ที่ใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจและองค์กรมให้เดินไปข้างหน้า ภายใต้สภาวะของความท้าทายของโลกที่เกิดขึ้นในทุก ๆ วัน ไม่ใช่แค่ช่วงนี้ที่การเกิดขึ้นของวิกฤติ Covid-19 เป็นความท้าทายสำคัญ แต่ตลอดเวลาโลกใบนี้มีโจทย์ปัญหามาท้าทายและตั้งคำถามต่อ ผู้คน ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคธุรกิจ อาจจะเรียกได้ว่าทุกคน ทุกภาคส่วนล้วนถูกท้าทายและทดสอบอยู่ตลอดเวลาจากโลกกลม ๆ ใบนี้

    นอกจากนี้ "ปล่อยใจคิดไม่ติดกรอบ" ยังชี้ให้เห็นถึงแนวทางการดำเนินงาน วิธีการปรับตัวของหน่วยงาน คน และองค์กรต่าง ๆ รวมไปถึง "ปล่อยใจคิดไม่ติดกรอบ" ยังท้าทายให้เราลองตั้งคำถามจากกรอบและความคุ้นเคยเดิม ๆ เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นในองค์กร โดยที่ไม่จำเป็นจะต้องเริ่มให้ใหญ่ หรือต้องเริ่มต้นโดยใช้ทรัพยากรเยอะ แต่บางองค์กร บางภาคธุรกิจ หรือบางคน เริ่มต้นจากกลุ่มคนกลุ่มเล็ก ๆ และเริ่มภายใต้สภาวะของความจำกับด้านทรัพยากร แต่หใดหมายสำคัญ คือ การเริ่มให้เร็ว ตั้งเป้าหมายให้ชัด ขัดเกลาวิธีการไปสู่เป้าหมาย และลงมือทำจนชำนาญ แต่ก็ต้องไม่ปฏิเสธการมองสองข้างทางเพื่อหาแนวทางของการปรับปรุง แก้ไข หรือว่าเร่งเครื่องให้มันเร็วขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าในโลกทุกวันนี้ที่เปลี่ยนแปลงไปจาก "ปลาใหญ่กินปลาเล็ก" ไปสู่ "ปลาเร็วกินปลาช้า" นั้น การมีเป้าหมายที่ชัด แนวทางที่ใช่ กรอบที่มั่นคงคือเรื่องสำคัญ แต่ก็อย่าลืมว่าหลายครั้งการออกนอกกรอบเสียบ้างก็ทำให้เราทำงานได้ไวขึ้น แต่ก็ต้องไม่ออกไปไกลเสียจนนำความบรรลัยมาสู่ตัวเองและเพื่อนร่วมงาน

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in