รีวิวเว้ย (328) "อย่าคิดว่านักมนุษยวิทยาจะช่วยอะไรใครเขาได้ นักมนุษยวิทยาไม่ได้มีอำนาจออกนโยบายอะไรได้ สิ่งที่เราทำได้คือช่วยเปิดพื้นที่ให้คนเข้าใจคนไร้บ้านมากขึ้นต่างหาก" (น.158) คนไร้บ้านเป็นหนึ่งในสิ่งที่สังคมแทบทุกสังคมมองว่าเป็น "ปัญหา" ทั้งปัญเรื่องของความสะอาด ปัญหาเรื่องของการก่ออาชญากรรม รวมไปถึงปัญหาเรื่องของสุขภาวะอนามัยของพื้นที่ หรืออาจจะเรียกรวมปัญหาต่าง ๆ ง่าย ๆ ว่า "ปัญหาสังคม" คนไร้บ้านถูกมองว่าเป็นปัญหาสังคม เป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญที่สังคมต้องจัดการแก้ไข เพราะคนไร้บ้านมักจะนำปัญหาอื่น ๆ ตามมาเสมอ ในท้ายที่สุดแนวคิดที่ว่าคนไร้บ้านเป็น "ปัญหาสังคม" มันมักนำพามาด้วยวิธีของการแก้ไขปัญหาด้วยกระบวนการละเลยคุณค่าความเป็น "มนุษย์" ของพวกเขาหล่านั้น หลายครั้งในหลายสังคมให้คุณค่าของบรรดาคนไร้บ้านต่ำกว่าบรรดาสัตว์เลี้ยงของพวกเขาเสียอีก เป็นที่น่าฉงนสนเท่เป็นอย่างยิ่งว่าเพราะเหตุใด คนเร่จึงมองคนไร้บ้านว่า "ไร้ค่า" และ "ไม่ใช่คน"
หนังสือ : สายสตรีท: มนุษยวิทยาข้างถนนในมะนิลา
โดย : บุญเลิศ วิเศษปรีชา
จำนวน : 160 หน้า
ราคา : 250 บาท
"สายสตรีท: มนุษยวิทยาข้างถนนในมะนิลา" หนังสือของอาจารย์บุญเลิศ วิเศษปรีชา จากคณะสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ว่าด้วยเรื่องของการศึกษาคนไร้บ้านในประเทศฟิลิปิน โดยเฉพาะในพื้นที่ของกรุงมะนิลา ก่อนหน้าการออกหนังสือเล่มนี้อาจารย์บุญเลิศ เคยออกหนังสือเล่มหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องของคนไร้บ้านมาก่อนหน้าแล้วเล่มหนึ่ง ชื่อว่า "โลกของคนไร้บ้าน" โดยหนังสือเล่มนี้ปรับมาจากงานวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทของอาจารย์ที่ทำการศึกษาโลกของคนไร้บ้านในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะในพื้นที่ของอาณาบริเวณของเกาะรัตนโกสินทร์ https://minimore.com/b/G3VYh/172 ในงานเขียนชิ้นนั้นอาจารย์ได้ทำการศึกษาโลกของคนไร้บ้านด้วยวิธีการจุมตัว ในทางสังคมวิทยาคือการพาตัวเองเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่ศึกษาในที่นี้ก็คือการไปเป็น "คนไร้บ้าน" เพื่อศึกษาและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับโลกของคนไร้บ้าน
สำหรับหนังสือ "สายสตรีท: มนุษยวิทยาข้างถนนในมะนิลา" ก็เป็นหนังสือที่มาจากงานศึกษาแบบเดียวกับหนังสือเล่มก่อนหน้าแต่ครั้งนี้เป็นงานศึกษาในระดับวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก และพื้นที่ของการจุมตัวอยู่ที่เมืองมะนิลา ใช้เวลาทั้งสิ้น 14 เดือนกับอีก 10 สัปดาห์ในการศึกษาโลกของคนไร้บ้านในฟิลิปปิน
ความแตกต่างของ "สายสตรีท: มนุษยวิทยาข้างถนนในมะนิลา" กับงานชิ้นก่อนหน้าอย่าง "โลกของคนไร้บ้าน" อยู่ที่เนื้อหาและอารมณ์ของการนำเสนอผลงานทั้ว 2 สำหรับโลกของคนไร้บ้าน คือ การปรับเอาตัววิทยานิพนธ์มาปรับรูปแบบให้กลายเป็นหนังสือ แต่กลับงาน "สายสตรีท: มนุษยวิทยาข้างถนนในมะนิลา" ชิ้นนี้ อาจารย์นำเสนอมันในรูปของบันทึกคสามทรงจำในการจุมตัวเพื่อทำการศึกษาว่าตลอดระยะเวบา 14 เดือน 10 สัปดาห์นั้น เกิดสิ่งใดขึ้นบ้างทั้งกับกลุ่มคนไร้บ้านที่ถูกศึกษา และกับตัวผู้ศึกษาเองว่าตลอดระยะเวลาของการจุมตัว 14 เดือน 10 สัปดาห์นั้น เกิดสิ่งใดที่เปลี่ยนแปลงทั้งตัวเขาและตัวเราบ้าง
"สายสตรีท: มนุษยวิทยาข้างถนนในมะนิลา" แสดงให้เราเห็นความเป็นมนุษย์ของ "คนไร้บ้าน" อีกทั้งยังแสดงให้เราเห็นถึงปัจจัยในเรื่องของข้อจำกัดในการเป็น "คนไร้บ้าน" ในหนังสือแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนผ่านสถานะของความเป็นคน จากคนธรรมดา ๆ คนหนึ่งที่มีบ้านอยู่ เปลี่วนแปลงมาสู่โลกของคนไร้บ้านได้อย่างไร ก่อนหน้าเราเคยเชื่อว่าคนไร้บ้านมักเป็นคนที่ชีวิตพบเจอปัญหาใหญ่หลวง แก้ไขได้ยากหรืออาจจะไม่ได้เลย ยังผลให้พวกเขาต้องหลบลี้หนีหายจากสังคมเดิมสู่พื้นที่ใหม่ที่ไม่มีใครรู้จักและไม่มีใครใคร่รู้จัก
"สายสตรีท: มนุษยวิทยาข้างถนนในมะนิลา" ช่วยสร้างข้อโต้แย้งของการหลีกลี้หนีปัญหาของคนไร้บ้าน ว่าแท้จริงแล้วพวกเขาออกมาเป็นคนไร้บ้านไม่ได้จำเป็นต้องมีมูลเหตุมาจากปัญหาเสมอไป บางคนก็มาเพราะอยาก บางคนก็มาเพราะความสุข และบางคนก็มาเป็นคนไร้บ้านเพราะเขาเชื่อว่านั่นเป็นพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า
"สายสตรีท: มนุษยวิทยาข้างถนนในมะนิลา" ยังช่วยให้เราเข้าใจอีกว่าในสังคมทุกสังคมล้วนวางอยู่บนฐานของความหลากหลาย และด้วยความหลากหลายนี้เอง "คนไร้บ้าน" จึงไม่จำเป็นต้องเป็นปัญหาและเป็นคนไร้ค่าของสังคมเสมอไป เพราะในหนังสือเล่มนี้แสดงให้เห็นแล้วว่าไม่ว่าคุณจะเป็นใคร มาจากครอบครัวหรือสังคมแบบใด ในท้ายที่สุดแล้วทุกคนก็คือ "คน" เหมือนกันทั้งนั้น
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in