เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
การปฏิวัติและการเปลี่ยนแปลงในประเทศสยาม By ยาสุกิจิ ยาตาเบ
  • รีวิวเว้ย (435) เป็นเวลากว่า 87 ปีแล้วที่ประเทศสยาม/ไทย เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาสู่รูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย (อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) น่าแปลกใจที่เป็นเวลากว่า 87 ปีแล้ว นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ประเทศไทย ยังดูหลงทางหาไม่เจอเสียที่ว่าสรุปแบบระบอบประชาธิปไตยของไทยนั้นมันควรที่จะมีหน้าตาเป็นแบบไหนกันแน่ นับวันเรากลับยิ่งมีความเข้าใจต่อคำว่า "ประชาธิปไตย" ได้แปลกประหลาดขึ้นทุกที อย่างล่าสุดสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งโดย คสช. เพิ่งแสดงคมามเห็นว่าตนนิยมชอบชอบระบอบ "เผด็จการประชาธิปไตย" ฟังแล้วก็ได้แต่งงว่ามันพูดห่าอะไรของมันวะ (?) ซึ่งนอกจากมันจะแสดงถึงทัศนะที่แสดงให้เห็นถึงความไม่เข้าใจในระบอบประช่ธิปไตยแล้ว มันยังแสดงให้เห็นอีกว่า "ประชาธิปไตย" ในสังคมไทยไม่ได้มีความหมายอะไร นอกจากการเป็นเพียงวลีสั้น ๆ ที่ไร้ค่าไร้ความหมาย กว่า 87 ปีของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง นอกจากเราจะไม่เข้าใจความหมายของระบอบประชาธิปไตยแล้ว ตัวแสดงสำคัญที่นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงการปกครองอย่าง "คณะราษฎร" ดูจะกลายกลับไปเป็นตัวร้ายที่สร้างความบรรลัยให้กับระบอบการปกครองของสยาม/ไทย นับตั้งแต่ย่ำรุ่งของวันที่ 24 มิถุนายน 2475 กระทั่งถึงปัจจุบัน พวกเขาก็ยังถูกใส่ร้ายให้กลายเป็น "ตัวร้าย" ในนวนิยายประชาธิปไตยของฝ่ายขวาในสังคมไทย 
    หนังสือ : การปฏิวัติและการเปลี่ยนแปลงในประเทศสยาม บันทึกของทูตญี่ปุ่นผู้เห็นเหตุการณ์ปฏิวัติ 2475 (พ.3)
    โดย : ยาสุกิจิ ยาตาเบ แปล เออิจิ มูราชิมา, นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
    จำนวน : 160 หน้า
    ราคา : 175 บาท

    "การปฏิวัติและการเปลี่ยนแปลงในประเทศสยาม บันทึกของทูตญี่ปุ่นผู้เห็นเหตุการณ์ปฏิวัติ 2475" เป็นหนังสือที่ถูกตีพิมพ์มาแล้วถึง 3 ครั้ง (ครั้งนี้ครั้งที่ 3) ซึ่งหนังสือเล่มดังกล่าวถูกเขียนขึ้นจากบันทึกความทรงจำและบันทึกทางการทูตของทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยในช่วงเวลาดังกล่าว (ระหว่างเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง) โดยหนังสือเล่มนี้ได้พูดถึงเรื่องราวของการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากมุมมองของนักการทูตชาวต่างชาติ ที่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นการบันทึกเหตุการณ์ร่วมสมัยจากสายตาของคนนอก ทำให้อคติบางประการอาจจะถูกทอนออกไปซึ่งมีความแตกต่างกับการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวกับ 2475 ที่ถูกสร้างโดยปัญญาชนสยาม/ไทย ทั้งในช่วงเวลาดังกล่าวและช่วงหลัง ที่อาจจะมีการเติมแต่งอคติบางประการเข้าไปในยามที่ตนเองสร้างงานขึ้นมา

    "การปฏิวัติและการเปลี่ยนแปลงในประเทศสยาม บันทึกของทูตญี่ปุ่นผู้เห็นเหตุการณ์ปฏิวัติ 2475" ได้พูดถึงเรื่องราวของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ตั้งแต่ก่อนการเกิดการเปลี่ยนแปลง ระหว่างการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น และภายหลังการเปลี่ยนแปลงที่เกิดการต่อสู้แก่งแยงกันระหว่างคณะเจ้าและคณะราษฎร หรือระหว่างคณะราษฎรด้วยกันเอง

    หนังสือเล่มนี้อาจจะมีการบันทึกข้อมูลที่เรา ๆ ท่าน ๆ ที่เคยศึกษางาน 2475 มาบ้างอาจจะรู้สึกแปลก ๆ เมื่อลองอ่าน แต่ถ้าลองคิดอีกมุมหนึ่งว่า นี่คือบันทึกของผู้เห็นเหตุการณ์ ณ ช่วงเวลานั้นจริง ๆ และไม่ได้มีข้อมูลอื่น ๆ ที่เกิดจากการศึกษาข้อมูลโดยรอบเลย เมื่อลองเทียบบริบทดังกล่าว เราจะพบว่างานชิ้นนี้มีส่วนสำคัญ ต่อการเปิดโลกในเรื่องของการศึกษา 2475 อยู่มิใช่น้อย โดยเฉพาะในเรื่องของข้อถกเถียงในเรื่องของ "วันพระราชทานรัฐธรรมนูญ" หรือ "วันรัฐธรรมนูญ" งานชิ้นนี้ได้บ่งบอกถึงเหตุและผลบางประการของการช่วงชิงความหมายของการได้มา (พระราชทาน) รัฐธรรมนูญเอาไว้ได้อย่างน่าสนใจ

    หากเรายังติดอยู่กับข้อถกเถียงของ 2475 ว่ามันเกิดขึ้นเร็วเกินไป (ชิงสุกก่อนห่าม) หรือมันไม่ควรเกิดขึ้นเลย หรือมันเป็นความผิดพลาดร้ายแรงต่อระบอบการปกครองของไทย หรือจะมองว่ามันดีแล้วก็ตามแต่ เรื่องราวของ 2475 ยังมีแง่มุมให้เราได้ลองศึกษาอีกมาก หากเราลองเปิดใจและลองศึกษาข้อมูลจากทุกด้านทุกฝ่าย (ซึ่งแม่งเยอะฉิบหาย) เราอาจจะได้มุมมองที่มีต่อ 2475 ในลักษณะที่ต่างออกไปจากบรรดางานศึกษาที่เคยมีมาทั้งหมดก็เป็นไปได้

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in