หนังสือเรื่อง กัมบัตเตะ (Ganbatte - 頑張って)
“ถึงแม้ล้มมากเท่าไร
จงลุกได้ให้เร็วนะ
ชีวิตจะต่างกันจะ
ตรงไร้ละลาทุกข์”
หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่อ่านแล้วเข้าใจความเป็นชีวิตในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น และเข้าใจที่มาของคำว่า “กัมบัตเตะ” มากขึ้นว่า จริงๆแล้ว แฝงไปด้วยนัยแบบนี้นี่เอง
เรามั่นใจว่า เมื่อคนเราเกิดมาและทำงาน เรียนหนังสือ หรือทำอะไรก็ตาม ย่อมมีความผิดหลาดเกิดจากการกระทำในสิ่งเหล่านี้ไม่มากก็น้อย และหลายครั้ง เราก็วนกับการหาทางออกไม่ได้จากปัญหาที่เกิดขึ้น และหนังสือเล่มนี้ล่ะที่จะทำให้เราหาทางออกได้
“ความจริงของคำว่า
พยายามเข้านะ (頑張って) คืออะไร”
คลื่นชีวิตคืออะไร เมื่อเราพบเจอ ควรทำอย่างไรดี
เราเคยเฝ้าสอบถามตัวเองอยู่ทุกวันว่า ชีวิตของเราเจอปัญหามากมายและเราผ่านมันมาได้อย่างไร เราก็พบว่า ในชีวิตเราก็แอบใช้กัมบัตเตะเหมือนกัน คือ การพยายามมองไปข้างหน้า และกำหนดจุดมุ่งหมายให้สำเร็จ โดยมุ่งไปข้างหน้าอย่างรอบคอบและมีสติ ไม่ว่า เราพบคลื่นซัดกระเซ็นมากเท่าไหร่ เราต้องพาเรือของเรามุ่งไปข้างหน้าอย่างมีสติและรอบคอบ และการประสบความสำเร็จของแต่ละคน ย่อมไม่เท่ากัน บางคนอาจประสบความสำเร็จตอนอายุน้อยหรืออายุมากก็ย่อมอยู่ที่จุดมุ่งหมายและทางเลือกที่เราเลือกเดิน
และเราพบว่า ทำไมนะ เวลาที่เราทำงานกับคนญี่ปุ่น เราพบว่า มีสิ่งหนึ่งที่คนญี่ปุ่นมีความคล้ายคลึงกันคือ ความเข้มงวดในตัวเองและมุ่งไปข้างหน้า เพราะกฎข้อหนึ่งของกัมบัตเตะนั้นเองที่ต้องเริ่มต้นจากตัวเองก่อน และทำตัวเองให้เป็นแบบอย่างของคนอื่น เรื่องนี้เองที่ทำให้เข้าใจในการทำงานกับคนญี่ปุ่นมากขึ้น
สำหรับเรา เราว่า คนญี่ปุ่นเขาเป็นคนที่รับฟังปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้น และเขาก็เงียบแต่เปล่าเลยคือ เขาเอาไปคิดนะ และค่อยมาหาทางออกร่วมกัน หรือหลายครั้งที่เสนอทางที่เราคิด เขาก็เอาไปคิด และเวลาเขาให้เครดิต เขาจะบอกว่า เป็นความคิดของเรานะ ซึ่งนี้คือส่วนหนึ่งของกัมบัตเตะนะ
วัฒนธรมของญี่ปุ่นมีความเเตกต่างจากประเทศอื่นในโลกอย่างเช่นไคเซ็น และโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่คนญี่ปุ่นจะมีความอดทนในการทำงานอย่างหนึ่ง โดยการก้าวขึ้นบันไดของญี่ปุ่น คือ การก้าวทีละก้าวอย่างมั่นคง และในระหว่างนั้น ก็ยังหันมองกลับมาดูว่า มีะไรที่ผิดพลาดและต้องแก้ไขอย่าง
ไร
และสุดท้ายของเรื่องกัมบัตเตะ คือ การรักในงานที่ทำ ไม่ว่างานนั้นจะเป็นงานแบบไหน เราก็ต้องรู้คุณค่าของงานที่เราทำและตั้งใจทำมันออกมาให้ดีที่สุด และสนุกกับมัน แถมการตั้งจุดมุ่งหมายให้นึกว่า เหมือนกับการเดินขึ้นภูเขาไฟฟูจิที่มีการเดินขึ้นหลายแบบ แต่สำคัญสุดคือ จุดมุ่งหมายที่เราต้องไปให้ถึง นั้นต่างหากล่ะที่สำคัญ
หนังสือหลังปกเรื่อง กัมบัตเตะ (Ganbatte - 頑張って)
หนังสือเล่มนี้จบพร้อมคำถามที่อยู่ในหัวเราว่า เราอยากเป็นคนแบบไหน และเรามีจุดมุ่งหมายอะไรในชีวิตบ้าง และเราเดินไปทางนั้นได้อย่างไร คือ การวางแผนเพื่อตัวเราอย่างแท้จริง ความคิดนี้ อาจดูเหมือนเห็นแก่ตัว แต่จริงแล้ว คือ เปล่าเลย เพราะการเริ่มต้นจากตัวเองเป็นการสร้างพื้นฐานชีวิตอย่างแท้จริง
“พยายามเข้านะ กัมบัตเตะ”
Look A Breathe
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in