รีวิวเว้ย (482) เมื่อก่อนตอนเป็นเด็กเวลาที่เราหยุดสุดสัปดาห์ ช่วงเวลาโปรดที่สุดคือตอนเช้าตอนวันหยุด ที่มาพร้อมกับรายการช่อง 9 การ์ตูน อาจจะรียกได้ว่าเด็กที่โตมาร่วมสมัยในยุคของช่อง 9 การ์ตูน ที่ยังมีน้าต๋อยเป็นคนคอยพากเสียงตัวละครต่าง ๆ ถ้านับเวลามาถึงตอนนี้พวกเราไม่ใช่เด็กแล้วนะครับเนี่ย อายุอย่างน้อย ๆ ก็น่าจะอยู่ที่ 23 ขึ้นมาแล้วทั้งนั้น ปัญหาอย่างหนึ่งที่เราก็ไม่รู้ว่าคนอื่น ๆ เป็นรึเปล่า คือ คนรุ่นพวกเราที่โตขึ้นทุก ๆ วัน ยังมีความสัมพันธ์กับการ์ตูนทั้งแบบหนังสือการ์ตูนและแอนนิเมชัน กันอย่างท่วนหน้า เหนียวแน่นและเข้มข้น อาจจะเรียกได้ว่ายังเป็นกลุ่มคนที่เหนียวแน่นกับการดูและอ่านการ์ตูนแม้ในวันที่โตจนพ่อ-แม่เลิกบ่นเรื่องเรียน แต่หันมาด่าเรื่องดูการ์ตูนเป็นเด็ก ๆ ไปได้ ซึ่งเอาเข้าจริงแล้วการ์ตูน ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในเครื่องมือชิ้นสำคัญที่ทำให้เราโตมาเป็นเราในทุกวันนี้บ้างไม่มากก็น้อย ยังไม่นับรวมคนอื่น ๆ ที่ต่อยอดจากการ์ตูนจนได้ดีไปแล้วไม่รู้กี่คนต่อกี่คน แต่ก็ยังคงเป็นที่น่าแปลกใจว่าทำไมใครหลาย ๆ คนถึงยังคงมองว่าการ์ตูนเป็นเรื่องของ "เด็ก" พวกผู้ใหญ่ที่อ่านการ์ตูนก็ถูกมองและถูกนิยามให้เป็นพวก "ผู้ใหญ่ไม่รู้จักโต" แต่ถ้าลองคิดและอ่านการ์ตูนดูให้ดี ๆ เราจะพบว่าการ์ตูนหลายเรื่องแฝงสาระหลาย ๆ อย่างเอาไว้ในเนื้อเรื่องได้อย่างน่าสนใจ ทั้งเรื่องราวของ ความรู้ ความเชื่อ วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ประเพณี การเมือง วัฒนธรรม ฯลฯ ที่หลายครั้งเราเองก็คาดไม่ถึงด้วยซ้ำไปว่าเราจะสามารถอ่านการ์ตูน ผ่านบริบทที่แตกต่าง ช่วงเวลาและสถานที่ที่ต่างออกไปในการอ่านแต่ละครั้ง ก็อาจจะส่งผลโดยตรงต่อการรับรู้และการตีความเนื้อหาของการ์ตูนยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก นี่ยังไม่นับรวมการ์ตูนยุคใหม่ ๆ ที่หลายเรื่องจับเอาความรู้มาใส่ไว้โดยตรงและใช้เป็นแกนสำคัญของการเดินเรื่องในปัจจุบันก็มีให้เห็นอยู่จนชินตา
หนังสือ : THEORIES OF MANGA
โดย : กฤดิกร วงศ์สว่างพานิช
จำนวน : 256 หน้า
ราคา : 290 บาท
"THEORIES OF MANGA" อาจจะเรียกว่าเป็นหนึ่งในหนังสือหรือคู่มือในการอ่านการ์ตูนและตีความการ์ตูน ในแบบที่ช่วยเปิดโลกของการ์ตูนให้เราได้อีกหลายขุม หลากรูปแบบ เพราะ "THEORIES OF MANGA" ได้หยิบเอาแนวคิดต่าง ๆ มนเรื่องของรัฐศาสตร์มาผูกโยงให้เห็นถึงความสัมพันธ์บางประการระหว่างหนังสือการ์ตูนและองค์ความรู้ทางด้านรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์
เราในฐานะของนักเรียนรัฐศาสตร์ เมื่ออ่าน "THEORIES OF MANGA" กลับได้เห็นมุมมองสำคัญ ๆ ใหม่ ๆ ในเรื่องของการ์ตูนแต่ละเรื่องแต่ละแบบ ที่แตกต่างออกไปจากการรับรู้ของเรา ในฐานะของนักเรียนรัฐศาสตร์หลายคนน่าจะเคยอ่านการ์ตูนชิ้นต่าง ๆ และตีคสามมันผ่านความรู้หรือกรอบทฤษฎีที่เราเอามาใช้อ่านตัวการ์ตูนแต่ละเรื่อง และ "THEORIES OF MANGA" ยังช่วยเปิดมุมมองที่แตกต่างออกไป จากฐานการ์ตูนเรื่องเดิม พอเปลี่ยนเอากรอบทฤษฎีใหม่เข้ามาจับเราก็จะพบว่าการอ่านการ์ตูนเรื่องนั้นจะแตกต่างจากเดิมในทันที อาจจะเรียกได้ว่าเมื่อเราเปลี่ยนแว่นตาในการมองโลกของเราก็เปลี่ยนแปลงไปตามแว่นที่เราใส่
แต่ปัญหาอย่างหนังของ "THEORIES OF MANGA" คือ กรอบแนวคิดบางประการที่ปรากฎอยู่ในหนังสือ อาจจะมีความยากต่อการทำความเข้าใจของผู้อ่าน หากผู้อ่านมิได้เคยอ่านงานทางสังคมศาสตร์ หรือเรียนทางด้านสายสังคมศาสตร์มาบ้าง ก็อาจจะมีบางบริบท หรือนักคิดบางสำนักที่ผู้อ่านอาจจะงุนงงได้ว่ามันอ่านการ์ตูนผ่านนักคิดคนนี้แล้วได้เนื้อความแบบนี้ไปได้อย่างไรกัน
แต่นั้นแหละคือเสน่ห์ของวิชาในสายสังคมศาสตร์ ที่เราทุกคนมีสิทธิที่จะตีความบริบทของเหตุการณ์แต่ละอย่างผ่านญาณวิทยาที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละตัวของบุคคล อาจจะเรียกได้ว่าเมื่อเราเลือกสมาทานกรอบคิดที่แตกจ่างกัน มุมมองและข้อคิดเห็นที่เรามีต่อเรื่องนั้น ๆ ก็จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละตัวบุคคลด้วย เว้นแต่ในเรื่องนั้น ๆ มีกติกาหรือคำสั่งให่มองผ่านกรอบคิดแบบเดียวกัน แต่ก็อีกนั้นแหละต่อให้ใช้กรอบคิดเดียวหฝกันก็ใช่ว่าเราจะเห็นเหมือนกันเสียเมื่อไหร่
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in