รีวิวเว้ย (447) ตอนแรกตั้งใจว่าจะเปิดหัวการรีวิวหนังสือเล่มนี้ด้วยคำว่าที่ว่า "มนุษย์เรามีเจตจำนงเสรีจริงหรือไม่" แต่ปัญหาคือพอลองค้นนิยามของเจนจำนงเสรีในภาษาไทยที่สามารถหาได้จากคำค้นใน Google ที่ว่า "เจตจำนงเสรี หมายถึง" เรากลับพบความหมายของเจตจำนงเสรีที่เยอะแยะ หลากหลายและทุกความหมายล้วยเถิดเทิงทั้งสิ้น พอลองไล่อ่านจากหลาย ๆ เว็บดูแล้วเราเลยคิดได้ว่า "เออช่างแม่งไม่ใส่ความหมายก็ได้วะ" ส่วนถ้าใครอยากรู้เรื่องเจตจำนงเสรีลองกดเข้าไปหาใน Google หรือจะต่อท้ายคำค้นหาว่า "เจตจำนงเสรี Pantip" ก็ไม่เสียหายเท่าไหร่ แถมพอไล่อ่านแต่ละความเห็นแม่งช่างเถิดเถิงเสียจริง แต่ก็นี่แหละมั้ง คือ สิ่งที่นักปรัชญาและใครหลาย ๆ คนต่างนิยามและเรียกมันว่า "เจตจำนงเสรี" ซึ่งพิมพ์เสียยาวยืดมาจนถึงตรงนี้เราก็ยังไม่รู้ว่าจะเลือกหยิบความหมายอันไหนของเจตจำนงเสรีมาใช้ดีอยู่ดี เอาเป็นว่าก็แล้วแต่เจตจำนงของคนแต่ละคนแล้วกันเนอะ
หนังสือ : ผจญภัยตาม (ใจ) ใครเลือก
โดย : กิตติพล สรัคคานนท์
จำนวน : 144 หน้า
ราคา : 200 บาท
"ผจญภัยตาม (ใจ) ใครเลือก" เป็นหนังสือที่ตั้งคำถามต่อการใช้ "เจตจำนง" ของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการเลือกตัดสินใจของตัวมนุษย์ผู้อ่านหนังสือเอง ที่ผู้อ่านจะเข้าใจว่าตนเองนั้นมีความสามารถใยการเลือกเส้นทางของตัวละคร หรือกำหนดทิศทางของโครงเรื่องได้ ประหนึ่งพระเจ้าผู้มอบหนทางให้กับปวงมนุษย์และคือผู้ที่กำหนดเส้นทางให้มนุษย์เหล่านั้นได้เดิน
ความน่าสนใจของ "ผจญภัยตาม (ใจ) ใครเลือก" เกิดขึ้นตอนที่เราพลิกอ่านหนังสือไปตามแต่ละหน้าตามที่เราเองคิดว่าเราได้เลือก แต่พอเปิดไปเปิดมาหลายหน้าเข้า เราเริ่มเข้าใจว่าเราเองอาจจะไม่ใช่ผู้ที่กุมชะตาของตัวละครเอาไว้ ทางแต่เรากำลังเดินไปบนเส้นเรื่องหรือเส้นทางที่ถูกกำหนดเอาไว้ก่อนหน้าให้คล้ายกับว่า "กูได้เลือกเองนะเว้ย" ซึ่งจริง ๆ แล้วแม่งไม่ได้เลือกเว้ย แต่ผู้เขียนนั้นแหละได้กำหนดเอาไว้แล้วว่ามึงจะต้องเดินไปถึงจุดไหน เพราะไม่ว่าเราจะเข้าใจว่าเราได้เลือกอย่างไรในท้ายที่สุดผู้เขียนก็เลือกกำหนดบางสิ่งบางอย่างไว้ให้เราที่ปลายทางอยู่ดี
"ผจญภัยตาม (ใจ) ใครเลือก" มันทำให้นึงถึงเรื่องราวบางอย่างที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ตั้งแต่เรื่องของการรัฐประหารที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2549 จนถึงครั้งเมื่อปี 2557 สิ่งหนึ่งที่เราถูกทำให้เชื่อ คือเราถูกทำให้เชื่อว่าเรา "เลือกความสงบ" แต่แท้จริงแล้วเราไม่ได้เลือกห่าอะไรเลย มีแต่รัฐและโจรขโมยอำนาจทั้งนั้ยที่เลือกทางเดินไว้ให้เราแล้ว อย่างการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญเองก็ไม่ต่างกัน ความรู้สึกที่รัฐหลอกลวงเราคือทำให้เรา "เหมือนรู้สึกว่าเราได้เลือก" แต่ในท้ายที่สุดแล้วการเลือกนั้นก็ไม่ได้ก่อประโยชน์ใด ๆ แก่เราอยู่ดี หรือแม้กระทั่งการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ผ่านมา (2562) ก็ไม่ได้ต่างอะไรกันมากนักกับการเลือกที่สุดท้ายก็คล้ายไม่ได้เลือกอยู่ดี ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเป็นด้วยเหตุผลกลใดก็ตามแน่
น่าแปลกที่เมื่ออ่าน "ผจญภัยตาม (ใจ) ใครเลือก" จบลง เรากลับไม่ได้รู้สึกกับการเขียนหรือเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้เท่าใดนัก หากแต่สิ่งที่ได้กลับมาคือการตั้งคำถามถึง "เจตจำนงของผู้เลือก" ที่ถูกกำหนดให้เลือกในสิ่งที่ถูกเลือกเอาไว้แล้วตั้งแต่แรก
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in