เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ภาษาเจ้าภาษานาย By ดร.อาวุธ ธีระเอก
  • รีวิวเว้ย (212) ทำไมคนไทยถึงไม่รู้ (?) และไม่เก่ง (?) ภาษาอังกฤษ ดูจะเป็นคำถามที่อยู่คู่กับระบบการศึกษาของไทยมาช้านาน และมีการพูดถึงอยู่บ่อยครั้ง เมื่อเทศกาลการจัดระดับทางการศึกษาในระดับนานาชาติเวียนมาครบรอบ ซึ่งดูเหมือนว่าการจัดระดับเรื่องของการใช้ภาษาอังกฤษในประเทศไทยจะถูกแซงหน้าด้วยประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้นทุกปี (ลำดับลดทุกปี) และเมื่อผลการจัดระดับออกเผยแพร่คราใด กระทรวงศึกษาก็มักออกมาฮึ่ม ๆ แล้วก็หายไปตามข่าวที่ค่อยหายไปตามความไวของการเลื่อนนิ้ว ตามหน้าจอโทรศัพท์
    หนังสือ : ภาษาเจ้าภาษานาย: การเมืองเบื้องหลังการศึกษาภาษาอังกฤษ สมัยรัชกาลที่ 5
    โดย : ดร.อาวุธ ธีระเอก
    จำนวน : 280 หน้า
    ราคา : 240 บาท

    หลายคนเชื่อว่าความอ่อนด้อยทางด้านภาษาอังกฤษและภาษาต่างประเทศของไทยเกิดขึ้นจากการที่เรา (เมืองไทย/สยาม) ไม่เคยตกเป็น "เมืองขึ้น" ของต่างชาติ ส่งผลให้เราเชื่อมั่นและภาคภูมิใจว่าภาษาไทยจะกลายเป็น "ภาษากลางของโลก" ส่งผลให้คนไทยไม่ใส่ใจศึกษาภาษาอังกฤษ แต่นั่นก็เป็นเพียงบทสนทนาในวงเหล่าของเหล่าคนเกรียนหลาย ๆ คน

    แต่แท้จริงแล้วเหตุแห่งการไม่เก่งภาษาต่างประเทศของคนไทยนั้น มีเบื้องหลังในทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ ทั้งเรื่องของการผลิตคนเพื่อรองรับระบบราชการ รวมถึงการวางรากฐานทางการศึกษา ผ่านรูปแบบของโรงเรียนหลวง โรงเรียนราษฎร และโรงเรียนสอนศาสนา ซึ่งรวมไปถึงการตัดสินใจใช้อำนาจและพรัราชอำนาจของบรรดาผู้ปกครองสมัยนั้น ที่จะส่งเสริมหรือจำกัดการรับรู้ภาษาต่างชาติของคนในสังคมสมัยนั้น

    เหตุเหล่านั้นล้วนกลายเป็นมูลฐานของการอ่อนด้อยทางด้านภาษา ที่ถูกศึกษาผ่านกระบวนการทางประวัติศาสตร์ ยังผลให้เราสามารถทำความเข้าใจหนึ่งในปัจจัยสำคัญในเรื่องของการศึกษาภาษาต่างประเทศในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์

    แต่ทั้งหมดทั้งมวลที่ถูกกล่าวถึงใน "ภาษาเจ้าภาษานาย: การเมืองเบื้องหลังการศึกษาภาษาอังกฤษ สมัยรัชกาลที่ 5" ก็เป็นเพียงเหตุผลทางประวัติศาสตร์ที่ศึกษาในเรื่องของการศึกษาภาษาต่างประเทศผ่านบริบทของสังคมสมัยก่อน ที่ต้องการพัฒนาบ้านเมืองในบ้างด้านบางมุม

    แต่สำหรับเหตุผลของการอ่อนด้อยด้านภาษาต่างประเทศในปัจจุบัน อาจจะต้องมีการศึกษาองค์ประกอบอื่นเพื่อหาคำตอบของปัญหาได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น เหตุนี้เรื่องของความอ่อนแอในภาษาต่างประเทศ อาจจะมีบริบททางประวัติศาสตร์เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ แต่มันก็ไม่ใช่ทั้งหมดหลังจากผ่านเวลามานับ 100 ปี

    หากอยากรู้ว่าอะไรเป็นองค์ประกอบเพิ่มเติมของปัญหา เราอาจจะต้องทำการศึกษาเพิ่มเติม แต่เราควรจะเริ่มจาก "ภาษาเจ้าภาษานาย: การเมืองเบื้องหลังการศึกษาภาษาอังกฤษ สมัยรัชกาลที่ 5" ก่อนจักเป็นการดี

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in