เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
ประกันรถยนต์Natthamon Kat Perksanusak
ประกันรถยนต์แบบสมัครใจ ซื้อเพิ่มไปทำไมถ้ามี พรบ.?
  • หลายคนที่มีรถยนต์ส่วนตัวเป็นของตัวเองอาจจะคุ้นเคยกับ พ.ร.บ. รถยนต์ หรือที่รู้จักกันอีกอย่างหนึ่งว่า ประกันรถยนต์ภาคบังคับ ที่เราต้องต่อตามกฎหมายอยู่ทุกปี ถึงอย่างนั้นเจ้าของรถบางคนก็ยังคงสับสนความแตกต่างระหว่างประกันรถยนต์ภาคบังคับและภาคสมัครใจ แต่เพื่อนๆ รู้ไหมว่า ที่จริงแล้ว การทำพ.ร.บ กับทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจมีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก แต่จะแตกต่างกันอย่างไร ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจจะมีความคุ้มครองแบบไหนที่เราหาไม่ได้จากพ.ร.บ. กันบ้าง คุ้มกับค่าเบี้ยประกันที่เสียไปเพิ่มเติมไหม ไปดูกันเลย

    พ.ร.บ. รถยนต์ คืออะไร คุ้มครองอะไรบ้าง

    ก่อนอื่น เรามารู้จักกันก่อนว่า พ.ร.บ. รถยนต์ให้ความคุ้มครองอย่างไร โดยประกันรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ก็คือคือ ประกันรถยนต์ที่กำหนดให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองรถทุกคันมีหน้าที่ต้องทำตามความคุ้มครองที่พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ได้กำหนดขึ้น 

    การทำประกันรถยนต์ภาคบังคับนี้ แน่นอนว่า เป็นกฎหมายที่รถยนต์ที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งต้องทำทุกคัน เพื่อเป็นหลักประกันได้ว่า ผู้ขับขี่และคู่กรณีจะได้รับสิทธิคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลยามเกิดอุบัติเหตุ โดยมีการกำหนดวงเงินคุ้มครองเอาไว้อย่างชัดเจนตามกฎหมาย โดย พ.ร.บ. รถยนต์จะครอบคลุมความคุ้มครองดังนี้

    • ค่าเสียหายเบื้องต้น ได้รับโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด
    • ความเสียหายต่อร่างกาย  30,000 บาท
    • กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร 35,000 บาท
    • ค่าเสียหายส่วนเกิน กรณีพิสูจน์แล้วว่าไม่ได้เป็นฝ่ายผิด
    • ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ สูงสุดไม่เกิน 80,000 บาท
    • กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
    • ค่าชดเชยรายวัน 200 บาทต่อวัน สูงสุดไม่เกิน 20 วัน (กรณีต้องพักฟื้นในโรงพยาบาล)
    • จำนวนเงินรวมทั้งหมดที่จ่ายได้ รวมกันสูงสุดไม่เกิน 504,000 บาท
  • เห็นแบบนี้ หลายคนคงจะคิดว่า พ.ร.บ.รถยนต์เองก็คุ้มครองตั้งหลายอย่างแล้ว จะทำประกันภาคสมัครใจไปทำไม แต่ถ้าเราลองมาเปรียบเทียบระหว่าง ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ หรือ การทำประกันรถยนต์ที่มีการตกลงระหว่างผู้ซื้อ (ผู้เอาประกันภัย) และผู้ขาย (บริษัทประกันภัย) โดยผู้ซื้อประกันรถยนต์สามารถเลือกขอบเขตความคุ้มครองและวงเงินได้ตามความพึงพอใจ เราจะเห็นทันทีว่าความคุ้มครองของพ.ร.บ. ค่อนข้างจำกัดดังนี้

    • ประกันรถยนต์ พ.ร.บ. จะให้ความคุ้มครองเฉพาะตัวผู้ขับขี่ (และคู่กรณี) เท่านั้น ไม่ได้รวมถึงรถยนต์
    • วงเงินคุ้มครองถูกกำหนดไว้ตายตัวตามกฎหมาย ผู้ขับขี่ไม่สามารถขอเพิ่มให้วงเงินสูงขึ้น
    • ประกันรถยนต์ พ.ร.บ. จะคุ้มครองเฉพาะความเสียหายจากการขับขี่, ค่ารักษาพยาบาล, ค่าสินไหมทดแทนและค่าปลงศพ (กรณีถึงแก่ชีวิต) แต่ไม่รวมความเสี่ยงอื่นที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ความเสียหายจากภัยธรรมชาติ, ความเสียหายต่อรถยนต์เนื่องจากสูญหาย/ไฟไหม้ ซึ่งจะเป็นความคุ้มครองที่ประกันภัยภาคสมัครใจ (* เฉพาะบางประเภทชั้น) ครอบคลุม

    ความพิเศษเพิ่มเติมของประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ

    นอกเหนือจากความแตกต่างหลักๆ ที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ประกันรถยนต์สมัครใจยังมาพร้อมกับข้อดีอื่นอีกมากมายที่ประกันรถยนต์ พ.ร.บ. ไม่ได้มีให้เรา อาทิเช่น

    • เจ้าหน้าที่ของบริษัทประกันรถยนต์คอยอำนวยความสะดวก กรณีเกิดอุบัติเหตุและมีการดำเนินการเอกสารต่าง ๆ จะมีเจ้าหน้าที่คอยให้คำปรึกษา ช่วยแบ่งเบาภาระ ไม่ต้องเสียเวลาจัดแจงทุกอย่างด้วยตนเอง
    • มีผู้ช่วยดูแลหากเกิดอุบัติเหตุขึ้น เจ้าหน้าที่ของบริษัทประกันรถยนต์ จะเข้ามาดูแล เจรจาไกล่เกลี่ยกับคู่กรณีให้
    • มีบริการเสริม เพิ่มเติมจากความคุ้มครองที่ระบุในกรมธรรม์ที่บริษัทประกันรถยนต์ แถมมาให้ตอนซื้อประกันด้วย เช่น บริการช่วยเหลือฉุกเฉิน ที่จะเข้ามาช่วยเหลือผู้เอาประกันหากเกิดอุบัติเหตุ เช่น เติมน้ำมันฟรี, บริการรถยก, บริการช่างซ่อม หรือบริการเปลี่ยนยาง ที่พร้อมให้ความช่วยเหลือ 24 ชั่วโมง เลยทีเดียว

    เมื่อการซื้อประกันรถยนต์ภาคสมัครใจมีข้อดีมากมายอย่างนี้ ทุกครั้งที่ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ก็อย่าลืมหาซื้อประกันรถยนต์ภาคสมัครใจติดรถกันไว้ด้วยเพื่อความอุ่นใจในยามฉุกเฉินกันด้วยนะ

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in