เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
อยากตายแต่ก็อยากกินต๊อกบกกี By แบ็กเซฮี แปล ญาณิศา จงตั้งสัจธรรม
  • รีวิวเว้ย (499) ตอนเดินผ่านหนังสือเล่มนี้ครั้งแรก เราพยายามยืนอ่านข้อความบนปกหน้าของหนังสืออยู่นานมาก มากเสียจนคนข้าง ๆ ต้องบอกว่ามึงหยิบขึ้นมาอ่านคำโปรยปกหลังดิ !!! พอลองอ่านคำโปรยปกหลังแล้วพบว่าหนังสือเล่มนี้น่าสนใจจริง ๆ ไม่ใช่เฉพาะชื่อหนังสือบนปกหน้าแต่เพียงอย่างเดียว ข้อความที่เขียนเอาไว้ในปกหลังก็น่าสนใจไม่แพ้กัน แต่ปัญหาสำคัญอย่างหนึ่ง คือ หนังสือเล่มนี้ดันถูกห่อด้วยพลาสติกป้องกันการเปิดอ่านข้างใน การห่อพลาสติกแบบนี้สำหรับเรา เรามองว่ามันเป็นปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งของหนังสือที่จะทำให้หนังสือขายยาก เพราะร้านหนังสือแต่ละร้านก็ไม่นิยมที่จะแกะพลาสติกออกเพื่อให้ได้อ่านข้างใน และผู้ซื้อหนังสือหลายคนก็ไม่แน่ใจว่าจะซื้อดีมั้ย "เพราะเนื้อหาด้านในเป็นอย่างไรก็ไม่รู้" นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เรายืนตัดสินใจอยู่นานว่าจะซื้อหนังสือเล่มนี้ดีมั้ยวะ (?) 
    หนังสือ : อยากตายแต่ก็อยากกินต๊อกบกกี
    โดย : แบ็กเซฮี แปล ญาณิศา จงตั้งสัจธรรม
    จำนวน : 243 หน้า
    ราคา : 199 บาท

    "อยากตายแต่ก็อยากกินต๊อกบกกี" หนังสือที่บันทึกบทสนทนาระหว่าง (1) ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าและมีอาการของโรคสองบุคลิก กับ (2) หมอเจ้าของไข้ โดยที่หนังสือเล่มนี้และบทสนทนาต่าง ๆ ในเล่ม ถูกนำเสนอและถ่ายทอดโดยตัวคนไข้เอง ที่นอกจากจะมีอาการของสองโรคที่กล่าวไปแล้ว เธอยังมีอาหารของคน "ย้ำคิดย้ำทำ" ทำให้เธอต้องบันทึกเสียงของการสนทนาตลอดระยะเวลาของการรักษาเอาไว้ เพื่อให้ตัวเธอเองแน่ใจว่าเธอจะไม่ลืมมัน และจากการบันทึกและฟังซ้ำของเธอนี้เอง ทำให้เธอตัดสินใจถอดเอาบทสนทนาต่าง ๆ ให้กลายมาเป็นตัวอักษรและตัวหนังสือ

    ความแปลกของหนังสือ "อยากตายแต่ก็อยากกินต๊อกบกกี" อยู่ที่การเปิดเผยให้เห็นกระบวนการในการรักษาระหว่างหมอและคนไข้ ที่นอกจากจะเห็นถึงแนวทาง ขั้นตอน และกระบวนการของการรักษาแล้ว "อยากตายแต่ก็อยากกินต๊อกบกกี" ยังบันทึกเอาความนึกคิดของตัวผู้ป่วยเมื่อได้รับคำตอบ แนวทางหรือข้อแนะนำต่าง ๆ จากหมอเอาไว้ด้วย ซึ่งการบันทึกความรู้สึกเพื่อตอบโต้จากความคิดในหัว มันช่วยให้เราในฐานะของผู้อ่านเข้าใจความคิดและวิธีคิดของผู้ป่วยมากยิ่งขึ้น

    นอกเหนือไปจากการฉายภาพให้เห็น แนวทางการรักษา ความเป็นมาของโรค และปัจจัยที่เป็นเงื่อนไขที่ก่อให้เกิดอาการของโรคต่าง ๆ แล้ว "อยากตายแต่ก็อยากกินต๊อกบกกี" ยังช่วยให้เราเข้าใจผู้ป่วยได้ดียิ่งขึ้น รวมไปถึงหนังสือเล่มนี้ยังชวนให้เราย้อนกลับมามองและทบทวยตัวเราเองเช่นกัน ว่าในท้ายที่สุดแล้วบริบทต่าง ๆ ที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา มันสร้าง ผลักดัน กดดัน หรือส่งเสริมเราไปในแนวทางและทิศทางแบบไหนกันแน่ แล้วเราจะรับมือกับมันอย่างไร เพราะทุกวันนี้มีคนที่กำลังเผชิญกับปัญหาดังกล่าวมากมายเหลือเกิน มากเสียจนหลายครั้งในสังคมไทยก็เผลอที่จะมองปัญหาดังกล่าวเป๋นเรื่องปกติ ที่คงคิกว่าแค่ปล่อย ๆ มันไปเดี๋ยวก็จบเรื่องเอง แต่ในความเป็นจริงการคิดแบบนั้นมันจะยิ่งทวีปัญหาดังกล่าวในสังคม ให้บ่อยครั้งและรุนแรงยิ่งขึ้นหรือไม่ จะไม่ดีกว่าหรือถ้าเรามีโอกาสได้ลองทบทวนปัญหาและหาแนวทางในการแก้ไขไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งแน่นอนว่าแนวทางต่าง ๆ ควรเริ่มต้นจากการเปิดใจและยอมรับฟังอย่างไม่มีอคติ

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in