รีวิวเว้ย (524) คำไทยและภาษาไทย กลายมาเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ (เขียนยากเกิ๊น) สำหรับประเทศนี้ไปตั้งแต่เมื่อไหร่กัน หลายครั้งที่มีคำเกิดขึ้นใหม่อย่าง กิ๊ก, ครัช, เตง, แซบ หรือแท้กระทั่งการใช้ ค่ะ, คะ เราสามารถพบเห็นมหากาพย์ของการต่อสู้ของคนกลุ่มใหญ่ 2 กลุ่ม อันได้แก่กลุ่มที่ออกมาปกป้องรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของภาษาไทยว่าห้ามเปลี่ยนแปลง สะกดแบบนี้ได้ที่ไหน กระทั่งนำไปสู่ข้อต่อสู้ไม้ตายที่ว่าการกระทำเช่นนี้นั้นจะส่งผลให้ภาษาไทย "วิบัติ" กับอีกกลุ่มหนึ่งที่เชื่อว่าภาษาไทยนั้นมี "พลวัตร" ถ้ามันไปต่อไม่ไหวเดียวคนก็กลับมาใช้คำเดิมที่ถูกต้องเอง หรือถ้าเกิดมันไปต่อไหวและทำให้ภาษาไทยเปลี่ยนแปลงไปคนกลุ่มนี้ก็เชื่อว่า ภาษามันสามารถเปลี่ยนแปลงได้ในทางของตัวสะกดและการเขียน อย่างไรก็ตามแต่การต่อสู้กันของแนวคิดกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับภาษาไทยนั้นมีให้เรา ๆ ท่าน ๆ เห็นกันได้อยู่บ่อยครั้ง และบางครั้งบ่อยเสียยิ่งกว่าการต้องเผชิญ PM 2.5 ของสังคมไทยเสียอีก
หนังสือ : แลหลังคำเขมร-ไทย
โดย : ศานติ ภักดีคำ
จำนวน : 376 หน้า
ราคา : 365 บาท
"แลหลังคำเขมร-ไทย" พาเรากลับไปตั้งคำถามถึงที่มา (?) ที่ไป (?) ความเปลี่ยนแปลง (?) การถูกฉวยใช้และการเปลี่ยนรูป (?) ของบรรดาภาษาและตัวเขียนที่อาจจะเรียกได้ว่าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ ภาษาหลายภาษาจัดอยู่ในกลุ่มตระกูลที่มีรากฐานของการเกิดขึ้นของภาษาอยู่ใยกลุ่มเดียวกัน ที่ปรากฎชัดที่สุดคือกลุ่มของภาษาที่ใช้รากทางภาษามาจาก "ภาษาเขมร" และถูกพัฒนาต่อยอดจนกลายมาเป็นภาษาประจำชาติ ของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคในกาลต่อมา
"แลหลังคำเขมร-ไทย" พาเรากลับไปสำรวจรากของคำและภาษาไทยที่มาจากภาษาเขมร และภาษาเขมรสมัยปัจจุบันที่หลายคำก็ถูกนำไปจากภาษาไทยซึ่งได้รับมาจากภาษาเขมรและเอามาปรับใช้จนกลาบเป็นภาษาไทยและเขมรก็เอาคำดังกล่างกลับไปปรับใช้จนกลายมาเป็นภาษาเขมรในปัจจุบัน
อาจจะเรียกได้ว่ารากทางภาษาของทั้งคำไทยและคำเขมรต่างก็มีการแลกเปลี่ยนระหว่างกันอยู่เสมอ ๆ คล้ายกับภาษาไทยในปัจจุบันที่ตัวของทันเองก็มีพลวัตรในทางภาษาให้สังเกตุเห็นได้อยู่บ่อยครั้ง
"แลหลังคำเขมร-ไทย" พาเราไปทำความรู้จักถึงความเป็นมาของภาษาไทยและภาษาเขมรในช่วงสมัยพระนคร และสมัยหลังพระนครว่ามีความเปลี่ยนแปลง และมีเส้นทางของการเดินทางของภาษาที่เข้ามาพร้อมกับวัฒนธรรม อารยธรรมต่าง ๆ ได้อย่างไร รสมไปถึง "แลหลังคำเขมร-ไทย" ยังพาเรากลับไปดูคำบางคำที่น่าสนใจที่มีคสามหมายทั้งในภาษาไทยและภาษาเขมร บ้างคำเป็นคำที่ภาษาไทยยืมคำเขมรมาใช้ และบางคำเป็นคำที่ภาษาเขมรยืมเอาคำไทยที่ประยุกต์และกลับไปใช้อีกครั้งหนึ่ง
ความสนุกของ "แลหลังคำเขมร-ไทย" คือ การหาความหมายของคำและรากฐานของคำทั้งไทยและเขมร ให้เราได้ลองคิดและจิตนาการตามไปว่าคำต่าง ๆ เหล่านี่นั้นมีพลวัตรและพัฒนาการทางภาษามาถึงกระทั่งปัจจุบันนี้ได้อย่างไรกัน ในแง่ของการอ่านหนังสือเล่มนี้อาจจะอ่นยากไปเสียหน่อยเนื่องด้วยเนื้อหาภายในเล่มพูดถึงเรื่องของภาษาและการออกเสียแบบเขมรอยู่พอควร แต่ถ้าเราลองค่อย ๆ อ่านตามไปทีละหน่อย เร่จะพบว่ารากของคำเขมรและไทยหลาย ๆ คำมีรากฐานร่วมกัน ที่บ่งบอกถึงวัฒนธรรมและประเพณีร่วมบางอย่าง และมันชวนให้เราตั้งคำถามต่อความเป็นชาติและชาตินิยมว่า แท้จริงแล้ว "ขบวนการชาตินิยมทางภาษา" มันหลงลืมอะไรบางอย่างไปรึเปล่า และถ้าใช่ "แลหลังคำเขมร-ไทย" อาจจะช่วยชี้ให้เราเห็นถึงอะไรบางอย่างที่ขาดหายไป
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in