“พระเตมีย์ใบ้ขันตินัก
ต้องยอมสักตั้งสู้กับคน
สู้กับใจคะนึงห่วงหาตน
สู้กันพ้นทางอบายพาบวชใจ
พระมหาชนกพากเพียร
อุตสาหะเวียนว่ายในมหาสมุทร
ท่านตั้งใจว่ายเพื่อถึงจุด
มุ่งหมายสุดคือถึงทางแห่งฝั่งเอย”
หนังสือในเล่มนี้เป็นเรื่องราวของทศชาติที่พระพุทธเจ้าท่านได้บำเพ็ญบารมีอีก ๑๐ ชาติก็จะนำพามาถึงซึ่งเป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งถ้าใครได้เคยฟังเทศน์มหาชาติจะพบว่า แต่ละชาติของท่านไม่ได้มาด้วยของง่ายๆ ยากมากๆ ยากเกินที่มนุษย์คนหนึ่งจะอดทนไว้ แต่พระพุทธเจ้ากลับสามารถอดทนได้ เพราะท่านนั้นถึงประเสิรฐที่สุดและเมตตาต่อมวลมนุษย์ที่สุดที่จะนำพาสัตว์โลกข้ามสงสารอย่างแท้จริง
เรื่องราวในเล่มนี้ได้รับรางวัลชมเชยประจำปี ๒๕๖๔ ซึ่งคือภาพสวยและเรื่องราวสนุกสนานน่าติดตาม ทำให้เด็กๆฝึกฝนจิตใจเปี่ยมคุณธรรมและความคิดที่ถูกต้องอีกด้วย
พระเตมีย์
พระเตมีย์ถือเป็นพระชาติแรกที่พระพุทธเจ้าบำเพ็ญในทศชาติ โดยเป็นการบำเพ็ญเนกขัมมบารมี พระเตมีย์ท่านถือกำเนิดในกษัตริย์ และพบว่า ท่านเคยเกิดเป็นกษัตริย์ที่นี้มาก่อน ต้องสู้รบและประหารคนจำนวนมาก ทำให้ท่านเสวยกรรมในนรกอย่างช้านาน
ดังนั้นท่านเลยแกล้งเป็นคนพิการ ง่อยเปลี้ย หูหนวกและเป็นใบ้ โดยไม่ขยับร่างกายใดๆ ไม่ว่า จะโดนการทดลองหลายอย่างจากเด็กเคี้ยวขนม เด็กกินผลไม้ เด็กเล่นของเล่น ให้นั่งตรงที่มีไฟ ช้างตกมัน งูพิษ ผู้หญิง เพชรฆาต นอนในอุจจาระ ท่านก็อดทนอดกลั้น ด้วยจิตใจที่แน่วแน่ ไม่ยอมพูดสักคำและไม่ขยับร่างกายสักนิด
จนถึงวันที่ท่านเป็นอิสระ คือ จะต้องถูกไปฝั่งไว้ทั้งเป็น ท่านเลยตัดสินใจทดสอบกำลังกายของท่านโดยยกรถม้าและพูดอธิบายให้คนที่พาท่านมาฝั่งฟัง ดังนั้น คนนั้นรีบกลับไปบอกพ่อแม่ท่าน ซึ่งพ่อแม่ท่านมาขอร้อง ท่านก็อธิบายให้พ่อแม่ฟัง และตั้งแต่นั้น ท่านถือเนกขัมมบารมี โดยการออกบวชได้อย่างสมบูรณ์
พระมหาชนก
พระมหาชนกท่านทูลลาแม่ไปชิงบัลลังก์กลับมาจากพระโปลชนกที่เมืองมิถิลา ท่านได้ออกเดินทางโดยโดยสารเรือใหญ่ ในระหว่างการเดินทาง มีพายุกระหน่ำ ทำให้เรือล้ม และคนตายเป็นจำนวนมาก ท่านตัดสินใจใช้ความเพียร (วิริยบารมี)ในการเวียนว่ายในมหาสมุทร จนพระนางเมขลามาพาท่านไปส่งถึงฝั่ง
ในขณะนั้นเอง ก่อนพระโปลชนกจะสวรรคต วางอุบายให้คนที่จะเป็นกษัตริย์ต่อจากท่าน ต้องแก้ปัญหาได้ทั้งหมด ๔ ข้อ และท่านได้แก้ปัญหาที่พราหมณ์สอบถามจนได้เป็นกษัตริย์ครองเมืองนั้น ซึ่ง ๔ ข้อนี้ ประกอบด้วย
๑. พระธิดาสีวลีรักใคร่พระมหาชนก
๒. พระมหาชนกโก่งคันธนูได้ง่าย
๓. พระมหาชนกรู้หัวนอนบัลลังค์สี่เหลี่ยมเพราะพระสีวลีวางปิ่นไว้เป็นสัญลักษณ์
๔. พระมหาชนกรู้ถึงขุมทรัพย์ใหญ่ ๑๖ แห่ง
หลังจากนั้น ท่านได้พบว่า ชีวิตของคนเราไม่ต่างจากต้นมะม่วงที่ถูกตัดไป เพราะเมื่อเราบอกว่า ต้นไม้รสนี้อร่อย คนมาตัดต้นไม้นี้ทิ้งเพื่อจะกิน จึงทำให้ท่านตัดสินใจออกบวช
“เฉกเช่นเดียวกับคนย่อมฆ่าเสือเพราะหนัง
ย่อมฆ่าช้างเพราะงา
ย่อมฆ่าคนมั่งคั่งเพราะทรัพย์
ใครเล่าจะฆ่าคนซึ่งละการครอบครองสมบัติ
ละการทะยานอยากทั้งหลาย”
ส่วนพระธิดาสีวลีตามพระมหาชนกที่เป็นบรรพชิตไปจนมาเจอนางกุมาริกาและสอบถามถึงกำไล ซึ่งนางบอกว่า
“มือข้างที่สวมกำไลเพียงวงเดียวไม่มีเสียง
เหมือนมุนีผู้สงบ
คนมีคู่จึงมีความวิวาทกัน
เหมือนกับเสียงกระทบของกำไลทั้งสอง
บุคคลเดียวจักวิวาทกับใคร”
พระมหาชนกบอกว่าให้พิจารณาว่าจะเป็นที่ติเตียนได้ถ้าสตรีตามมา แต่พระธิดาสีวลีไม่ยอม พระมหาชนกเดินทางต่อมาเจอนายช่างศร สอบถามว่า ทำไมเล็งด้วยตาเพียงข้างเดียว เขาตอบว่า
“การเล็งด้วยตาข้างเดียวย่อมเห็นความคดของศรได้ชัดกว่าการเล็งด้วยตาสองข้าง ท่านผู้นั้นปรารถนาสวรรค์ ก็ขอจงชอบความเป็นผู้เดียวเถิด”
พระมหาชนกปรารถนาจะบวชลำพัง พระธิดาสีวลีเข้าไปจึงตัดสินใจแยกทางกันไป และพระมหาชนกท่านสามารถออกบวช บำเพ็ญเพียร ละทิ้งทุกอย่าง ตามใจปรารถนาในการบำเพ็ญบารมีให้สำเร็จ
เราเคยอ่านพระมหาชนกมาก่อน และเราประทับใจในเรื่องราวของเล่มนั้นมากที่เดียว ครั้งหน้าจะเอามาเล่าสู่กันฟังแบบละเอียดในครั้งถัดไป แต่เรื่องราวของเล่มนี้ เราชอบตรงที่คนเขียนสามารถสรุปใจความสำคัญให้เด็กอ่านง่ายและเรียนรู้ง่ายด้วยเช่นกัน แถมทำให้รู้ถึงเรื่องราวต่อไปของท่านอีกด้วยว่าท่านเจอใครบ้าง และท่านทำอย่างไรถึงสามารถออกบวชอย่างสำเร็จตามความปรารถนา
เรื่องราวในหนังสือเล่มนี้จะปลูกฝังคุณธรรมของลูกหลานให้รู้จักในการกระทำอะไรก็ตาม เราต้องทำด้วยความเพียรให้มั่น อดทน อดกลั้นต่อสิ่งเร้าทั้งปวง และจุดมุ่งหมายแห่งความสำเร็จก็อยู่ไม่ไกลเกิน
“ไม่มีความพากเพียรใดที่สูญเปล่า
ถ้าเราหมั่นทำความพากเพียรนั้นด้วยสิ่งที่ถูกต้อง”
Look a Breathe
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in