เปรียบราศีมีน - ปลา
“ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” ประเทศไทยเป็นดั่งคำนี้จริงๆ แต่ประเทศอเมริกานั้น การเกษตรค่อนข้างยากกว่าเล็กน้อย ซึ่งเลยอยากเปรียบการเกษตรเป็นเหมือนกับการที่มีปลาในน้ำ และมีข้าวในนา ไม่เพียงเท่านั้น ความอุดมสมบูรณ์ที่เกิดขึ้นจากการทำซีเอสเอ แบ่งปัน ก็เป็นสิ่งที่ควรคำนึงเหมือนกัน
หนังสือเล่มนี้เริ่มต้นถึงการอธิบายว่า ซีเอสเอคืออะไร เพื่อนๆคงเริ่มอยากรู้กันแล้ว ดังนั้น เราขอพูดในตรงนี้เลยค่ะ
ซีเอสเอ = ผู้ผลิตอาหาร + ผู้บริโภคอาหาร + ข้อผูกพันเป็นรายปีที่มีต่อกัน
การทำเกษตรเหมือนการทำธุรกิจอย่างหนึ่งซึ่งคือต้องมีทั้งคนผลิตและคนบริโภค เพราะฉะนั้น ถ้าผู้บริโภคสนับสนุนการเกษตรแบบซีเอสเอ ก็คือการแบ่งปันกันใช้และการเเบ่งปันร่วมกันแล้ว การเกษตรเช่นนี้ก็ยังจะประสบความสำเร็จในรูปธรรม ดั่งเช่น หลายฟาร์มที่อยู่ในหนังสือเล่มนี้
การทำเกษตรซีเอสเอ ต้องมีเงินเข้ามาทำร่วมกัน แต่แหล่งที่มาของเงินเหล่าน้ันจำเป็นต้องเป็นเงินที่ไม่ได้มาจากการกู้ยืม แต่เป็นเงินที่มีเท่าไรก็ลงทุนเท่านั้น หากไม่มีก็รอจนกว่าจะมี แล้วค่อยนำมาลงทุน แต่การเกษตรนี้ต้องมีการสร้างเครือข่ายอย่างมั่นคง เพื่อจะได้มีการแบ่งปันกันให้และรับไปด้วยกัน
ตอนเราอ่านหนังสือเล่มนี้ เรารู้สึกว่า “เป็นหนังสืออีกเล่มที่ไม่ค่อยได้อ่าน แต่เป็นหนังสือที่อ่านแล้วหยุดไม่อยู่จริง เพราะเห็นภาพและเข้าใจสิ่งที่ทุกคนกำลังทำอยู่” แถมทำให้นึกถึงเกม “Hay Day” ที่เคยเล่นมานานแล้วว่า “พอเรามีของอะไรก็จะเเบ่งปันกันซื้อกับขายกับเพื่อนในฟาร์ม บางอันเพื่อนไม่มีวัตถุดิบ ก็มาขอเราในฟาร์ม เราลงขายให้ และบางครั้งเราไม่มี เพื่อนก็ลงขายให้เช่นกัน” ดังนั้น เมื่อเพื่อนๆอ่านเล่มนี้จบก็จะพบว่า อยากกลับไปเล่นเกมนี้อีก
หลังจากที่มีการสร้างเครือข่ายอย่างมั่นคงแล้ว ก็เปรียบดั่งการลงเมล็ดพันธุ์ลงไป และรอรดน้ำ พรวนดิน ให้อาหาร ให้ความรัก ให้ความเอาใจใส่ จนธรรมชาติหรือผลผลิตโตขึ้นมาจนกลายเป็นที่พอใจ และเมื่อเครือข่ายมีเพิ่มขึ้น ก็ยิ่งทำให้การเกษตรซีเอสเอเป็นจริงและเป็นไปตามที่ควรจะเป็น เพราะการสร้างเครือข่ายเหมือนการสร้างสมาชิกจำนวนมาก
หลังจากที่สร้างเครือข่ายหรือสมาชิกจำนวนมากแล้ว ก็จะพบถึงวิธีที่สำคัญที่สุดของการรักษาให้สมาชิกยังกินดีอยู่ดี และอยู่กับเครือข่ายตลอดไป ดังนั้น “การให้ - การรับ” จากเครือข่ายด้วยกันจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะสิ่งเหล่านี้ถูกเรียกว่า “การแบ่งปัน” อย่างดีที่สุด
ยกตัวอย่างเช่น
“คำตอบต่อปัญหาการผลิตอาหารที่ตกอยู่ในกระแสโลกาภิวัฒน์ ด้วยข้อเสนอที่เรียบง่าย นั่นคือ สร้างความร่วมมือระหว่างเกษตรกรในท้องถิ่นกับผู้บริโภคที่อยู่ใกล้เคียง ...”
(ระบบซีเอสเอ คือ ระบบที่พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เปรียบดั่ง หากมีผู้ผลิต แต่ไม่มีผู้บริโภค ผลผลิตเหล่านั้นก็ต้องเน่าในที่สุด เช่นเดียวกัน หากไม่มีผู้ผลิต มีแต่เพียงผู้บริโภค ผู้บริโภคต้องอดอยากในที่สุด เพราะฉะนั้น การสร้างระบบนี้ คือ การสร้างความถ้อยถี่ถ้อยอาศัยกัน แบบพึ่งพา แบ่งปัน และมอบให้กันและกัน)
หนังสือเล่มนี้อ่านไป ก็ยิ่งชอบอ่าน เพราะคนที่แปล แปลออกมาให้ภาษาดูสละสลวย และทำให้เรานึกถึงเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง” ที่ในหลวง ท่านได้สอนให้เห็นชัดกว่าเรื่องนี้ ก็คือ ทุกอย่าง ไม่ว่า มูลสัตว์ หรือธรรมชาติ สามารถแปรรูปเป็นอาหารให้สัตว์ทาน หรือแปรรูปให้คนใช้ หรือยังเหลือเงินเก็บในแต่ละวันได้อีกด้วย ดังนั้น ถ้าหากทุกคนพร้อมใจกันใช้เกษตรของไทย ชาวนาก็อยู่รอด โดยพึ่งพาตัวเอง และเล่มนี้มีตัวอย่างฟาร์มที่ทำสำเร็จจำนวนมากให้เพื่อนๆได้เรียนรู้อีกด้วยค่ะ สนุก ภาษาไหลลื่น และเรื่องราวก็ทำได้อย่างแน่นอน
เกษตรซีเอสเอนั้นน่ารู้
สิ่งที่ดูคือเขาทำอะไรหนา
เขาทำการแบ่งปันและให้มา
ก่อนไล่กาไม่ให้มาทำลายผล
ผลผลิตงอกงามตามความสุข
เมล็ดพันธุ์ลุกตื่นตามสิ่งสน
งอกงามตามสิ่งที่ทำแต่ตน
และทุกคนก็เอ่ยชื่นชมยินดี
LOOK A BREATHE
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in