ชื่อหนังสือ: สูตรเว่ยหล่าง
ชื่อผู้แปล: พุทธทาสภิกขุ
สำนักพิมพ์: ธรรมสภา
ครั้งที่พิมพ์: ไม่ปรากฎครั้งที่พิมพ์
จำนวนหน้า: 147 หน้า
ราคา: 80 บาท
รูปภาพนี้ ความจริงของความจริง
ชีวประวัติของท่านเว่ยหล่างหรือพระสังฆปริณายกองค์ที่ 6 เป็นเรื่องราวที่น่ายกย่อง น่าติดตามและหลักธรรมคำสอนของท่านที่ลึกซึ้งซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลายไปทั่วโลก และหลายคนได้ศึกษาหลักธรรมนี้และนำไปปฏิบัติย่อมเกิดผลดีด้วย
รูปภาพนี้ จิตเดิมคือจิตเดิมแท้
สูตรเว่ยหล่างไม่ได้เป็นปรัชญาแต่เป็นความจริงที่ใครๆก็ตามซึ่งทุกคนมี นั้นก็คือ “จิตเดิม” ไม่ว่า คนชนชาติใด เชื้อชาติใด หรือ คนพูดภาษาไหน ทุกคนล้วนย่อมมี “จิตเดิมแท้” ด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้น ทุกคนจงเริ่มต้นอ่าน และปฏิบัติจนค้นพบถึงความหมายของจิตเดิมที่แท้จริงเถิด
*** โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน
อย่าเชื่อในความเข้าใจของเราจนกว่าจะปฏิบัติ
และเข้าถึง เพราะเราเพียงแค่อ่าน
ทำตามความเข้าใจผ่านบริบทก่อนหน้านี้
ไม่ได้มาจากใจที่เราถึงจิตเดิมแท้โดยทีเดียว ***
ท่านเว่ยหล่างได้พบกับพระสังฆปริณายกองค์ที่ 5 และเมื่อได้สนทนาธรรมกัน ท่านได้พบว่า ท่านเว่ยหล่างเหมาะกับที่จะเป็นพระสังฆปริณายกองค์ต่อไป แต่ด้วยความที่ว่า จะเกิดความอิจฉาริษยาได้ ท่านจึงค่อยมอบผ้าพร้อมคำสอนและให้ท่านรีบเดินทางออกไป หลังจากที่ท่านเว่ยหล่างได้กล่าวโศลกตอนหนึ่งมีใจความว่า
รูปภาพนี้ โศลก (อ่านว่าสะ-โหลก ที่แปลว่า สุภาษิต) ของเว่ยหล่าง
ความเข้าใจของเรา
ต้นโพธิ์คือกาย (เพราะต้นโพธิ์มีกิ่งก้านสาขา เปรียบเหมือนอายตนะทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้นและกาย)
กระจกใส คือจิตใจ (ใจเป็นการสะท้อนกาย)
เมื่อทั้งสองสิ่ง คือ กายกับใจไม่มี ก็เข้าสู่ความว่างเปล่า (สุญตา) และฝุ่น (เปรียบเป็นกิเลส) จะไปจับลงได้อย่างไรหรือไปครอบงำได้ที่ไหน ในเมื่อไม่มีกิเลสแล้ว
และหลังจากที่ท่านเว่ยหล่างได้รีบหลบหนีไปก็พบกับความลำบากมากมายจากความอิจฉาและประทุษร้าย จนกระทั่ง ท่านสามารถที่จะรอดพ้นและให้คำแนะนำอีกหลายคำสอนให้กับลูกศิษย์ ไม่ว่าจะมีหลากหลายคำสอน ได้แก่
รูปภาพนี้ พุทธะคืออะไร
ความเข้าใจของเรา
เมื่อไหร่ที่เรารู้เท่าทันอารมณ์ของเรา และจิตของเราทำหน้าที่ตามกฎไตรลักษณ์ คือรู้ เกิด ดับและไม่มีตัวตน ก็เข้าถึงพุทธภาวะ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่นและผู้เบิกบานกันทุกคน
รูปภาพนี้ โพธิแท้คืออะไร
ความเข้าใจของเรา
ในไม่ช้า ทั้งมิจฉาและสัมมาก็ต้องละ เพราะเมื่อไหร่ที่ละทั้งสองสิ่งได้ ก็จะพบหนทางคือ มรรค ผล และนิพพาน
ท่านได้ยินคำพูดของภิกษุรูปหนึ่งที่มีความเข้าใจผิดของหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา จึงกล่าวโศลกที่มีใจความว่า
“ออหลุน มีวิธีและเครื่องมือ
ที่จะกั้นจิตเสียจากความนึกคิดทั้วปวง
เมื่ออารมณ์ต่างๆมิได้กลุ้มรุมจิต
ต้นโพธิก็จะงอกงามอย่างเป็นล่ำสัน”
หลังจากนั้นท่านเว่ยหล่างจึงได้กล่าวแก้ไขความเห็นผิดของภิกษุรปนั้นให้มีความเห็นถูก และเรารู้สึกซึ้งในความจริงข้อนี้มาก
รูปภาพนี้ โศลกแก้ไขความผิด
ความเข้าใจของเรา
เพียงแค่รู้เท่าทันอารมณ์ที่เกิดขึ้นกับใจ จิตเดิมแท้ก็จะปรากฎ และหนทางแห่งความหลุดพ้นก็อยู่ข้างหน้า
และชีวิตของท่านก็เดินทางมาจนถึงเกือบจะสุดท้ายของชีวิตที่ท่านได้ทุ่มเทสอนศิษย์ต่อไป และท่านได้มีคำทำนายว่า เมื่ออีก 5 ปีถัดจากที่ท่านเสียจะมีคนมาตัดเศียรท่านและคนๆนั้นจะพบกับความวิบัติ ก่อนที่จะผ่านไปนานถึง 70 ปี มีสองบุคคลที่เป็นโพธิธรรม ประกอบด้วยฆราวาส 1 ท่านและพระภิกษุอีก 1 องค์จะมาเผยแพร่สูตรของท่านและปฏิสังขรณ์วัดวาอารามของท่าน
รูปภาพนี้ คำสอน (เกือบ) สุดท้ายของท่านเว่ยหล่าง
ความเข้าใจของเรา
จงรู้เท่าทันใจโดยไม่ไปบังคับ ปล่อยไป แบบรู้เท่าทันและอย่าไปบังคับมัน เพราะจิตเดิมแท้คือธรรมชาติ ดังนั้น การบังคับย่อมไม่เป็นธรรมชาติ
รูปภาพนี้ ความว่างตามท่านพุทธทาสภิกขุ
“โลกนี้ได้ว่างจากตัวตน
ชีวิตคนอยู่ที่ไหนหามีไม่
เพราะความจริงเป็นไตรลักษณ์ไฉน
ทุกอย่างล้วนได้ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา”
สำหรับเรา มีบุคคลหลายคนที่พยายามจะรวบรวมและแปลขึ้นใหม่แทนท่านพุทธทาส แต่เราสามารถพูดได้เต็มปากเต็มคำเลยว่า ไม่มีใครที่สามารถแปลสูตรเว่ยหล่างได้ดีกว่าท่านพุทธทาสอีกแล้ว เพราะท่านพุทธทาสนั้น เป็นบุคคลที่ถึงจิตเดิมแท้โดยแท้ทีเดียวแล้ว ดังนั้น ถ้าทุกคนอยากที่จะศึกษาจริง เราขอให้ทุกคนอ่านของท่านพุทธทาสที่เป็นผู้แปลย่อมดีที่สุด
“ความสำเร็จอยู่ที่เริ่มต้นโดยลงมือปฏิบัติในวันนี้”
Look A Breathe
(Read A Book)
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in