the social dilemma
คนพูดถึงเยอะจนต้องไปเปิดดูบ้าง เรื่องนี้เป็นสารคดีกึ่งภาพยนตร์ที่เล่าถึงพิษภัยของโซเชียลมีเดีย ส่วนที่เป็นภาพยนตร์ดำเนินเรื่องผ่านเด็กมัธยมในครอบครัวชนชั้นกลางที่ติดสมาร์ทโฟน ส่วนที่เป็นสารคดีเน้นการสัมภาษณ์อดีตพนักงานบริษัทดังในซิลิคอนวัลเลย์ที่ปัจจุบันผันตัวมาเป็นฝ่ายต่อต้านแนวทางของบริษัทเทคโนโลยีโซเชียลทั้งหลาย
ประเด็นหลักๆ เลยที่คนให้สัมภาษณ์ในสารคดีนี้ concern ว่าเป็นภัยของโซเชียลมีเดียคือการที่มันถูกออกแบบมาเพื่อ manipulate พฤติกรรมและความคิดของผู้ใช้ให้เป็นไปตามที่บริษัทต้องการเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ (พูดง่ายๆ ก็คือการขายโฆษณา) ซึ่งใดๆ ในโลกนี้ถ้ามันอยู่ในขอบเขตที่เหมาะสมก็คงไม่มีอันตรายอะไร แต่ความจริงก็อย่างที่เราเห็นกันบ่อยๆ ในปัจจุบันว่าโซเชียลมีเดียกำลังสร้างปัญหาจำนวนมากขึ้นมาจริงๆ และเรายังไม่มีวิธีการควบคุมที่มีประสิทธิภาพมากพอ
โมเดลธุรกิจโซเชียล เล่าคร่าวๆ ก็คือบริษัทผู้พัฒนาแอปต่างๆ จะมีรายได้มาจากการขายโฆษณา เพราะฉะนั้นสิ่งที่บริษัทต้องทำคือการรวบรวมข้อมูลของผู้ใช้แอปให้ได้มากที่สุด เพื่อเอามาสร้างแบบจำลองว่าควรยิง ads อะไรให้ผู้ใช้คนไหนถึงจะมีแนวโน้มตอบสนองได้ดี (เขียนๆ มานี่มันก็สิ่งที่ชั้นเรียนอยู่นี่หว่า 5555)
ทีนี้ข้อมูลที่บริษัทต้องการคือข้อมูลส่วนตัวทุกอย่างที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นคนคนหนึ่ง แน่นอนว่ามันเป็นความเสี่ยงต่อ privacy ของผู้ใช้ ตอนที่เราเรียนคือ lecturer พูดเลยว่าบริษัทที่มีข้อมูลพวกนี้อยู่อาจจะรู้จักเรามากกว่าตัวเราเองด้วยซ้ำ เพราะมันเอาไปสร้างโมเดล predict ได้เลยว่าการตัดสินใจในอนาคตของเราจะเป็นยังไง
แล้วความอันตรายของมันคืออะไร?
ก็คือการที่อัลกอริธึมของแอปต่างๆ พยายามแสดงคอนเทนท์ให้ตรงตามสิ่งที่เราน่าจะชอบโดยวิเคราะห์ตามข้อมูลที่ได้ไป อย่างแรกเลยคือทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า echo chamber ขึ้น คือการที่เราเห็นเฉพาะสิ่งที่เราชอบหรือคนที่คิดเหมือนเรา จนบางครั้งทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเราเป็นคนส่วนใหญ่ของโลก (ทั้งที่ที่จริงอาจจะเป็นคนส่วนน้อยก็ได้) ปัญหาในสเกลที่ใหญ่ขึ้นกว่านั้นคือโซเชียลมีเดียถูกเอาไปใช้ในทางการเมือง เกิด echo chamber ในกลุ่มคนที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองแบบเดียวกัน จนมีผลวิจัยออกมาว่าความแตกแยกระหว่าง democrats กับ republicans มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
นอกจากนี้บริษัทผู้พัฒนาแอปยังต้องเค้นสมองหาวิธีทำให้ผู้ใช้เปิดแอปของตัวเองให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ ที่ต้องทำแบบนี้ก็เพื่อเก็บข้อมูลและให้ผู้ใช้ได้เห็นโฆษณามากขึ้นนั่นเอง วิธีการก็มีสารพัดรูปแบบ เช่น developer รู้ว่าผู้ใช้แอปจะมีความสุขถ้าได้รับการตอบสนองจากผู้ใช้คนอื่น ก็จัดการเพิ่ม bubble [...] ในช่องแชทซะเลยเพื่อบอกผู้ใช้ว่าคนที่เราคุยด้วยกำลังพิมพ์ตอบ อย่าเพิ่งปิดแอป!
เมื่อผู้ใช้ได้รับสิ่งที่ทำให้รู้สึกดีจากแอปก็นำไปสู่การเสพติดโซเชียล และเมื่อคนอยู่กับโลกโซเชียลนานเกินไปก็ทำให้เกิดผลเสียทางจิตใจตามมา เพราะโซเชียลมีเดียไม่เหมือนโลกจริงตรงที่เรามีปฏิสัมพันธ์กับคนจำนวนมหาศาลทั่วโลกได้ในเวลาเดียวกัน แต่สมองของมนุษย์เรายังไม่ได้วิวัฒนาการพอที่จะจัดการความรู้สึกที่เกิดจากความคิดเห็นจำนวนมหาศาลเหล่านั้นได้ ปัญหาวัยรุ่น self-esteem ต่ำ การฆ่าตัวตายจาก hate speech หรือ cyberbullying จึงมีมากขึ้น และจะบอกว่าไม่เกี่ยวกับบริษัทผู้พัฒนาแอปเลยก็ไม่ได้ ในเมื่อ developer จงใจออกแบบแอปมาเพื่อให้คนใช้เวลาอยู่กับมันนานๆ ตั้งแต่ต้น
ถ้าให้วิจารณ์ในด้านการนำเสนอ เราว่า the social dilemma ยังทำได้ไม่ดีเท่าไร คือส่วนที่ไปสัมภาษณ์คนก็มี insight ที่น่าสนใจประมาณหนึ่ง แต่ส่วนที่เป็นภาพยนตร์ยังแอบน่าเบื่อไปนิดเพราะมันดูสื่อสารออกมาโต้งๆ แบบไม่ค่อยมีชั้นเชิง สร้างภาพโซเชียลมีเดียให้ดูเป็นวายร้ายสุดๆ ซึ่งส่วนหนึ่งก็เข้าใจได้แหละว่ามันเป็นสารคดีที่นำเสนอเฉพาะด้านลบของโซเชียล
เนื้อหาส่วนใหญ่ในสารคดีเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับคนเรียนการตลาดยุคใหม่หรือคนที่มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ big data แต่เราคิดว่ามันน่าจะมีประโยชน์ค่อนข้างมากสำหรับผู้ใช้บริการโซเชียลมีเดียที่อาจจะยังไม่เคยตระหนักถึงเรื่องพวกนี้มาก่อน ดูสารคดีเรื่องนี้แล้วคงไม่ต้องถึงขั้นเลิกใช้โซเชียลมีเดีย แต่ใช้ด้วยความรู้เท่าทันน่าจะดีกว่า
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in