เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ประวัติศาสตร์สำเหนียก By ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์
  • รีวิวเว้ย (445) "สำเหนียก" หมายถึง [สำเหฺนียก] ก. ฟัง, คอยเอาใจใส่, กําหนดจดจํา, เช่น ผู้ใหญ่สอนอะไรก็ให้สำเหนียกไว้ให้ดี. เมื่อเอาคำว่า "สำเหนียก" ที่อยู่ในชื่อหนังสือ "ประวัติศาสตร์สำเหนียก" นั้น มีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่งว่าเพราะเหตุใดผู้จัดทำและผู้เขียนหนังสือจึงตกลงปลงใจในการใช้ชื่อ "ประวัติศาสตร์สำเหนียก" ในหนังสือเล่มนี้ เพราะเมื่อเราพิจารณานในความหมายของคำดังกล่าวจะพบว่า "สำเหนียก" มีความหมายถึง การฟัง คอยเอาใจใส่ และกำหนดจดจำ และเมื่อพิจารณาลงไปในบริบทแวดล้อมของการใช้คำดังกล่าวเราจะพบว่า "สำเหนียก" มักถูกใช้ไปในบริบทของการถากถางหรือประชดประชันเพื่อให้ผู้ฟังได้รู้สึกและจดจำ เช่น "จงสำเหนียดเอาไว้ให้ดีเถิดอีไพร่" น่าจะเป็นรูปประโยคที่เราได้ยินอยู่บ่อย ๆ ในหนังหรือละครไทย ซึ่งก็จะมีคสามหมายไปในทางถากถางให้จดจำใส่สมองเอาไว้ให้ดี เมื่อพิจารณาจากเหตุผลในเบื้องแรกเป็นไปได้ว่า "ประวัติศาสตร์สำเหนียก" ที่ปรากฎในชื่อหนังสือเล่มนี้นั้นน่าจะมีความหมายไปในทสงประชดประชันในเรื่องที่อยากให้ผู้อ่านจดจำในเรื่องของประวัติศาสตร์ที่หลายบทหลายตอนในหนังสือนั้นเป็นประวัติศาสตร์ที่ตรงข้ามกับประวัติศาสตร์กระแสหลักของรัฐไทย
    หนังสือ : ประวัติศาสตร์สำเหนียก
    โดย : ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์
    จำนวน : 336 หน้า
    ราคา : 250 บาท

    "ประวัติศาสตร์สำเหนียก" เป็นหนังสือที่ว่าด้วยเรื่องราวของประวัติศาสตร์ ทั้งในแง่ของประวัติศาสตร์นิพนธ์และประวัติศาสตร์บุคคล ในรูปของบุคลาธิษฐาน ที่แนวคิดของประวัติศาสตร์ในหนังสือที่ถูกหยิบยกมานั้นเป็นประวัติศาสตร์อีกกระแสหนึ่งที่แตกต่างออกไปจากแนวทางความรู้ประวัติศาสตร์ที่รัฐไทยต้องการให้คนในรัฐและให้เด็กในชาติได้รับรู้

    "ประวัติศาสตร์สำเหนียก" กระตุ้นให้ผู้อ่านได้สำเหนียกถึงเรื่องราวของประวัติศาสตร์ที่เราเคยรัลฟังอยู่ด้านเดียว ให้เรามีโอกาสได้สำเหนียวว่าอย่างน้อย ๆ ประวัติศาสตร์ในเรื่องเดียวกันนั้นมันยังมีความเห็นหรือข้อเท็จจริงจากมุมมองทางประวัติศาสตร์ของอีกฝั่งอีกด้านเสมอ

    เมื่อเรา "สำเหนียก" ได้ดังนั้นแล้ว เราจะเข้าใจว่าประวัติศาสตร์หลายครั้งมันถูกเขียนขึ้นและถูกบอกเล่าโดยผู้ชนะ แต่หากเรามองประวัติศาสตร์ผ่านสายตาของผู้ชนะเพียงด้านเดียว เราเองอาจจะได้รับประวัติศาสตร์ตามแบบที่ผู้เล่าต้องการให้เราเข้าใจ แต่หากเราสำเหนียกได้ว่าประวัติศาสตร์มีได้จากหลักฐานหลายแหล่ง เราจะสามารถเข้าใจประวัติศาสตร์ในเรื่องต่าง ๆ ได้กว้าง ยาวและลึกมากยิ่งขึ้น

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in