“เป็นนิราศที่พูดถึงประเพณีของไทย
และรำพันถึงความรักของตน”
การแต่งนิราศเดือนนี้มี
การแต่งนิราศที่แตกต่างจากเรื่องอื่น
การแต่งนิราศในครั้งนี้ ไม่ได้ไปท่องเที่ยวหรือเดินทางไปไน แต่เป็นการแต่งที่พูดถึงความทุกข์จากการที่ยังไม่มีคนรัก พูดถึงการแต่งตัวของคนสมัยก่อน การใช้ชีวิตของคนสมัยก่อน และรวมถึงประเพณีสำคัญของไทยในสมัยนั้นอีกด้วย
-1-
ประเพณีสำคัญในไทย
เดือนสี่ ตรุษใหม่
“ถึงเดือนสี่ปีสุดถึงตรุษใหม่
ยังไม่ได้นุชนาฏที่ปรารถนา
ฟังเสียงปืนยืนยัดอัตนา
รอมมหานัคเรศนิเวศวัง”
เดือนห้า ประเพณีสงกรานต์
“สงการนต์ทีตรุษทีไม่มีมอม
ประดับพร้อมแหวนเพชรเม็ดมุกดา
มีเท่าไรใส่เท่านั้นฉันผู้หญิง
ดูเพริศพริ้งเพร้าอกเหมือนเมขลา”
เดือนหก พิธีแรกนาขวัญ
“เขาเเรกนาแล้วมานักขัตฤกษ์
เอิกเกริกโกนจุกกันทุกสถาน
ที่กำดัดจัดแจงกันแต่งงาน
มงคลการตามเล่ห์ประเพณี”
เดือนเจ็ด ประเพณีทำบุญสลากภัตต์
(เครื่องไทยทาน)
“กระทั่งถึงเดือนเจ็ดไม่เสร็จโศก
บังเกิดโรคแรงหนักด้วยรักสมร
สลากภัตต์จัดแจงแต่งหาบคอน
อย่างแต่ก่อนหาบกระทายมีลายทอง”
เดือนแปด ประเพณีเข้าพรรษาและอุปสมบท
“ถึงเดือนแปดแดดอับพยับฝน
ฤดูดลพระวสาเข้ามาขวาง
จวนจะบวชเป็นพระสละนาง
อยู่เหินห่างเห็นกันเมื่อวันบุญ”
เดือนสิบ ประเพณีวันสารท
“ถึงเดือนสิบเห็นกันเมื่อวันสารท
ใส่อังคาสโภชนากระยาหาร
กระยาสารทกล้วยไข่ใส่โตกพาน
พวกชาวบ้านถ้วนหน้ามาธารณะ”
เดือนสิบเอ็ด ประเพณีออกพรรษา และทอดกฐิน
“เดือนสิบเอ็ดเสร็จธุระพระวสา
ชาวพาราเซ็งเเซ่แห่กฐิน
ลงเรือเพียบพายยกเหมือนนกบิน
กระแสสินธุ์สาดปรายกระจายฟอง”
เดือนสิบสอง ลอยกระทง แห่ผ้าป่า
“เดือนสิบสองล่องลอยกระทงหลวง
ชนทั้งปวงเลยตามอร่ามแสง
ดอกไม้ไฟโชติช่วงเป็นดวงแดง
ทั้งพลุแรงตึงตังดังสท้าน”
-2-
ทุกข์เพราะรัก
เดือนเก้า เดือนอ้าย เดือนยี่และเดือนสาม ที่รำพันถึงความทุกข์จากความรักที่ตนยังไม่สมหวัง โดยที่ตัวเองยังอยู่ในวัยที่มีคู่ แต่ก็ยังไม่สามารถหาคู่ครองได้
“ถึงเดือนเก้าเศร้าสร้อยละห้อยหา
พระจันทราวันดับก็ลับสูญ
แต่โศกเศร้าเราเสริมขึ้นเพิ่มพูน
ไม่ลับสูญไปบ้างเหมือนอย่างเดือน
ถึงฤดูเดือนอ้ายไม่ได้สมร
ยิ่งหนาวนอนกอดประทับไม่หลับใหล
ถึงกอดหมอนนอนนิ่งแล้วผิงไฟ
ไม่อุ่นใจเหมือนกอดแม่ยอดรัก
ครั้งล่วงเข้าเดือนยี่ทวีหนาว
นางสาวสาวอาบน้ำทำหน้าเฉย
อุตส่าห์บำรุงกายให้ชายเชย
ไม่ขาดเลยแป้งขมิ้นดินสอพอง
ถึงเดือนสามความโศกไม่เสื่อมสูญ
จันทร์จำรูญแสงงามยามปฐม
ดารารายพรายพร่างน้ำค้างพรม
พี่นั่งชมจันทร์เพ็งเปล่งโพยม”
5 เหตุผลที่เลือกอ่านหนังสือเล่มนี้
1. เรียนรู้การนับเดือนของสมัยก่อน
จากหนังสือจะพบว่า มีการนับเดือนแต่ละเดือนที่แตกต่างกันไป พิธีสงกรานต์หรือพิธีอื่นๆก็ไม่ตรงกับในสมัยปัจจุบัน แต่ก็ทำให้เราเรียนรู้ว่า คนสมัยก่อนเขาจะทำอะไรในแต่ละประเพณีบ้าง
“ประเพณีแปลกๆอย่างเช่น สลากภัตต์
หรือประเพณีถวายไทยทานมีมาก่อนในประเทศไทย”
2. ความไม่แน่นอนในอารมณ์
จากเรื่องราวจะพบว่า ท่านเป็นกวีที่มีฝีปากแก่กล้า เพราะว่า ท่านจะมีการติเตียนการแต่งตัวของผู้หญิงในบางเดือน และบางเดือนท่านก็โศกเศร้าเพราะรัก ซึ่งทำให้เราเห็นความจริงของอารมณ์ว่าไม่มีสิ่งใดแน่นอน
“อย่าเชื่อในอารมณ์นั้น”
3. เรียนรู้วรรณศิลป์
เรื่องราวนิราศเดือนมีคำศัพท์ที่ฟังแปลกๆหรือหาฟังไม่ได้แล้วในยุคนี้ แต่ก็เป็นคำกลอนที่เข้ากันอย่างลงตัวและสวยงามในด้านวรรณศิลป์อย่างแท้จริง
“หาคนแต่งวรรณคดีอันลือค่าในไทยได้ยากแล้ว”
4. ความทุกข์ที่ไม่สมหวัง
ไม่มีใครที่จะสมหวังได้ทุกเรื่อง เมื่อมีสมหวัง ย่อมมีผิดหวัง ทำให้เรารู้ว่า จะเอาแน่เอานอนกับโลกธรรมนี้หามีไม่
“ทุกอย่างล้วนตกในกระเเสของโลกธรรมแปด”
5. การใช้ชีวิตของคนสมัยก่อน
เรียนรู้การใช้ชีวิตของคนสมัยก่อน ไม่ว่าการแต่งกาย การอาบน้ำ การใช้เครื่องประดับ การใช้เครื่องสำอางค์หรือทุกอย่างที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของคนสมัยก่อน สามารถอธิบายได้อย่างดีที่สุด
“คนสมัยก่อนไม่ต่างจากคนปัจจุบัน
เพราะมีกายและใจเหมือนกัน”
เราเรียนรู้เรื่องราวของคนๆหนึ่งที่พรรณนาพระโวหารได้อย่างคมคายและแยบคายยิ่งนัก
“ไม่มีทุกข์สุขใดถาวร
ดุจดั่งไม่มีทางที่ชีวิตพบแต่ความผิดหวัง”
ชีวิตคนเราก็เท่านี้ เกิดมีย่อมมีดับอยู่ร่ำไป
หนีไม่พ้นทุกคนมีกายใจ พร้อมเดินไปตามปัจจุบัน
ไม่มีแม้นแล้วในชีวิต ที่อยากชิดใกล้คนที่รักนั้น
แต่ก็หาตามฟ้ารักมั่น ไม่พบพลันสักคนในชีวี
“ขอบคุณสำหรับการอ่านเรื่องเล่านี้จนจบค่ะ เรามาใช้เวลาเรียนรู้เรื่องราวประเพณีไทยพร้อมเคล้าน้ำตาน่ารู้นี้ไปด้วยกัน”
Look a Breathe
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in