“เมื่อเสี่ยงทายในครั้งนี้
กลับพบกับความลับที่ซ่อนเร้น”
รูปภาพนี้ เมื่อเราจับเซียมซีได้เบอร์ที่ ๑๕
“พูดความจริง มันยาก ขนานหนา
ทุกคนลา ความจริง ที่ค้นหา
เพราะทุกครา ทุกคน ร่วมกันมา
พร้อมใจลา พูดเท็จ หลอกลวงเอย”
รูปภาพนี้ อาจารย์ริวโนสุเกะ อากิตางาวะ
เรื่องราวเล่มนี้ถูกเขียนโดยนักเขียนที่มีชื่อเสียงอย่างริวโนสุเกะ ซึ่งอาจารย์ท่านเขียนเรื่องสั้นอย่างราโชมอน ในเรื่อง “ป่าละเมาะ” แต่ถ้าราโชมอนที่อาจารย์เขียนเป็นคนละเรื่องกันค่ะ
รูปภาพนี้ สดุดีอาจารย์คึกฤทธิ์ ปราโมช
แต่อาจารย์คึกฤทธิ์ ปราโมช ท่านได้นำเรื่องราวของ “ป่าละเมาะ” มาแปลให้เป็นตามเรื่องราวเดียวกันและใช่ชื่อเดียวกันตามภาพยนตร์ญี่ปุ่นคือ “ราโชมอน” ซึ่งทางญี่ปุ่นใช้ชื่อราโชมงหรือประตูผี แต่อาจารย์คึกฤทธิ์ใช้คำว่า “มอน” แทน “มง” เพื่อการอ่านที่ง่ายในสมัยนั้น
“อาตมาก็โง่เหมือนกัน หาเหตุไม่ได้เหมือนกัน”
พระพูดกับคนตัดฟืน
หนังสือเล่มนี้เป็นบทละครที่อ่านแล้วสนุกมาก ตื่นเต้น น่าติดตาม และพยายามคิดตามว่า ใครพูดความจริง พอเปิดเผยความจริง เรารู้สึกถึงความเข้าใจเหตุของคนโกหกทั้งหลายและผลที่ตามมาก็คงจะเป็นอย่างงี้
รูปภาพนี้ ประตูราโชมงหรือประตูผีในอดีต
“ถ้าท่านรู้จักกับผีที่ฝังอยู่แถวนี้ ท่านคงชอบนะครับ
นอนเฉย ไม่นินทาใคร ไม่ด่าว่าใคร ไม่ขโมย
ไม่เบียดเบียนกัน ไม่ทะเลาะวิวาทกัน ไม่ต่อยตีกัน
ก็นั้นแหละครับ กลิ่นออกจะไม่ดีสักหน่อย
แต่ก็ไม่เหม็นเท่าคนเป็นๆบางคนหรอกครับ”
คนทำช้องพูดกับพระและคนตัดฟืน
มีคดีฆาตกรรมแปลกเกิดขึ้นเมื่อซามุไรผู้หนึ่งได้ตาย และเมื่อจับตัวคนร้ายได้ เรื่องราวก็ควรจบแล้ว แต่กลายเป็นว่า เรื่องราวกลับไม่จบ เพราะแต่ละคนสารภาพผิดที่ต่างกันไป
ตาโจมารุ จอมโจรผู้มีชื่อว่า “เลวยิ่งกว่าเดรัจฉาน” ได้ขึ้นศาลและยืนยันว่า ตัวเองฆ่าชายซามุไรผู้นั้น เพราะเพียงลมแค่วูบเดียว ทำให้เขาหลงรักเมียของซามุไรผู้นั้น และเขาตัดสินใจขืนใจเมียของซามุไรผู้นั้น ก่อนที่จะฆ่าซามุไรผู้นั้น
รูปภาพนี้ ภาพยนตร์ส่วนหนึ่งของญี่ปุ่นในชื่ออังกฤษว่า “Rashomon”
ในขณะที่ตาโจมารุให้การอยู่นั้น เมียของซามุไรมาเบิกคำให้การที่ต่างไปจากโจรว่า หลังจากที่เธอถูกโจรขืนใจ เธอก็เห็นโจรหนีไปแล้ว และเธอหันไปมองยังสามีของเธอที่ทำหน้าตาแบบดูถูกเธอมา ทำให้เธอรู้สึกแย่และเศร้า ก่อนจะเผลอตวัดดาบไปโดนสามีของเธอ จนถึงแก่ความตาย
และอยู่ดีๆ เรื่องก็ไม่จบ เมื่อเชิญคนทรงมา คนทรงกลับบอกว่า หลังจากเมียเขาถูกขืนใจ เมียเขากับตาโจมารุก็คุยกันอย่างสนิทสนม และเมียเขาเรียกให้ตาโจมารุฆ่าเขา แต่ตาโจมารุไม่ได้ทำ และอยู่ดีๆ เขารู้สึกมืด มีดได้ปักอกเขา และตัวเขาเป็นคนดึงมีดขึ้นมาเอง
รูปภาพนี้ ละครเวทีของไทยเรื่อง “ราโชมอน”
แต่ละคนพูดจาไม่เหมือนกัน และตอนที่คนตัดฟืนบอกว่า “ทุกคนพูดจาโกหก” ซึ่งพระเข้าใจทันทีว่า คนตัดฟืนหลอกลวงแน่ และคนตัดฟืนเริ่มเล่าความจริงว่า เขาไปเห็นผู้หญิงกำลังหวีผม และตาโจมารุคุกเข่าขอรักจากผู้หญิง ผู้หญิงขอให้ทั้งสองสู้กันเพื่อตัวเอง แต่ทั้งคู่ไม่ยอม แต่ผู้หญิงด่าทั้งสองว่า ขี้ขลาด ดังนั้น ทั้งสองสู้กัน แต่ปรากฎว่า ซามุไรเผลอตกไปถูกดาบเสียบตัวเอง
คราวนี้ พออ่านถึงตรงนี้ก็จะเริ่มมีคำถามว่า “แล้วดาบเงินหายไปไหน” ก็มีเสียงเด็กร้องขึ้นมาขัดทุกคน และความจริงก็เปิดเผยจากคนทำช้องที่ว่า คนตัดฟืนไปดึงดาบออกมาจากร่างของซามุไร ทำให้ซามุไรถึงแก่ความตาย เพื่อขโมยดาบไปขาย และคนตัดฟืนทำเพื่อความเป็นอยู่ของครอบครัวตัวเอง ดังนั้น คนตัดฟืนขอเด็กจากพระ เพื่อไปเลี้ยง
รูปภาพนี้ ภาพยนตร์ไทยเปลี่ยนชื่อจาก “ราโชมอน” เป็น “อุโมงค์ผาเมือง”
“จากเรื่องราวนี้ เราพบว่า พระท่านกว่าจะหาเหตุของเรื่องนี้ได้ ซึ่งท่านเป็นคนโง่หนึ่งคนเช่นกัน เพราะท่านถูกหน้าฉากของทุกคนหลอกลวง ไม่ว่าคนตายอย่างซามุไรที่อยากให้คนจดจำว่า ตัวเองกล้าหาญ โจรอย่างตาโจมารุ อยากให้ทุกคนจดจำได้ว่า ตัวเองเก่งกล้าสามารถ ส่วนเมียของซามุไร อยากให้ทุกคนจดจำว่า ซื่อสัตย์ต่อสามี และตัวของท่านเองอยากให้คนจดจำว่า เป็นคนหลุดพ้นซึ่งกิเลสตัณหา
“ความเป็นจริงแล้ว ท่านและคนอื่นถูกความหลงที่เป็นเหตุคือ “ทิฏฐิมานะและอุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่น” ลวง
เพราะหลงจากสิ่งที่เราคิดว่าเหนือกว่าเขา
หลงจากสิ่งที่เราคิดว่าเสมอเขา
และหลงจากเราคิดว่าต่ำต้อยกว่าเขา”
คนทำช้องเป็นคนที่ดูหยาบคาย แต่กลับกลายเป็นคนที่ฉลาดสุด เพราะอยู่กับความเป็นจริง และรับฟังคำพูดของคนก่อนที่จะมีการสอบถาม คือ เป็นทั้งผู้ฟังและผู้พูดที่ดี เพื่อจะได้ค้นหาความจริงที่เกิดขึ้น ถึงแม้ว่า หน้าฉากจะดูเป็นคนโกหก หลอกลวง แต่ความจริงแล้ว กลับกลายเป็น “คนจริง” หนึ่งคนเท่านั้น
ส่วนคนตัดฟืนนั้นล่ะ หน้าฉาก ทำตัวเป็นคนดี ขี้กลัว ขี้ขลาด ปกป้องคนดี ไม่อยากยุ่งเรื่องคนอื่น แต่ความจริงแล้ว คือ “คนที่ทำดีกลบเกลื่อนความชั่วตัวเอง” โดยที่ คนแบบนี้มีเยอะ ที่ชอบทำตัวเป็นคนดี แต่ในใจกลับมีความลับคือความผิดซ่อนเร้นอยู่”
รูปภาพนี้ ในป่าละเมาะ ของริวโนสุเกะ
(ลองหาภาพป่าละเมาะที่ใกล้เคียงกับฉากบรรยาย
อาจจะไม่ตรงจากความจริง ต้องขออภัยใน ณ ที่นี้ด้วยค่ะ)
“หนูตัวสีขาวหมายถึงกลางวัน
หนูอีกตัวหนึ่งสีดำหมายถึงกลางคืน
หนูสองตัวนั้นมันกัดเชือกอยู่เรื่อยๆ
ชีวิตคนเรามันก็แค่นั้นแหละเพื่อน
อย่ามามัวเถียงกันว่า ใครผิดใครถูกให้มันเสียเวลาเลย
เวลาที่เราจะโหนเชือกอยู่ได้มันก็มีไม่มากมายอะไรนัก”
คนทำช้อง
เมื่อเราอ่านจนถึงตอนที่พระนำเด็กให้คนตัดฟืนและแยกย้ายกับคนตัดฟืน โดยกล่าวขอบคุณคนตัดฟืน เพราะทำให้ตัวเองเข้าใจเหตุแห่งหลง เพื่อเดินทางกลับวัด และตัดสินใจไม่สึกอีกต่อไป เพื่อค้นหาทางหลุดพ้น เพราะท่านเริ่มเข้าแล้วว่า “สิ่งใดเกิดแต่เหตุ ผลนั้นย่อมมาจากเหตุนั้น”
มนุษย์เราทั้งหลายมักห่วงภาพพจน์ของตัวเองเสมอและทุกคนสร้างภาพลักษณ์ให้คนอื่นมองเห็นในมุมมองที่มนุษย์อยากให้คนเหล่านั้นเห็นเท่านั้น ดังนั้น เมื่อเราอ่านจบแล้ว จะพบว่า เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
“อย่าวางใจทาง อย่าเชื่อใจคนและตน จนกว่า
หาเหตุของสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องและเเม่นยำ
เมื่อนั้น เราพบผลของเหตุนั้น
และนำพาตัวเองเดินไปในทางที่ถูก”
Look A Breathe
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in