เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
WILD SIDE: ในนามของธรรมชาติ By วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์
  • รีวิวเว้ย (224) กระแสเรื่องของการท่องเที่ยวเชิญอนุรักษ์ ที่ใครหลายคนเข้าใจว่าการไปเที่ยวป่า อยู่กับธรรมชาติ นอนริมท้องนา นอนในเถียงนา อยู่กับป่าเขา เงาหมอกเมฆ เป็นการท่องเที่ยวในลักษณะของการ "อนุรักษ์ธรรมชาติ" แต่แท้จริงแล้วสิ่งที่เรา ๆ ท่าน ๆ หลายคนกำลังเข้าใจอยู่นั้นเป็นเรื่องที่ค่อนไปทางผิดมากกว่าถูก ในเรื่องของการอนุรักษ์ธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่า ให้อยู่คู่กับโลกของเราไปได้นาน ๆ การท่องเที่ยวที่หลายคนกำลังทำ หลายครั้งมันกลับกลายเป็นการลดทอนอายุความยั่งยืนของสิ่งที่เราขนานนามให้มันว่า "ธรรมชาติ"
    หนังสือ : WILD SIDE: ในนามของธรรมชาติ
    โดย : วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์
    จำนวน : 224 หน้า
    ราคา : 195 บาท

    กระแสการเที่ยว ป่า เขา ลำเนาดอย เพิ่งจะเป็นที่นิยมอย่างจริงจัง น่าจะสักไม่ถึง 10 ปีมานี้ ยิ่งช่วงที่การท่องเที่ยวตาม Facebook และ Pantip เป็นที่นิยม ส่งผลให้เกอดกระแสการท่องเที่ยวแบบเอาตัวเองไปแนบชิด ติดอิงอยู่กับธรรมชาติ ทั้งป่าเขา ทะเล หรือแม้กระทั่งตามท้องสวนท้องนา กระแสท่องเที่ยวตามออนไลน์กลายเป็นตัวผลักดันให้กระแสการท่องเที่ยว "ธรรมชาติ" เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเป็นเท่าทวี

    หลายคนเชื่อว่าการไปเที่ยวตามสถานที่ธรรมชาตินั้น จะเป็นการช่วยส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์ธรรมชาติให้มีอายุยืนยาวมากยิ่งขึ้น ให้ธรรมชาติได้ถูกดูแลโดยผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเก็บรักษาเอาไว้ให้กับนักท่องเที่ยวได้มาเที่ยวตราบนานเท่านาน

    แนวความคิดดังกล่าวเป็นจริงได้ในประเทศที่ผู้คนมีสำนึกในเรื่องของการอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย แต่กลับในประเทศไทยและคนไทยส่วนใหญ่แล้ว ธรรมชาติมันกลายเป็นเหยื่อยอารมณ์ "อนุรักษ์" ที่คนไทยทั้งหลายมักเข้าใจว่าการนำเม็ดเงินเข้าพื้นที่จะยิ่งเป็นการช่วยให้การอนุรักษ์ธรรมชาติเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น

    หากเราพิจารณากันด้วยเหตุผล และไม่เข้าข้างความเป็นไทยในตัวเองมากจนเกินไปนัก เราจะพบว่าแหล่งท่องเทีายวธรรมชาติเปลี่ยนแปลงไปอย่างใหญ่หลวงนับตั้งแต่ แหล่งท่อฃเที่ยวแหล่งนั้น ๆ กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของประชาชน สิ่งหนึ่งที่สังคมไทยให้ความสำคัญน้อยถึงน้อยมากคือเรื่องของ "สำนึกในความเป็นใหญ่ของธรรมชาติ" ซึ่งแทบจะไม่มีอยู่ในวิธีคิดของคนในสังคม เราไม่เคยคิดถึงความเหมาะสมของพื้นที่ธรรมชาติเหล่านั้น ว่ามันมี "ความสามารถในการรองรับประชาชน" ในแต่ละครั้งได้เท่าไหร่ เราไม่คำนึงถึงเรื่องของ "การปิดแหล่ฃท่องเที่ยวธรรมชาติให้มันมีการฟื้นฟูตัวเองหลังจากเปิดให้เที่ยว" เราไม่เคยคิดต่อว่า "ขยะ" ที่เราหอบหิ้วขึ้นบ่าพาขึ้นเข้าขึ้นดอยไปด้วยนั้น พงกมันจะไปจบลงที่ตรงไหน (?) หลายครั้งเราเชื่อว่าขยะเหล่านั้นจะถูกจัดการอย่างดี ตามกระบวนการที่ได้มาตรฐาน แต่เอาเข้าจริงในหลายพื้นที่ขยะเหล่านั้น ถูกกลบฝังหรือโยนทิ้งเอาไว้ตามพงหญ้า หรือก้นเหวของสถานที่ท่องเที่ยวที่เราคิดว่าเรา "อนุรักษ์" ธรรมชาตินั่นแหละ

    นอกจากเรื่องของการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติแล้ว หลายครั้งเราก็ลืมนึกไปว่า การแก้ไขปัญหาบางอย่างเพื่อคนส่วนใหญ่ ในระบบเศรษฐกิจและสัฃคมทุนนิยม นั่นเองก็เป๋นการเบียดบัง ทำร้ายและทำลายธรรมชาติ เช่นกัน อย่างการสร้างเขื่อนเผื่อกักเก็บน้ำ ทั้งเพื่อการทำการเกษรและการป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยที่อาจเกิดจาดอุทกภัย ด้วยการสร้างเขื่อน สร้างทางน้ำ สิ่งเหล่านี้ก็ล้วนแต่เป็นการทำร้ายธรรมชาติแทบทั้งสิ้น

    รวมไปถึงเรื่องของการลักลอบตัดไม้ ขุดเหมือน ล่าสัตว์ หาของป่า หรือแม้กระทั่งการกระทำเหบ่านี้ในรูปแบบที่ถูกกฎหมาน หรือที่เรียกว่า "การให้สัมปทนาโดยรัฐ" ก็ล้วนแต่เป็นการทำร้ายธรรมชาติ รวมถึงหลายครั้งมันทำร้ายแม้กระทั่งชาวบ้านในพื้นที่

    "WILD SIDE" หนังสือที่บอกเล่าเรื่องราว "ในนามของธรรมชาติ" ได้ทำหน้าที่ในการบอกเล่าเรื่องราวของธรรมชาติ สังคม วัฒนธรรม กิจกรรม ผู้คน สัตว์ป่า ฯลฯ ที่ล้วนผูกพันอยู่กับสิ่งที่เรียกว่าธรรมชาติ ผ่านบทความทั้ง 35 บทความ ที่ว่าด้วยเรื่องของสรรพสิ่งรอบตัวเรา ทั้งที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติโดยตรง และที่เป็นธรรมชาติของสรรพสิ่ง ทั้งหมดล้วนถูกจัดวางเอาไว้แล้วโดยมือของสิ่งที่อยู่บนโลก สิ่งที่อยู่ "ในนามของธรรมชาติ"

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in